ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๔๖๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อนุตตริยวรรค ๘. ทุติยสมยสูตร

๘. ทุติยสมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรพบผู้เจริญภาวนา สูตรที่ ๒
[๒๘] สมัยหนึ่ง ภิกษุเถระจำนวนมาก อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุงพาราณสี ครั้งนั้น เมื่อภิกษุเถระเหล่านั้นกลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉัน อาหารเสร็จแล้ว นั่งประชุมกันในโรงฉัน๑- ได้เกิดการสนทนากันขึ้นในระหว่างว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยไหนเป็นสมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ” เมื่อกล่าวถามกันอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า๒- สมัยนั้น เป็นสมัยที่ควร เข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ผู้มีอายุ สมัยนั้น ไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ เพราะ สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหารเสร็จ ล้างเท้าแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า สมัยนั้น ความ เหน็ดเหนื่อยเพราะการเที่ยวบิณฑบาตของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นยังไม่สงบระงับ และความเหน็ดเหนื่อยเพราะการฉันอาหารของภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้นก็ยังไม่ สงบระงับ ฉะนั้น สมัยนั้นจึงไม่ใช่สมัยที่ควรเข้าไปพบภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจนั้น แต่สมัยใด ภิกษุผู้เจริญภาวนาทางใจ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้าที่ร่มเงาวิหาร สมัยนั้น ควรเข้าไปพบภิกษุ ผู้เจริญภาวนาทางใจ” เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ โรงฉัน แปลจากภาษาบาลีว่า ‘มณฺฑลมาเฬ’ หมายถึง(โภชนสาลา)โรงฉันที่สร้างเป็นปะรำมีลักษณะกลม @(องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๘/๑๑๑, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๒๘/๑๒๖) @ ดูเชิงอรรถที่ ๕ ปัญจกนิบาต ข้อ ๗๕ หน้า ๑๒๙ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๖๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๔๖๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=465&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=13075 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=13075#p465 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๖๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]