ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๖๒๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑๐. อานิสังสวรรค ๑๑. ตัณหาสูตร

๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง) นี้คือสิกขา ๓ ประการที่ภิกษุควรศึกษา ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุละภพ ๓ ประการนี้ได้ และศึกษาสิกขา ๓ ประการ นี้ได้ เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ๑-’
ภวสูตรที่ ๑๐ จบ
๑๑. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหาและมานะ
[๑๐๖] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรละตัณหา ๓ ประการ และควรละมานะ ๓ ประการ ตัณหา๒- ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกามธาตุ) ๒. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปธาตุ) ๓. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปธาตุ) นี้คือตัณหา ๓ ประการที่ภิกษุควรละ มานะ๓- ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. มานะ (ความถือตัวว่าเสมอเขา) ๒. โอมานะ (ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา) @เชิงอรรถ : @ หมายถึงตัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ถอนสังโยชน์ ๑๐ ประการได้ ทำให้วัฏฏทุกข์หยุดการ @หมุนได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๗/๓๙๘) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) ๒๑/๑๗๗/๒๔๙, ๒๕๗/๓๗๓-๓๗๕ ประกอบ @ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๑๗/๕๗๓ @ ดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๗๘-๘๘๑/๕๕๗-๕๕๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๖๒๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๖๒๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=627&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=17783 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=17783#p627 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๒๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]