ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๒๓-๓๒๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๒. โทณพราหมณสูตร

อาจารย์เพื่ออาจารย์โดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยกสิกรรมบ้าง แสวงหาด้วยพาณิชยกรรมบ้าง แสวงหาด้วยโครักขกรรมบ้าง แสวงหาด้วยการเป็น นักรบบ้าง แสวงหาด้วยการรับราชการบ้าง แสวงหาด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารบ้าง เขามอบทรัพย์สำหรับบูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์แล้ว แสวงหาภรรยาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง แสวงหาด้วยการซื้อบ้าง แสวงหาด้วยการขายบ้าง แสวงหาพราหมณีที่เขายกให้ด้วยการหลั่งน้ำบ้าง สมสู่ กับพราหมณีบ้าง สตรีชั้นกษัตริย์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง จัณฑาลบ้าง นายพราน บ้าง ช่างสานบ้าง ช่างรถบ้าง คนขนขยะบ้าง สตรีมีครรภ์บ้าง สตรีมีลูกอ่อนบ้าง สตรีมีระดูบ้าง สตรีหมดระดูบ้าง พราหมณีนั้นเป็นพราหมณีของพราหมณ์เพราะ ต้องการความใคร่บ้าง เพราะต้องการความสนุกบ้าง เพราะต้องการความยินดีบ้าง เพราะต้องการบุตรบ้าง เขาเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง พวกพราหมณ์ได้กล่าวกับ เขาอย่างนี้ว่า ‘ท่านปฏิญญาว่าเป็นพราหมณ์ ผู้เจริญ เพราะเหตุไร จึงเลี้ยงชีพด้วย การงานทุกอย่าง’ เขาตอบอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ เปรียบเสมือนไฟไหม้ของสะอาด บ้าง ไม่สะอาดบ้าง แต่ไฟไม่ยึดติดกับสิ่งนั้น แม้ฉันใด ถึงแม้พราหมณ์เลี้ยงชีพด้วย การงานทุกอย่างก็จริง แต่พราหมณ์ก็ไม่ยึดติดกับการงานนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน พราหมณ์จึงเลี้ยงชีพด้วยการงานทุกอย่าง’ เพราะเหตุดังนี้แล ชาวโลกจึงเรียกว่า พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล เป็นอย่างนี้แล (๕) โทณะ บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ คือ ฤๅษีอัฏฐกะ ฤๅษี วามกะ ฤๅษีวามเทวะ ฤๅษีเวสสามิตตะ ฤๅษียมทัคคิ ฤๅษีอังคีรส ฤๅษีภารทวาชะ ฤๅษีวาเสฏฐะ ฤๅษีกัสสปะ ฤๅษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนตร์ บอกมนตร์ พวกพราหมณ์ใน ปัจุบันนี้ขับตาม กล่าวตามซึ่งบทมนตร์ที่เก่าแก่นี้ ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว รวบรวม ไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง สาธยายได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้อง ฤๅษีเหล่านั้นบัญญัติ พราหมณ์ ๕ จำพวกนี้ไว้ คือ ๑. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ๒. พราหมณ์ผู้เสมอด้วยเทวดา ๓. พราหมณ์ผู้ประพฤติดี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๕. พราหมณวรรค ๓. สังคารวสูตร

๔. พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งดีและชั่ว ๕. พราหมณ์ผู้เป็นจัณฑาล โทณะ บรรดาพราหมณ์ ๕ จำพวกนั้น ท่านเป็นพราหมณ์จำพวกไหน” โทณพราหมณ์กราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้แต่พราหมณ์ ผู้เป็นจัณฑาล ข้าพระองค์ยังให้บริบูรณ์ไม่ได้เลย ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ ท่านพระโคดมชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตเถิด”
โทณพราหมณสูตรที่ ๒ จบ
๓. สังคารวสูตร
ว่าด้วยสังคารวพราหมณ์
[๑๙๓] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุปัจจัย ให้มนตร์แม้ที่สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็ไม่แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงมนตร์ที่ไม่ได้สาธยายเลย และอะไรเป็นเหตุปัจจัยให้มนตร์แม้ที่ไม่ได้ สาธยายมาเป็นเวลานาน ก็แจ่มแจ้งได้ในกาลบางคราว ไม่จำเป็นต้องพูดถึงมนตร์ ที่ได้สาธยายเลย” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ๑. สมัยใด บุคคลมีใจถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งธรรมที่สลัด๑- กามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว @เชิงอรรถ : @ ธรรมที่สลัด มี ๓ ประการ คือ (๑) ธรรมที่สลัดด้วยการข่มไว้ หมายถึงปฐมฌานที่มีอสุภกัมมัฏฐานเป็น @อารมณ์ (๒) ธรรมที่สลัดด้วยองค์นั้น หมายถึงวิปัสสนากัมมัฏฐาน (๓) ธรรมที่สลัดด้วยการถอนขึ้น @หมายถึงอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๙๓/๗๓-๗๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๓๒๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๓๒๓-๓๒๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=323&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=9109 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=9109#p323 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๒๓-๓๒๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]