ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๖-๓๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

๔. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘สมาธินี้สงบ ประณีต ได้ด้วยความ สงบระงับ บรรลุได้ด้วยภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น และมิใช่บรรลุได้ ด้วยการข่มธรรมที่เป็นข้าศึก ห้ามกิเลสด้วยสสังขารจิต๑-’ ๕. ญาณย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตนว่า ‘เรามีสติเข้าสมาธินี้ได้ มีสติออก จากสมาธินี้ได้’ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณ- สมาธิเถิด เมื่อเธอทั้งหลายมีปัญญาเครื่องรักษาตน มีสติ เจริญอัปปมาณสมาธิอยู่ ญาณ ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดขึ้นเฉพาะตน
สมาธิสูตรที่ ๗ จบ
๘. ปัญจังคิกสูตร
ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ๒- เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจได้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า การเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกาย นี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มี ส่วนไหนๆ แห่งกาย ของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก จะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนานหรือลูกมือพนักงาน สรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่ผงสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้วพรมด้วย น้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นผงสีตัวจับตัวติดเป็นก้อน ไม่กระจายออก @เชิงอรรถ : @ หมายถึงมิใช่สมาธิระดับปฐมฌานที่เพียงแต่ข่มนิวรณ์ หรือห้ามกิเลสอื่นได้ด้วยสสังขารจิต คือ จิตที่มี @ความเพียรพยายามเท่านั้น แต่เป็นสมาธิที่สงบระงับกิเลสได้ บรรลุได้โดยไม่ต้องเพียรพยายาม @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๗/๙, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๒๗/๑๔) @ อริยะ ในที่นี้หมายถึงการอยู่ห่างไกลจากกิเลสที่ละได้ด้วยวิกขัมภนปหานะ (การละกิเลสด้วยการข่มไว้) @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๘/๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ไม่มีส่วนไหนๆ แห่ง กายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๑ ๒. ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่ง ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป มีแต่ปีติ และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่มีส่วนไหนๆ แห่งกายของเธอ ทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน ห้วงน้ำลึกที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ทั้งในทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำ เย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบ ซึมซาบด้วยน้ำเย็น ไม่มีส่วนไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมดที่น้ำ เย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมทำกายนี้ให้ ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิ ไม่มีส่วน ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิจะ ไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็น อริยะ ประการที่ ๒ ๓. ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ จางคลายไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มี อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เธอทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนกออุบล กอบัว หลวง หรือกอบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ ถูกน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นอิ่มเอิบซึมซาบด้วยน้ำเย็น ตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีส่วนไหนๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉัน นั้น เหมือนกันแล ย่อมทำกายนี้แลให้ชุ่มชื่นอิ่มเอิบซาบซ่านด้วยสุข อันปราศจากปีติ ไม่มีส่วนไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. ปัญจังคิกวรรค ๘. ปัญจังคิกสูตร

ปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ ด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๓ ๔. ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาอยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป ก่อนแล้ว เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แลด้วยใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี ส่วนไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ ถูกต้อง เปรียบเหมือนบุรุษพึงเอาผ้าขาว นั่งคลุมตัวตลอดศีรษะ ก็ไม่มีส่วนไหนๆ แห่งกายทุกส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แล ด้วยใจ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีส่วนไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจอัน บริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง นี้คือการเจริญสัมมาสมาธิที่ ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๔ ๕. ภิกษุเรียนปัจจเวกขณนิมิต๑- มาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทง ตลอดดีด้วยปัญญา เปรียบเหมือนคนหนึ่งพึงพิจารณาเห็นคนหนึ่ง คนยืนพึงพิจารณาเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงพิจารณาเห็นคนนอน ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอเรียนปัจจเวกขณนิมิตมาดี มนสิการดี ทรงจำไว้ดี แทงตลอดดีด้วยปัญญา นี้คือการเจริญ สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ประการที่ ๕ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันเป็นอริยะ ที่ภิกษุ เจริญ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งธรรม ใดๆ ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง เมื่อมีเหตุ๒- เธอย่อมบรรลุความเป็นผู้ เหมาะสม ที่จะประจักษ์ชัดในธรรมนั้นๆ เปรียบเหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนเชิงรอง เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบๆ น้ำจะกระฉอกออกมาได้ไหม” @เชิงอรรถ : @ ปัจจเวกขณนิมิต หมายถึงปัจจเวกขณญาณ คือ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวนกิเลสที่ละได้ กิเลส @ที่ยังเหลืออยู่ และนิพพาน เว้นพระอรหันต์ ที่ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๒๘/๑๒) @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๓ (อุปกิเลสสูตร) หน้า ๒๘ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๖-๓๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=36&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=1021 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=1021#p36 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๖-๓๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]