ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๒๕๒-๒๖๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

๑๐. อุโปสถสูตร๑-
ว่าด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงปาติโมกข์
[๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของ นางวิสาขามิคารมาตา เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ แวดล้อม ประทับนั่ง ในวันอุโบสถ เมื่อราตรีผ่านไป๒- แล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์ นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุ ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่ง๓- แม้ครั้งที่ ๒ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ท่านพระอานนท์ ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์ นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุ ทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง @เชิงอรรถ : @ ดู วิ.จู. (แปล) ๗/๓๘๓-๓๘๕/๒๗๘-๒๘๕, ขุ.อุ. ๒๕/๔๕/๑๖๓-๑๗๐, อภิ.ก. ๓๗/๓๔๖/๑๘๘ @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ สัตตกนิบาต ข้อ ๓๒ หน้า ๔๙ ในเล่มนี้ @ เหตุที่ทรงนิ่ง ไม่ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง เพราะพระองค์ทรงมุ่งอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทุศีลที่มีอยู่ในบริษัท @หากพระองค์ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ศีรษะของภิกษุผู้ทุศีลนั้นก็จักแตก ๗ เสี่ยง จึงทรงนิ่งเสีย @(องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๐/๒๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

แม้ครั้งที่ ๓ เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ เริ่มสว่าง ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า ประนมมือไปทางที่พระผู้มี พระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีผ่านไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว ยามรุ่งอรุณ เริ่มสว่าง ภิกษุสงฆ์นั่งรออยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์” ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้ว่า ‘อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์’ ทรงหมายถึงใครกัน แล้วจึงกำหนดจิต (ของภิกษุ)ด้วยจิต(ของตน)แล้วตรวจดูภิกษุสงฆ์ทุกรูป จึงได้เห็นบุคคลผู้ทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติที่น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่ สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เน่าภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ นั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์นั้น ครั้นเห็นแล้ว จึงลุกจากอาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่าน จงลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาส๑- กับภิกษุทั้งหลาย” เมื่อพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่านจง ลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย” แม้ครั้งที่ ๒ บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้กล่าวกับบุคคลนั้นว่า “ท่านจง ลุกขึ้น พระผู้มีพระภาคทรงเห็นท่านแล้ว ท่านไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย” แม้ครั้งที่ ๓ บุคคลนั้นก็ยังนิ่งอยู่ ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงจับแขนเขาฉุดให้ออกไปภายนอกซุ้มประตู ใส่กลอนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค @เชิงอรรถ : @ สังวาส ในที่นี้หมายถึงกรรมที่ทำร่วมกัน อุทเทส(ปาติโมกข์ที่ยกขึ้นแสดง)ที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขา @เสมอกัน (วิ.มหา. (แปล) ๑/๕๕/๔๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้บุคคลนั้นออกไปพ้นแล้ว บริษัทบริสุทธิ์ แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงโปรดยกพระปาติโมกข์ขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ โมคคัลลานะ โมฆบุรุษ นี้ดื้ออยู่จนต้องฉุดแขนไล่ออกไป” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป เธอทั้งหลายพึงทำอุโบสถ พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้ที่ตถาคตจะยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในเมื่อบริษัทไม่บริสุทธิ์๑- ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการที่ พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร สิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่มหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดย ลำดับ ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ @เชิงอรรถ : @ ข้อความพระดำรัสนี้ เป็นพระดำรัสที่ตรัสมอบหมายให้ภิกษุสาวกยกอาณาปาติโมกข์ (ปาติโมกข์เกี่ยวกับ @ศีลบัญญัติ) ขึ้นแสดง (ดู วิ.ม. (แปล) ๔/๑๓๓/๒๐๙, ๑๕๐/๒๒๘) หลังจากที่พระองค์ได้ทรงยกโอวาท- @ปาติโมกข์ (ปาติโมกข์คือพระโอวาท) ขึ้นแสดงทุกกึ่งเดือนมาเป็นเวลา ๒๐ ปีบริบูรณ์ (ดู ที.ม. ๑๐/๙๐/๔๓, @ขุ.ธ. ๒๕/๑๘๓-๑๘๕/๔๙-๕๐) @อนึ่ง เหตุที่ทรงงดแสดงเอง เพราะทรงประสงค์รักษาพุทธประเพณีว่า เมื่อทรงเห็นว่าบริษัท @ไม่บริสุทธิ์แล้ว พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จะไม่ทรงทำอุโบสถ ไม่ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง แต่เพื่อป้องกัน @ไม่ให้อุโบสถกรรมของภิกษุสงฆ์ขาดไป จึงทรงอนุญาตให้สงฆ์ยกอาณาปาติโมกข์ขึ้นแสดงแทน @(องฺ.อฏฺฐก.ฏีกา ๓/๒๐/๒๘๖-๒๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค ๑๐. อุโปสถสูตร

ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๑ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรพบเห็นแล้ว ต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ฯลฯ๑- ๘. มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ขนาดใหญ่ คือ ปลาติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี นี้เป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในมหาสมุทรที่ พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีสิ่งที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล ที่พวกอสูรพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในมหาสมุทร ภิกษุทั้งหลาย ในทำนองเดียวกัน ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย ปรากฏ ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที เหมือนมหาสมุทรที่ต่ำไปโดยลำดับ ลาดไปโดยลำดับ ลึกลงไป โดยลำดับ ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที การที่ธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตาม ลำดับ มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ ไม่ใช่ มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคย ปรากฏประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่าง พากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ @เชิงอรรถ : @ เครื่องหมาย ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มในอัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๙ (ปหาราทสูตร) @หน้า ๒๔๖-๒๕๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. มหาวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

๘. ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล เหมือนมหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ขนาดใหญ่ คือ ปลา ติมิติมิงคละ ปลาติมิรมิงคละ อสูร นาค คนธรรพ์ มีลำตัว ๑๐๐ โยชน์ก็มี ฯลฯ มีลำตัว ๕๐๐ โยชน์ก็มี การที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่อยู่ ของผู้ใหญ่ คือ พระโสดาบัน บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง โสดาปัตติผล ฯลฯ บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล นี้เป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุ ทั้งหลาย พบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้”
อุโปสถสูตรที่ ๑๐ จบ
มหาวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เวรัญชสูตร ๒. สีหสูตร ๓. อัสสาชานียสูตร ๔. อัสสขฬุงกสูตร ๕. มลสูตร ๖. ทูเตยยสูตร ๗. ปฐมพันธนสูตร ๘. ทุติยพันธนสูตร ๙. ปหาราทสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๑. ปฐมอุคคสูตร

๓. คหปติวรรค
หมวดว่าด้วยคหบดี
๑. ปฐมอุคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคหบดี สูตรที่ ๑
[๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีว่าเป็นผู้ประกอบ ด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัส เวยยากรณภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ครั้นในเวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่งครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ ของอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ลำดับนั้น อุคคคหบดี ชาวเมืองเวสาลีเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุนั้นได้ ถามอุคคคหบดีนั้นดังนี้ว่า “ท่านอุคคคหบดี พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วย ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ที่เป็นเหตุให้ท่านได้รับพยากรณ์จากพระผู้มีพระภาค เป็นอย่างไร” อุคคคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ โยมไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคทรง พยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ เหล่าไหน แต่ขอท่านโปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการที่โยมมี อยู่เถิด โปรดใส่ใจให้ดี โยมจักกล่าว ภิกษุนั้นรับคำแล้ว อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลี จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ๑. “เมื่อโยมได้เห็นพระผู้มีพระภาคแต่ที่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับ การเห็นนั่นเอง โยมก็มีจิตเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาค นี้แลเป็น ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ที่โยมมีอยู่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๑. ปฐมอุคคสูตร

