ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๖๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. จักกวรรค ๘. ปฏิลีนสูตร

อันภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรเทาได้ กำจัดได้ สละได้ คลายได้ ปล่อยวางได้ ละได้ สละคืนได้ ภิกษุผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละการใฝ่หากาม๑- ละการแสวงหาภพ๒- ระงับการ แสวงหาพรหมจรรย์ได้๓- ภิกษุผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับได้๔- เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุผู้หลีกเร้น เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละอัสมิมานะ๕- ได้เด็ดขาด ตัดรากถอนโคนเหมือน ต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ภิกษุผู้หลีกเร้น เป็นอย่างนี้แล เราเรียกภิกษุว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะอันบรรเทาได้ ผู้มีการแสวงหาอันสละได้ดี ผู้มีกายสังขารอันระงับได้ ผู้หลีกเร้น ด้วยประการฉะนี้ @เชิงอรรถ : @ ละการใฝ่กาม หมายถึงละได้ด้วยอนาคามิมรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) @ ละการแสวงหาภพ หมายถึงละได้ด้วยอรหัตตมรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) @ ระงับการแสวงหาพรหมจรรย์ได้ หมายถึงอัธยาศัยจิตใจที่มุ่งแสวงหาพรหมจรรย์ในชั้นสูงระงับไปด้วย @อรหัตตมรรค คือ เมื่อบรรลุอรหัตตผลแล้วก็ไม่ต้องแสวงหาพรหมจรรย์ต่อไป แต่การแสวงหาพรหมจรรย์ @ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิจะระงับไปด้วยโสดาปัตติมรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) @ มีกายสังขารอันระงับได้ หมายถึงลมหายใจเข้า ลมหายใจออกระงับไป คือ มีอยู่เหมือนไม่มีด้วยอำนาจ @จตุตถฌาน (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) @ อัสมิมานะ หมายถึงมานะ (ความสำคัญตนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) ๙ ประการ คือ (๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา @สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๒) เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา (๓) เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัว @ว่าด้อยกว่าเขา (๔) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๕) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าเสมอเขา @(๖) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่าด้อยกว่าเขา (๗) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา (๘) เป็นผู้ด้อย @กว่าเขา สำคัญว่าเสมอเขา (๙) เป็นผู้ด้อยกว่าเขา สำคัญตัวว่าด้อยกว่าเขา (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๓๘/๓๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๖๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๖๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=63&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=1875 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=1875#p63 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]