ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๓๑-๓๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. จรวรรค ๑๐. ภัตตุทเทสกสูตร

ส่วนบุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมบริบูรณ์ ดุจดวงจันทร์ข้างขึ้นฉะนั้น
ตติยอคติสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. ภัตตุทเทสกสูตร๑-
ว่าด้วยพระภัตตุทเทสกะเลวและดี
[๒๐] ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะ๒- ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ พระภัตตุทเทสกะย่อมถึง ๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ ๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อม ดำรงอยู่ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้ ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมดำรง อยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ พระภัตตุทเทสกะย่อมไม่ถึง ๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ ๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๒๗๒/๓๙๙-๔๐๐ @ หมายถึงพระภิกษุผู้ทำหน้าที่แจกสลากภัตเป็นต้น (หรือผู้ทำหน้าที่นิมนต์พระ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๒๐/๒๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๑. ปฐมปัณณาสก์]

                                                                 ๒. จรวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสกะผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อม ดำรงอยู่ในสวรรค์เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ไม่ประกอบด้วยธรรม ไม่เคารพธรรม ถึงอคติ เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ บุคคลเช่นนี้ เราเรียกว่าผู้เป็นขยะในบริษัท สมณะผู้รู้กล่าวไว้แล้วอย่างนี้แล เพราะเหตุนั้นแล บุคคลผู้ดำรงอยู่ในธรรม ไม่ทำบาป ไม่ถึงอคติ เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ เป็นสัตบุรุษที่น่าสรรเสริญ บุคคลเช่นนี้ เราเรียกว่าผู้ผุดผ่องในบริษัท สมณะผู้รู้กล่าวไว้แล้วอย่างนี้แล
ภัตตุทเทสกสูตรที่ ๑๐ จบ
จรวรรคที่ ๒ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จรสูตร ๒. สีลสูตร ๓. ปธานสูตร ๔. สังวรสูตร ๕. ปัญญัตติสูตร ๖. โสขุมมสูตร ๗. ปฐมอคติสูตร ๘. ทุติยอคติสูตร ๙. ตติยอคติสูตร ๑๐. ภัตตุทเทสกสูตร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๓๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๓๑-๓๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=31&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=903 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=903#p31 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๑-๓๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]