๒. โยมมีจิตเลื่อมใสแล้ว เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระองค์ได้ทรง แสดงอนุปุพพีกถาแก่โยม คือ ทรงประกาศทานกถา(เรื่องทาน) สีลกถา(เรื่องศีล) สัคคกถา(เรื่องสวรรค์) กามาทีนวกถา(เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม) เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม) เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า โยมเป็นผู้มีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา๑- คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ได้เกิดแก่โยมบนที่นั่งนั้นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือน ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ท่าน ผู้เจริญ โยมนั้นได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในศาสนาของพระศาสดา ได้ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะแล้ว และได้สมาทาน สิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ บนที่นั่งนั่นเอง นี้แลเป็นธรรม ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ที่โยมมีอยู่ ๓. โยมนั้นมีภรรยาที่เป็นสาวรุ่น ๔ คน โยมเข้าไปหาภรรยาเหล่านั้น ถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับพวกเธอว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ฉันได้สมาทาน สิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ แล้ว หญิงใดปรารถนา หญิงนั้น จงใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านี้ และจงทำบุญ หรือกลับไปยังตระกูลญาติ ของตนเถิด หรือมีความประสงค์ชาย ฉันก็จะมอบพวกเธอให้แก่เขา’ เมื่อโยมกล่าวอย่างนี้แล้ว ภรรยาหลวงได้กล่าวกับโยมว่า ‘ขอท่าน โปรดมอบดิฉันให้แก่ชายผู้มีชื่อนี้เถิด’ ลำดับนั้น โยมได้เรียกชาย คนนั้นมา ใช้มือซ้ายจับภรรยา มือขวาจับเต้าน้ำหลั่งน้ำมอบให้ ชายคนนั้นไป เมื่อบริจาคภรรยาสาวรุ่นให้เป็นทาน โยมไม่รู้สึก ว่าจิตแปรไป นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการ ที่ ๓ ที่โยมมีอยู่ @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ อัฏฐกนิบาต ข้อ ๑๒ หน้า ๒๓๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๑. ปฐมอุคคสูตร

๔. ตระกูลของโยมมีโภคทรัพย์อยู่พร้อม และโภคทรัพย์เหล่านั้น โยม ได้จำแนกแจกจ่ายกับผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม นี้แลเป็นธรรมที่น่า อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ที่โยมมีอยู่ ๕. โยมเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุใด ก็เข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเท่านั้น มิใช่เข้าไป นั่งใกล้โดยไม่เคารพ นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ประการที่ ๕ ที่โยมมีอยู่ ๖. หากท่านผู้มีอายุนั้นจะแสดงธรรมแก่โยม โยมจะฟังโดยเคารพ เท่านั้น มิใช่ฟังโดยไม่เคารพ หากท่านผู้มีอายุนั้นจะไม่แสดงธรรม แก่โยม โยมก็จะแสดงธรรมแก่ท่าน นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ที่โยมมีอยู่ ๗. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พวกเทวดาเข้ามาหาโยมแล้วบอกว่า ‘ท่าน คหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ เมื่อพวกเทวดากล่าว อย่างนี้แล้ว โยมได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เทวดา พวกท่านจะบอกอย่างนี้ หรือไม่บอกอย่างนี้ก็ตาม แท้จริง ธรรมก็ เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ โยมไม่รู้สึกฟูใจเพราะ เหตุนั้นเลยว่า ‘พวกเทวดาเข้ามาหาโยม หรือโยมสนทนากับพวก เทวดา’ นี้แลป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ที่โยมมีอยู่ ๘. สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการ ที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้ โยม ไม่เห็นสังโยชน์อะไรในตนที่ยังละไม่ได้ นี้แลป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ที่โยมมีอยู่ ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล ที่โยมมีอยู่ แต่โยมไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการเหล่าไหน” ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว ลุกจากอาสนะจากไป ท่านกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่อง ที่สนทนาปราศรัยกับอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีทั้งหมดให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๕๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๒. ทุตติยอุคคสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ อุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลี เมื่อจะ พยากรณ์ให้ถูกต้อง พึงพยากรณ์ไปตามนั้น ภิกษุ เราพยากรณ์ว่าอุคคคหบดีชาว เมืองเวสาลีเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล และเธอจงทรงจำอุคคคหบดีชาวเมืองเวสาลีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้”
ปฐมอุคคสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยอุคคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของอุคคคหบดี สูตรที่ ๒
[๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บ้านหัตถิคาม แคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัสเวยยากรณ- ภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ครั้นเวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่งครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ ของอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคาม แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ต่อมา อุคคคหบดี ชาวบ้านหัตถิคามเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุนั้นได้ กล่าวกับอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามดังนี้ว่า “ท่านอุคคคหบดี พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วย ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ ท่านอุคคคหบดี ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ อะไรบ้าง” อุคคคหบดีกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ โยมไม่ทราบเลยว่า ‘พระผู้มีพระภาคได้ทรง พยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ เหล่าไหน’ แต่ขอท่านโปรดฟังธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการที่โยม มีอยู่เถิด โปรดใส่ใจให้ดี โยมจักกล่าว” ภิกษุนั้นรับคำแล้ว อุคคคหบดีชาวบ้าน หัตถิคามจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๒. ทุตติยอุคคสูตร

