ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๒๕๘-๒๕๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๔. โยธาชีววรรค ๒. ปาฏิโภคสูตร

ภิกษุยิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือ ใกล้ก็ตาม ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เรา ไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใด อย่างหนึ่ง ... สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ภิกษุชื่อว่ายิงลูกศรได้ไกล เป็นอย่างนี้แล๑- ภิกษุยิงไม่พลาด เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ- คามินีปฏิปทา’ ภิกษุชื่อว่ายิงไม่พลาด เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทำลายกายขนาดใหญ่ได้ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำลายกองอวิชชาใหญ่ได้ ภิกษุชื่อว่าทำลายกายขนาด ใหญ่ได้ เป็นอย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเป็นผู้ควรแก่ ของที่เขานำมาถวาย ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก”
โยธาชีวสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปาฏิโภคสูตร
ว่าด้วยธรรมที่ไม่มีใครประกันได้
[๑๘๒] ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๓๔/๓๘๓-๓๘๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๔. โยธาชีววรรค ๓. สุตสูตร

๑. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า ‘ไม่แก่’ ๒. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความเจ็บเป็นธรรมดาว่า ‘ไม่เจ็บ’ ๓. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า ไม่ตาย’ ๔. ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันผลแห่งกรรมชั่วที่เศร้าหมอง ให้เกิด ในภพใหม่ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นผล มีชาติ ชรา และ มรณะต่อไปว่า ‘ไม่บังเกิด’ ภิกษุทั้งหลาย ไม่มีใครเลย ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกที่จะประกันธรรม ๔ ประการนี้แล
ปาฏิโภคสูตรที่ ๒ จบ
๓. สุตสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่ได้ฟัง
[๑๘๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้ เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์ แห่งแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่ บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า “ข้าแต่พระโคดม ข้าพเจ้ามีวาทะ๑- อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าว ถึงสิ่งที่ตนเห็นว่า ‘เราได้เห็นอย่างนี้’ ย่อมไม่มีโทษเพราะการพูดนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าว @เชิงอรรถ : @ วาทะ ในที่นี้หมายถึงลัทธิ ความเชื่อ เช่น คำว่า นัตถิกวาทะ ลัทธิที่ถือว่า ไม่มีเหตุปัจจัยที่ทำให้สัตว์ @บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง (ที.สี.อ. ๑๖๘/๑๔๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๕๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๕๘-๒๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=258&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=7677 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=7677#p258 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๕๘-๒๕๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]