ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๔๒-๔๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อุรุเวลวรรค ๗. สันตุฏฐิสูตร

พวกภิกษุผู้หลอกลวง กระด้าง ประจบ ชอบวางท่า อวดดี และมีจิตไม่ตั้งมั่น ย่อมไม่งอกงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ส่วนภิกษุที่ไม่หลอกลวง ไม่ประจบ เป็นนักปราชญ์ ไม่กระด้าง และมีจิตตั้งมั่นดี ย่อมงอกงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว
กุหสูตรที่ ๖ จบ
๗. สันตุฏฐิสูตร
ว่าด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย ๔
[๒๗] ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ปัจจัย ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. บรรดาจีวร บังสุกุลจีวร(ผ้าที่ได้มาจากกองฝุ่น) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ๒. บรรดาโภชนะ ปิณฑิยาโลปโภชนะ (โภชนะคือคำข้าวที่ได้มาด้วย กำลังปลีแข้ง) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ๓. บรรดาเสนาสนะ รุกขมูลเสนาสนะ (อยู่อาศัยโคนไม้) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ๔. บรรดายารักษาโรค ปูติมุตตเภสัช (ยาดองน้ำมูตรเน่า) มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ปัจจัย ๔ อย่างนี้แลมีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยที่มีค่าน้อยและหาได้ง่าย นี้เราจึงกล่าวว่า ‘เป็นองค์ประกอบแห่งความเป็นสมณะอย่างหนึ่ง’ ของภิกษุนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๔๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๓. อุรุเวลวรรค ๘. อริยวังสสูตร

จิตของภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัย ที่มีค่าน้อย หาได้ง่าย และไม่มีโทษ ย่อมไม่มีความคับแค้น ไม่ติดขัดทั่วทิศ เพราะปรารภจีวร โภชนะ เสนาสนะ และยารักษาโรค และธรรมที่เหมาะแก่ความเป็นสมณะ ที่ภิกษุนั้นกล่าวไว้แล้ว อันภิกษุผู้สันโดษ ไม่ประมาท บรรลุแล้ว
สันตุฏฐิสูตรที่ ๗ จบ
๘. อริยวังสสูตร
ว่าด้วยอริยวงศ์
[๒๘] ภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์๑- ๔ ประการนี้รู้กันว่าล้ำเลิศ รู้กันมานาน รู้กัน ว่าเป็นอริยวงศ์ เป็นของเก่า ไม่ถูกลบล้างแล้ว ไม่เคยถูกลบล้าง ไม่ถูกลบล้าง จักไม่ถูกลบล้าง ไม่ถูกสมณพราหมณ์ผู้รู้คัดค้าน อริยวงศ์ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. สันโดษ๒- ด้วยจีวรตามแต่จะได้ กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวร ตามแต่จะได้ ไม่แสวงหาอันไม่สมควรเพราะจีวรเป็นเหตุ ไม่ได้จีวร ก็ไม่กระวนกระวาย ครั้นได้แล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง มองเห็นโทษ๓- มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่ และไม่ยกตน ข่มผู้อื่นเพราะความสันโดษด้วยจีวรตามแต่จะได้นั้น ภิกษุใดขยัน @เชิงอรรถ : @ อริยวงศ์ หมายถึงวงศ์ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และสาวกของพระพุทธเจ้า @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๘/๓๑๑) @ สันโดษ หมายถึงสันโดษด้วยจีวร, บิณฑบาต, เสนาสนะ, และการมีภาวนาเป็นที่รื่นรมย์ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๘/๓๑๓-๓๒๐) @ โทษในที่นี้หมายถึงการต้องอาบัติเพราะการแสวงหาไม่สมควร และการบริโภคลาภที่ติดใจ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๘/๓๑๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๔๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๔๒-๔๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=42&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=1233 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=1233#p42 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๒-๔๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]