ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๑๒๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๓. โยธาชีวรรค ๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร

ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบ ด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอัสมิมานะ๑- ได้หมดสิ้น ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไป ไม่ได้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ เป็นอย่างนี้แล
ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตรที่ ๑ จบ
๒. ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร
ว่าด้วยธรรมมีเจโตวิมุตติเป็นผล สูตรที่ ๒
[๗๒] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุตติเป็นผล มีเจโตวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุตติเป็นผล มีปัญญาวิมุตติเป็นผลานิสงส์ ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) ๒. อนิจเจ ทุกขสัญญา (กำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยง แห่งสังขาร) ๓. ทุกเข อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาในความเป็นทุกข์) @เชิงอรรถ : @ อัสมิมานะ หมายถึงความถือตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มี ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่า @เลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (๔) เป็นผู้ @เสมอเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๖) เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา @(๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา (๙) เป็นผู้ด้อยกว่า @เขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา (ตามนัย องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๗๔/๔๗๓) และดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๗๘/๕๐๘, @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๖๒/๖๑๖-๖๑๗ @แต่ในที่นี้หมายถึงความสำคัญ ความพอใจ ความเข้าใจว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ @เป็น ‘เรา’ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา ๓/๗๑-๗๒/๓๔) และดู อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๘๘๓/๕๕๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๒๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๒๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=121&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=3436 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=3436#p121 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๒๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]