๑. เมื่อโยมกำลังเที่ยวชมอยู่ในสวนนาควัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคแต่ ที่ไกลเป็นครั้งแรก พร้อมกับการเห็นนั่นเอง โยมก็มีจิตเลื่อมใสต่อ พระผู้มีพระภาค และส่างจากเมาสุรา นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๑ ที่โยมมีอยู่ ๒. โยมมีจิตเลื่อมใสแล้ว เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาค พระผู้มี พระภาคทรงแสดงอนุปุพพีกถาแก่โยม คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา กามาทีนวกถา เนกขัมมานิสังสกถา เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบว่าโยมมีจิตควร อ่อน ปราศจาก นิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจาก มลทิน ได้เกิดแก่โยมบนที่นั่งนั้นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือน ผ้าขาวสะอาด ปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี ท่านผู้เจริญ โยมนั้นได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรม หยั่งลงสู่ธรรม ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัยในศาสนาของพระศาสดา ได้ถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะแล้ว และได้ สมาทานสิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ บนที่นั่งนั่นเอง นี้แล เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๒ ที่โยมมีอยู่ ๓. โยมนั้นมีภรรยาที่เป็นสาวรุ่น ๔ คน โยมเข้าไปหาภรรยาเหล่านั้น ถึงที่อยู่แล้วกล่าวกับพวกเธอว่า ‘น้องหญิงทั้งหลาย ฉันได้สมาทาน สิกขาบทที่มีพรหมจรรย์เป็นที่ ๕ แล้ว หญิงใดปรารถนา หญิงนั้น จงใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านี้ และจงทำบุญ หรือกลับไปยังตระกูล ญาติของตนเถิด หรือมีความประสงค์ชาย ฉันก็จะมอบพวกเธอให้ แก่เขา’ เมื่อโยมกล่าวอย่างนี้แล้ว ภรรยาหลวงได้กล่าวกับโยมว่า ‘ขอท่านโปรดมอบดิฉันให้แก่ชายผู้มีชื่อนี้เถิด’ ลำดับนั้น โยมได้ เรียกชายคนนั้นมาใช้มือซ้ายจับภรรยา มือขวาจับเต้าน้ำหลั่งน้ำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๒. ทุตติยอุคคสูตร

มอบให้ชายคนนั้นไป เมื่อบริจาคภรรยาสาวรุ่นให้เป็นทาน โยมไม่ รู้สึกว่าจิตแปรไป นี้แลเป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการ ที่ ๓ ที่โยมมีอยู่ ๔. ตระกูลของโยมมีโภคทรัพย์อยู่พร้อม และโภคทรัพย์เหล่านั้น โยม ได้จำแนกแจกจ่ายกับผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม นี้แลป็นธรรมที่น่า อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๔ ที่โยมมีอยู่ ๕. โยมเข้าไปนั่งใกล้ภิกษุใด ก็เข้าไปนั่งใกล้โดยเคารพเท่านั้น มิใช่ เข้าไปนั่งใกล้โดยไม่เคารพ หากท่านผู้มีอายุนั้นจะแสดงธรรมแก่โยม โยมจะฟังโดยเคารพเท่านั้น มิใช่ฟังโดยไม่เคารพ หากท่านผู้มี อายุนั้นจะไม่แสดงธรรมแก่โยม โยมก็จะแสดงธรรมแก่ท่าน นี้แล เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๕ ที่โยมมีอยู่ ๖. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่เมื่อโยมนิมนต์พระสงฆ์มาแล้ว พวกเทวดาเข้า มาหาโยม แล้วบอกว่า ‘ท่านคหบดี ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโต- ภาควิมุต๑- รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็นกายสักขี รูปโน้น เป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้นเป็นธัมมานุสารี รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้น เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม’ ท่านผู้เจริญ เมื่ออังคาสพระสงฆ์ โยมไม่ รู้สึกให้เกิดความคิดอย่างนี้ว่า ‘จะถวายแก่ท่านรูปนี้น้อย หรือจะ ถวายแก่ท่านรูปนี้มาก’ แท้จริงโยมวางจิตสม่ำเสมอถวาย นี้แลป็น ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๖ ที่โยมมีอยู่ ๗. ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พวกเทวดาเข้ามาหาโยมแล้วบอกว่า ‘ท่าน คหบดี ธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ เมื่อพวกเทวดา กล่าวอย่างนี้แล้ว โยมได้กล่าวกับเทวดาเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘เทวดา พวกท่านจะบอกอย่างนี้ หรือไม่บอกอย่างนี้ก็ตาม แท้จริง ธรรมก็ @เชิงอรรถ : @ ดูความหมายของบุคคล ๗ จำพวก ตั้งแต่อุภโตภาควิมุตจนถึงสัทธานุสารี @ในเชิงอรรถที่ ๒-๕ หน้า ๒๐ และเชิงอรรถที่ ๑-๓ หน้า ๒๑ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๒. ทุตติยอุคคสูตร

เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว’ โยมไม่รู้สึกฟูใจเพราะเหตุ นั้นเลยว่า ‘พวกเทวดาเข้ามาหาโยม หรือโยมสนทนากับพวกเทวดา’ นี้แลป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๗ ที่โยมมีอยู่ ๘. หากโยมจะสิ้นชีวิตก่อนพระผู้มีพระภาค ก็ไม่น่าอัศจรรย์เลยที่พระ ผู้มีพระภาคจะทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า สังโยชน์ที่เป็นเหตุให้อุคค- คหบดี ชาวบ้านหัตถิคามกลับมาสู่โลกนี้อีกไม่มี นี้แลเป็นธรรมที่ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏประการที่ ๘ ที่โยมมีอยู่ ท่านผู้เจริญ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้แล ที่โยมมีอยู่ แต่โยมไม่ทราบเลยว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่าโยมเป็นผู้ประกอบด้วย ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการเหล่าไหน” ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามแล้ว ลุกจากอาสนะจากไป ท่านกลับจากบิณฑบาต หลังจากฉันอาหารเสร็จแล้ว เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลเรื่อง ที่สนทนาปราศรัยกับอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามทั้งหมดให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ ภิกษุ อุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคาม เมื่อ จะพยากรณ์ให้ถูกต้อง พึงพยากรณ์ไปตามนั้น ภิกษุ เราได้พยากรณ์ว่าอุคคคหบดี ชาวบ้านหัตถิคามป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการ นี้แล และเธอจงทรงจำอุคคคหบดีชาวบ้านหัตถิคามว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๘ ประการนี้”
ทุติยอุคคสูตรที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๓. ปฐมหัตถกสูตร

๓. ปฐมหัตถกสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ของหัตถกอุบาสก สูตรที่ ๑
[๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ กรุงอาฬวี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสก๑- ชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล๒- ๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ ๗. เป็นผู้มีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่าเป็นผู้ ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้แล” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว เสด็จลุกจากพุทธ- อาสน์เข้าไปสู่พระวิหาร ครั้นเวลาเช้า ภิกษุรูปหนึ่งครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีแล้วนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ต่อมา หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ภิกษุนั้นได้กล่าวกับหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ @เชิงอรรถ : @ หัตถกอุบาสก หมายถึงอุบาสกที่เป็นพระราชกุมารที่พระผู้มีพระภาคทรงรับจากมือของอาฬวกยักษ์ด้วย @พระหัตถ์ทั้งสอง (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๓/๒๔๖) @ ศีล ในที่นี้หมายถึงศีล ๕ และศีล ๑๐ (องฺ.อฏฺฐก.อ. ๓/๒๓/๒๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. คหปติวรรค ๓. ปฐมหัตถกสูตร

ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล ๓. เป็นผู้มีหิริ ๔. เป็นผู้มีโอตตัปปะ ๕. เป็นพหูสูต ๖. เป็นผู้มีจาคะ ๗. เป็นผู้มีปัญญา ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่า อัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการนี้แล” หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีถามว่า “ท่านผู้เจริญ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มี ในตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้บ้างเลยหรือ” ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ผู้มีอายุ คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีในตำแหน่งที่พระผู้มี พระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย” หัตถกอุบาสกกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ดีจริง คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาว ไม่มีใน ตำแหน่งที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์นี้เลย” ลำดับนั้น ภิกษุนั้นรับบิณฑบาตในนิเวศน์ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ลุกจากอาสนะแล้วจากไป กลับจากบิณฑบาตแล้ว หลังจากฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ในเวลาเช้า ข้าพระองค์ครอง อันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ต่อมา หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ได้เข้ามาหาข้าพระองค์ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้กล่าวกับหัตถก- อุบาสกชาวเมืองอาฬวีว่า ‘ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ว่า ท่านเป็น ผู้ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ ไม่เคยปรากฏ ๗ ประการ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๒๖๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๒๕๒-๒๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=252&pages=14&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=6925 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=6925#p252 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕๒-๒๖๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]