ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๙๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. ทานวรรค ๖. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

ชั้นพรหมกายิกา มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมี ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิด ร่วมกับพวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับ พวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับผู้ปราศจากราคะ๑- ไม่ใช่สำหรับผู้มีราคะ ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็น ผู้ปราศจากราคะ ภิกษุทั้งหลาย ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการนี้แล
ทานูปปัตติสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ๒-
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน ๒. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล ๓. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย และไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้โชคร้ายในมนุษย์ @เชิงอรรถ : @ ปราศจากราคะ ในที่นี้หมายถึงปราศจากราคะโดยการถอนขึ้นได้ด้วยมรรค หรือปราศจากราคะโดยการ @ข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๕/๒๕๖) @ บุญกิริยาวัตถุ มาจาก บุญกิริยา + วัตถุ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (๑) บุญกิริยา หมายถึงการ @ตั้งใจบำเพ็ญบุญ (๒) วัตถุ หมายถึงที่ตั้งหรือเหตุให้เกิดอานิสงส์ต่างๆ ดังนั้น บุญกิริยาวัตถุ จึงหมายถึง @การบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๖/๒๕๖-๒๕๗, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๓๖/๒๙๒- @๒๙๓) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๓-๑๙๖, ขุ.อิติ. ๒๕/๖๐-๖๑/๑๗๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๙๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๙๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=294&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=8146 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=8146#p294 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]