ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๙๒-๒๙๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. ทานวรรค ๕. ทานูปปัตติสูตร

อาศัยมัคคสัมปทา๑- แล้ว มีใจบริบูรณ์ ย่อมบรรลุอรหัตตผลได้ กำจัดมลทินทั้งปวงแล้ว จะบรรลุนิพพานสัมปทาได้ การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น จัดเป็นสัพพสัมปทา
เขตตสูตรที่ ๔ จบ
๕. ทานูปปัตติสูตร
ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน๒-
[๓๕] ภิกษุทั้งหลาย ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการนี้ ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาเห็นพวก ขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล๓- ผู้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมบำเรอตนอยู่ด้วยกามคุณ ๕ จึงมีความปรารถนาอย่างนี้ ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐาน จิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไป ไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น๔- หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วม กับพวกขัตติยมหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคหบดีมหาศาล ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ @เชิงอรรถ : @ มัคคสัมปทา หมายถึงโสดาปัตติมรรค (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๔/๒๕๕) @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๓๗/๒๒๗-๒๒๙ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๖๖ หน้า ๑๓๕ ในเล่มนี้ @ เกิดในที่นั้น หมายถึงเกิดในสถานที่ที่ตนปรารถนาไว้ในขณะทำบุญ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๕/๒๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๙๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. ทานวรรค ๕. ทานูปปัตติสูตร

๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทวดาชั้นจาตุมหาราช มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมีความปรารถนา อย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวก เทวดาชั้นจาตุมหาราช’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิต นั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็น ไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับพวกเทวดา ชั้นจาตุมหาราช ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับ ผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ ๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะ หรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ ๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นยามา ฯลฯ ๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ ๖. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ พวกเทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ ๗. บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก จึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปใน ทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจาก ตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธาน ของท่านผู้มีศีลย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ ๘. บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณะหรือพราหมณ์ เขาให้สิ่งใด ก็หวังสิ่งนั้นตอบแทน เขาได้สดับมาว่า ‘พวกเทวดา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๙๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. ทานวรรค ๖. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

ชั้นพรหมกายิกา มีอายุยืน มีผิวพรรณงาม มีความสุขมาก’ จึงมี ความปรารถนาอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ หลังจากตายแล้ว เราพึงเกิด ร่วมกับพวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา’ เขาตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้นอยู่ จิตของเขาโน้มไปในทางต่ำ เจริญให้ยิ่งขึ้นไปไม่ได้ ย่อมเป็นไปเพื่อเกิดในที่นั้น หลังจากตายแล้ว เขาจึงเกิดร่วมกับ พวกเทวดาชั้นพรหมกายิกา ข้อนี้แล เรากล่าวไว้สำหรับผู้มีศีล ไม่ใช่สำหรับผู้ทุศีล สำหรับผู้ปราศจากราคะ๑- ไม่ใช่สำหรับผู้มีราคะ ภิกษุทั้งหลาย มโนปณิธานของท่านผู้มีศีล ย่อมสำเร็จได้ เพราะเป็น ผู้ปราศจากราคะ ภิกษุทั้งหลาย ผลที่เกิดจากการให้ทาน ๘ ประการนี้แล
ทานูปปัตติสูตรที่ ๕ จบ
๖. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ๒-
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน ๒. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีล ๓. บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนา ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย และไม่จัดแจงบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย ภาวนาเลย หลังจากตายแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นผู้โชคร้ายในมนุษย์ @เชิงอรรถ : @ ปราศจากราคะ ในที่นี้หมายถึงปราศจากราคะโดยการถอนขึ้นได้ด้วยมรรค หรือปราศจากราคะโดยการ @ข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๕/๒๕๖) @ บุญกิริยาวัตถุ มาจาก บุญกิริยา + วัตถุ แยกอธิบายความหมายได้ดังนี้ (๑) บุญกิริยา หมายถึงการ @ตั้งใจบำเพ็ญบุญ (๒) วัตถุ หมายถึงที่ตั้งหรือเหตุให้เกิดอานิสงส์ต่างๆ ดังนั้น บุญกิริยาวัตถุ จึงหมายถึง @การบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๓๖/๒๕๖-๒๕๗, องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๓๖/๒๙๒- @๒๙๓) และดู ที.ปา. ๑๑/๓๐๕/๑๙๓-๑๙๖, ขุ.อิติ. ๒๕/๖๐-๖๑/๑๗๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๙๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๙๒-๒๙๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=292&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=8083 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=8083#p292 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙๒-๒๙๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]