ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๓๔๗-๓๔๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. กัมมวรรค ๒. วิตถารสูตร

กรรมขาวมีวิบากขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง วจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียนและปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน เขา ครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาถูกผัสสะที่ไม่มีความ เบียดเบียนกระทบเข้าย่อมเสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เหมือนพวกเทวดา๑- ชั้นสุภกิณหะ นี้เรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว กรรมทั้งดำและขาวมีวิบากทั้งดำและขาว เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี ความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ เบียดเบียนบ้าง และปรุงแต่งมโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียน บ้าง เขาครั้นปรุงแต่งแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความ เบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูก ต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขา ถูกผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้างกระทบเข้าย่อมเสวย เวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีสุขและทุกข์ระคนกัน เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก๒- และวินิปาติกะ๓- บางพวก นี้เรียกว่า กรรมทั้งดำ และขาวมีวิบากทั้งดำและขาว กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไปเพื่อความ สิ้นกรรม เป็นอย่างไร @เชิงอรรถ : @ เทวดา ในที่นี้หมายถึงสุภกิณหพรหม (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) @ เทวดาบางพวกในที่นี้หมายถึงกามาวจรเทวดา ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี @และปรนิมมิตวสวัตดี (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๐-๔๔๑) @ วินิปาติกะ หมายถึงเวมานิกเปรต ได้แก่ เปรตผู้อยู่ในวิมาน เสวยสุขและทุกข์สลับกันไป บางตนข้างแรม @เสวยทุกข์ ข้างขึ้นเสวยสุข บางตนกลางคืนเสวยสุข กลางวันเสวยทุกข์ เวลาเสวยสุขอยู่ในวิมานมีร่าง @กายเป็นทิพย์สวยงาม แต่เวลาจะเสวยทุกข์ก็ต้องออกจากวิมานไป และร่างกายก็กลายเป็นร่างกายที่น่า @เกลียดน่ากลัว (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๔๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๕. ปัญจมปัณณาสก์]

                                                                 ๔. กัมมวรรค ๓. โสณกายนสูตร

คือ บรรดากรรมเหล่านั้น เจตนา๑- เพื่อละกรรมดำที่มีวิบากดำ เจตนาเพื่อ ละกรรมขาวที่มีวิบากขาว และเจตนาเพื่อละกรรมทั้งดำและขาวที่มีวิบากทั้งดำ และขาว นี้เรียกว่า กรรมทั้งไม่ดำและไม่ขาว มีวิบากทั้งไม่ดำและไม่ขาว เป็นไป เพื่อความสิ้นกรรม ภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แลเราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว จึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม
วิตถารสูตรที่ ๒ จบ
๓. โสณกายนสูตร
ว่าด้วยมาณพชื่อโสณกายนะ
[๒๓๔] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อสิขาโมคคัลลานะ๒- เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หลายวันมาแล้ว โสณกายนมาณพ๓- ไปหาข้าพเจ้า ถึงที่อยู่ได้กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมทรงบัญญัติกรรมทั้งปวงว่าเป็นอกิริยะ๔- ก็เมื่อ บัญญัติกรรมทั้งปวงว่าเป็นอกิริยะ ชื่อว่ากล่าวความขาดสูญแห่งโลก ข้าแต่พระ โคดมผู้เจริญ โลกนี้มีกรรมเป็นสภาพ ดำรงอยู่ได้ด้วยการก่อกรรมมิใช่หรือ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นโสณกายนมาณพเลย ที่ไหนจะได้กล่าวปราศรัยอย่างนี้เล่า กรรม ๔ ประการนี้เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา อันยิ่งเองแล้วจึงประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม @เชิงอรรถ : @ เจตนาในที่นี้หมายถึงเจตนาในอริยมรรค ที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงวิวัฏฏะคือพระนิพพาน @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๓/๔๔๑) @ หมายถึงพราหมณ์ตระกูลโมคคัลลานโคตร ที่มีม้วยผมใหญ่อยู่กลางกระหม่อมศีรษะ จึงมีชื่อว่า สิขา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๔/๔๔๑) @ หมายถึงมาณพผู้เป็นอันเตวาสิกของพราหมณ์สิขาโมคคัลลานโคตร (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๓๔/๔๔๑) @ อกิริยะ หมายถึงการกระทำทุกอย่างไม่มีผล ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว เป็นความเห็นที่ปฏิเสธกฎ @แห่งกรรม (ที.สี.อ. ๑๖๖/๑๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๔๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๔๗-๓๔๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=347&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=10340 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=10340#p347 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๔๗-๓๔๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]