ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๒๘๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. อาฆาตวรรค ๙. ขิปปนิสันติสูตร

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ท่านอานนท์เป็นพหูสูต เฉพาะท่านอานนท์เท่านั้น ที่จะสามารถอธิบายเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้งได้๑-” พระอานนท์กล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว” ท่านพระสารีบุตรรับคำแล้ว ท่านพระอานนท์จึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า “ท่านสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ๒. เป็นผู้ฉลาดในธรรม ๓. เป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ ๔. เป็นผู้ฉลาดในนิรุตติ ๕. เป็นผู้ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย๒- ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงเป็นผู้ใคร่ครวญได้เร็ว เรียนได้ดี เรียนได้มาก ในกุศลธรรมทั้งหลาย และสิ่งที่เธอเรียนแล้วย่อมไม่เลือนหายไป” พระสารีบุตรกล่าวว่า “ผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏตามที่ท่าน อานนท์กล่าวไว้ดีแล้วนี้ เราทั้งหลายขอทรงจำไว้ว่า ท่านอานนท์มีธรรม ๕ ประการนี้ ท่านอานนท์เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุตติ และฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย”
ขิปปนิสันติสูตรที่ ๙ จบ
@เชิงอรรถ : @ แปลจากบาลีว่า “ปฏิภาตุ อายสฺมนฺตญฺเญว อานนฺทํ” มีข้อสังเกตว่า โครงสร้างประโยคเช่นนี้ เป็นประโยค @ธรรมเนียมการให้โอกาส การเชิญ หรือการมอบหมายให้แสดงธรรมตาม ‘ความถนัดส่วนบุคคล’ มีปรากฏ @ในพระไตรปิฎกหลายเล่ม เช่น @ปรากฏใน ที.สี. ๙/๓๑๘/๑๒๔, ม.มู. ๑๒/๔๗๓/๔๒๒, องฺ.ติก. ๒๐/๖๙/๑๙๔ ว่า “สาธุ วต ภนฺเต @ภควนฺตํเยว โคตมํ ปฏิภาตุ เอตสฺส ภาสิตสฺส อตฺโถ” @ปรากฏใน ม.มู. ๑๒/๖๓/๔๑ ว่า “อุปมา มํ อาวุโส สารีปุตฺต ปฏิภาติ, ปฏิภาตุ ตํ อาวุโส @โมคฺคลฺลาน” และปรากฏใน องฺ.ทสก. ๒๔/๖๗/๙๗ ว่า “ปฏิภาตุ ตํ สารีปุตฺต ภิกฺขูนํ ธมฺมีกถา” @ ฉลาดในอรรถ หมายถึงฉลาดในอรรถกถา ฉลาดในธรรม หมายถึงฉลาดในพระบาลี ฉลาดในพยัญชนะ @หมายถึงฉลาดในด้านอักษรศาสตร์ ฉลาดในนิรุตติ หมายถึงฉลาดในภาษาศาสตร์ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๙/ @๖๕) ฉลาดในเบื้องต้นและเบื้องปลาย ในที่นี้หมายถึงฉลาดในเบื้องต้นเบื้องปลาย ๕ ประการ คือ @(๑) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอรรถ (๒) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งธรรม (๓) เบื้องต้นและเบื้องปลาย @แห่งบท (๔) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอักขระ (๕) เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่งอนุสนธิ @(องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๖๙/๖๕-๖๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๒๘๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๒๘๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=284&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=8026 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=8026#p284 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๘๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]