ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๘๔-๔๘๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เทวตาวรรค ๖. วิวาทมูลสูตร

๔. ปหานสัญญา ๕. วิราคสัญญา ๖. นิโรธสัญญา ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นส่วนแห่งวิชชา
วิชชาภาคิยสูตรที่ ๕ จบ
๖. วิวาทมูลสูตร
ว่าด้วยมูลเหตุแห่งวิวาท
[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการนี้ มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุใดเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุ นั้นไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง ในธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์ และไม่ทำสิกขา ให้บริบูรณ์ ย่อมก่อวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คน หมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่ง วิวาทที่เป็นบาปภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่ พิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย พึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่งวิวาท ที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๘๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. เทวตาวรรค ๖. วิวาทมูลสูตร

๒. เป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ ฯลฯ ๓. เป็นผู้ริษยา มีความตระหนี่ ฯลฯ ๔. เป็นผู้โอ้อวด มีมายา ฯลฯ ๕. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่วเป็นมิจฉาทิฏฐิ๑- ฯลฯ ๖. เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้นย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความ ยำเกรงแม้ในศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ ในธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระสงฆ์ และไม่ ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มี ความยำเกรงในศาสดา ฯลฯ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ย่อมก่อการ วิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อ ไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือ ภายนอก เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็น บาปนั้นแลทั้งภายในหรือภายนอกนั้น ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณา เห็นมูลเหตุแห่งวิวาทเช่นนี้ ทั้งภายในหรือภายนอก เธอทั้งหลาย พึงปฏิบัติเพื่อให้มูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลไม่ยืดเยื้อต่อไป การละมูลเหตุแห่งวิวาทที่เป็นบาปนั้นแลย่อมมีได้ และมูลเหตุแห่ง วิวาทที่เป็นบาปนั้น ย่อมไม่ยืดเยื้อต่อไป ภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งวิวาท ๖ ประการ นี้แล
วิวาทมูลสูตรที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ เป็นมิจฉาทิฏฐิ หมายถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิบุคคลประเภทนัตถิกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล) @อเหตุกวาทะ (ลัทธิที่ถือว่าไม่มีเหตุปัจจัยเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย) และอกิริยวาทะ (ลัทธิที่ถือว่า @การกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฎแห่งกรรม) @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๖/๑๑๗) และดู ที.สี. (แปล) ๙/๑๖๕/๕๓, ๑๖๗/๕๔, ๑๗๓/๕๗ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๘๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๘๔-๔๘๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=484&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=13641 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=13641#p484 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๘๔-๔๘๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]