ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หน้าที่ ๑๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ๑. ธนวรรค ๘. สัญโญชนสูตร

ผู้ใดจะเป็นสตรี หรือบุรุษก็ตาม มีทรัพย์ ๗ ประการนี้ คือ สัทธาธนะ สีลธนะ หิริธนะ โอตตัปปธนะ สุตธนะ จาคธนะ และปัญญาธนะ ผู้นั้นแลเป็นคนมีทรัพย์มาก ใครๆ ไม่พึงชนะได้ทั้งในเทวโลกและมนุษยโลก เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและการเห็นธรรม
อุคคสูตรที่ ๗ จบ
๘. สัญโญชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์๑-
[๘] ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ (กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๗ ประการนี้ สังโยชน์ ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนุนยสังโยชน์๒- (สังโยชน์คือความยินดี) ๒. ปฏิฆสังโยชน์ (สังโยชน์คือความยินร้าย) ๓. ทิฏฐิสังโยชน์ (สังโยชน์คือความเห็นผิด) ๔. วิจิกิจฉาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความลังเลสงสัย) ๕. มานสังโยชน์ (สังโยชน์คือความถือตัว) ๖. ภวราคสังโยชน์ (สังโยชน์คือความติดใจในภพ) ๗. อวิชชาสังโยชน์ (สังโยชน์คือความไม่รู้แจ้ง) ภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์ ๗ ประการนี้แล
สัญโญชนสูตรที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ที.ปา ๑๑/๓๓๒/๒๒๓, สํ.ม. ๑๙/๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒, ๙๔๙/๖๐๖) @ อนุนยสังโยชน์ หมายถึงกามราคสังโยชน์ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๘/๑๖๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๑๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๓ หน้าที่ ๑๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=23&page=14&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=23&A=333 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=23&A=333#p14 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_23 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu23 https://84000.org/tipitaka/english/?index_23



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]