ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๑๐๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]

                                                                 ๑. นีวรณวรรค ๗. ฐานสูตร

ล่วงพ้นความแก่ไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรค๑- ย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ๒- เจริญ ทำให้มากซึ่ง มรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละสังโยชน์๓- ได้ อนุสัย๔- ย่อมสิ้นไป ๒. อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่มี ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ แท้จริง สัตว์ ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ล้วนมีความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้’ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณา ฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ เจริญ ทำให้มากอยู่ ย่อมละ สังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป @เชิงอรรถ : @ มรรค ในที่นี้หมายถึงโลกุตตรมรรค ได้แก่ อริยมรรค ๔ คือ โสตาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค @และอรหัตตมรรค (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑) @ เสพในที่นี้หมายถึงการนึกหน่วง การรู้ การเห็น การพิจารณา การอธิษฐานจิต การน้อมใจเชื่อ ประคอง @ความเพียร ตั้งสติไว้ ตั้งจิตไว้ กำหนดรู้ด้วยปัญญา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละ @ธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๓/๖๓) @เจริญ หมายถึงบำเพ็ญสิ่งที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ให้เจริญขึ้น และตามรักษาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้มีอยู่ตลอดไป @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๔-๕๕/๖๓, ๔๑๘/๔๔๘, ๔๕๓/๔๖๙) @ทำให้มาก หมายถึงทำบ่อยๆ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๖๐๐-๖๑๑/๔๘๐) @ สังโยชน์ หมายถึงกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ หรือธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ, @วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะหรือกามราคะ, พยาบาทหรือปฏิฆะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, @อุทธัจจะ, อวิชชา (สํ.ม. ๑๙/๑๘๐-๑๘๑/๕๖-๕๗, องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๓/๒๑, @อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๙๔๐/๕๙๒) @ อนุสัย หมายถึงกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดานมี ๗ ประการ คือ (๑) กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) @(๒) ปฏิฆะ (ความขัดใจ) (๓) ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) (๔) วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) (๕) มานะ (ความถือตัว) @(๖) ภวราคะ (ความกำหนัดในภพ) (๗) อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) (สํ.สฬา.อ. ๓/๕๓-๖๒/๑๔, @องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๕๗/๓๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๑๐๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๒ หน้าที่ ๑๐๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=22&page=102&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=2921 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=22&A=2921#p102 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_22 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu22 https://84000.org/tipitaka/english/?index_22



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]