ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๕๓๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๖. มหาวรรค ๑. โสณสูตร

๒. ทุติยปัณณาสก์
๖. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
๑. โสณสูตร
ว่าด้วยพระโสณะ
[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ท่านพระโสณะอยู่ที่ป่าสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระโสณะ หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดเกิดความคิดคำนึงในจิตดังนี้ว่า “ในบรรดาพระสาวกของพระผู้มี พระภาคที่ปรารภความเพียร เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉนจิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้น จากอาสวะโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นเล่า ทรัพย์สมบัติในตระกูลของเรามีอยู่ เราอาจใช้ สอยทรัพย์สมบัติและบำเพ็ญบุญได้ ทางที่ดี เราควรบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ใช้สอยทรัพย์สมบัติ และบำเพ็ญบุญ๑-” ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบด้วยพระทัยถึงความคิดคำนึงในจิตของ ท่านพระโสณะ จึงทรงหายไปจากภูเขาคิชฌกูฏ มาปรากฏพระองค์ที่ป่าสีตวัน เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้๒- @เชิงอรรถ : @ ท่านพระโสณะปรารภความเพียรหนักเกินไปโดยเดินจงกรมจนฝ่าเท้าแตก และเมื่อเปลี่ยนมาใช้วิธีคลาน @จงกรม เข่าและฝ่ามือก็แตกเป็นแผลอีก จึงมีจิตฟุ้งซ่านท้อแท้ว่า “ถ้าเราเป็นบุคคลประเภทอุคฆฏิตัญญู @(ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน) วิปจิตัญญู (ผู้รู้เมื่อขยายความ) เนยยะ (ผู้ที่พอจะแนะนำได้) จิตของเราพึงหลุดพ้น @จากกิเลสได้เป็นแน่ แต่เราคงเป็นบุคคลประเภทปทปรมะ (ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง) จิตของเราจึงไม่หลุดพ้น” @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๕) และดู วิ.ม. ๕/๒๔๓/๔ @ พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ หมายถึงตั่ง เตียง แผ่นกระดาน แผ่นหิน หรือกองทรายที่ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรปูลาด @ไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคที่จะเสด็จมาให้โอวาท แก้อารมณ์กัมมัฏฐานถึงที่อยู่ของตน ถ้าหา @อาสนะนั้นไม่ได้ จะใช้ใบไม้เก่าๆ ปูลาดก็ได้ โดยลาดสังฆาฏิไว้บน นี้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับภิกษุ @นักปฏิบัติ ในที่นี้จึงหมายถึงพุทธอาสน์นั้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๕/๑๓๕, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๕๕/๑๔๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๓๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๕๓๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=533&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=15062 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=15062#p533 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๓๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]