ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๒๔-๓๒๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร

๔. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว ๕. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล โทณะ บรรดาพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน” โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่พราหมณ์ ผู้เป็นจัณฑาล ข้าพระองค์ยังให้บริบูรณ์ไม่ได้เลย ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
โทณพราหมณสูตรที่ ๒ จบ
๓. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์
[๑๙๓] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัย ให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย และอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้ สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ ที่ได้สาธยายเลย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ๑. สมัยใด บุคคลมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด๑- กามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่สลัด มี ๓ ประการ คือ (๑) ธรรมที่สลัดด้วยการข่มไว้ หมายถึงปฐมฌานที่มีอสุภกัมมัฏฐานเป็น @อารมณ์ (๒) ธรรมที่สลัดด้วยองค์นั้น หมายถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (๓) ธรรมที่สลัดด้วยการถอนขึ้น @หมายถึงอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๓/๗๓-๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร

สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงซึ่งประโยชน์ ตน๑- ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่สาธยาย มาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ ได้สาธยายเลย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำซึ่งระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สี เขียว หรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะ ที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำ อยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมไม่รู้ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริงแม้ซึ่ง ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่ สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึง มนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ๒. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำร้อนเพราะไฟ เดือดพล่าน เป็นไอ คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน @เชิงอรรถ : @ ประโยชน์ตน ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๓/๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร

๓. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง พูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำถูกสาหร่ายและแหนปกคลุม ไว้แล้ว คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำ อยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ๔. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจกุกกุจจะ ครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดอุทธัจจ- กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานานก็ ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ถูกลมพัด ไหววนเป็นคลื่น คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีใจถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ถูกอุทธัจจ- กุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลา นานก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ต์ที่ไม่ได้ สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ๕. สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำ เป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร

เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำขุ่นมัว เป็นตม ที่เขาวางไว้ ในที่มืด คนมีตาดี มองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น ไม่พึงรู้ ไม่พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ อยู่ และไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง พูดถึงมนตร์ที่ไม่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์ แต่ ๑. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะครอบงำ อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงแม้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมา เป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำซึ่งไม่ระคนด้วยครั่ง ขมิ้น สีเขียวหรือสีเหลืองอ่อน คนมีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะ ที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกกามราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกกามราคะ ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดกามราคะที่ เกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น บุคคลย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่นและประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย มนตร์ แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้อง พูดถึง มนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ๒. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาทครอบงำ อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่ จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร

เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ร้อนเพราะไฟ ไม่เดือด พล่าน ไม่เป็นไอ คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็ม ด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกพยาบาทกลุ้มรุม ไม่ถูกพยาบาท ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดพยาบาทที่เกิด ขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น เหมือนกัน ๓. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะครอบงำ อยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ถูกสาหร่ายและแหน ปกคลุมแล้ว คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วย น้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ถูกถีนมิทธะ ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดถีนมิทธะ ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น เหมือนกัน ๔. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูกอุทธัจจ- กุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็น เวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำ ไม่ถูกลมพัด ก็ไม่ไหว ไม่วน ไม่เป็นคลื่น คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่ เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร

สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม ไม่ถูก อุทธัจจกุกกุจจะครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่ สลัดอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมา เป็นเวลานานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ๕. สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูด ถึงมนตร์ที่สาธยายเลย เปรียบเหมือนภาชนะที่เต็มด้วยน้ำใส ไม่ขุ่นมัว ที่เขาวางไว้ใน ที่แจ้ง คนผู้มีตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะที่เต็มด้วยน้ำนั้น พึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง แม้ฉันใด สมัยใด บุคคลมีจิตไม่ถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ไม่ถูกวิจิกิจฉา ครอบงำอยู่ และรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัดวิจิกิจฉาที่เกิด ขึ้นแล้ว ฯลฯ มนตร์แม้ที่ไม่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่สาธยายเลย ฉันนั้น เหมือนกัน พราหมณ์ นี้แลเป็นเหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่ม แจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย และนี้แลเป็น เหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ที่ได้สาธยายเลย สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของท่านพระโคดม ชัดเจน ไพเราะยิ่งนัก ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
สังคารวสูตรที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๒๔-๓๒๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=324&pages=6&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=9140 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=9140#p324 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๒๔-๓๒๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]