ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๒๔๒-๒๔๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๓. สัญเจตนิยวรรค ๒. วิภัตติสูตร

บุคคลบางคนในโลกนี้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ บรรลุเนวสัญญานาสัญญา- ยตนฌานอยู่ในปัจจุบัน เขาชอบใจ พอใจเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นและถึง ความปลื้มใจกับเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในเนวสัญญา- นาสัญญายตนฌานนั้น น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชอบอยู่กับ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้๑- สารีบุตร นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้จุติจากกายนั้นแล้ว เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกใน โลกนี้จุติจากกายนั้นแล้ว เป็นอนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้”
เจตนาสูตรที่ ๑ จบ
๒. วิภัตติสูตร
ว่าด้วยการจำแนกปฏิสัมภิทา
[๑๗๒] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ท่าน ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเรื่องนี้ว่า ท่านทั้งหลาย เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งซึ่งอัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญา แตกฉานในอรรถ๒-) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก ๓- แสดง๔- บัญญัติ๕- กำหนด๖- @เชิงอรรถ : @ ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ หมายถึงไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้มีขันธ์ ๕ ไม่เกิดในภพเบื้องต่ำ คือ เกิด @ในภพนั้นบ้าง เกิดในภพเบื้องสูงขึ้นไปบ้าง ปรินิพพานในภพชั้นนั้นนั่นแลบ้าง (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๑/๓๙๕) @ อรรถ คือ ประโยชน์ ๕ ประการ ในที่นี้ โดยย่อ หมายถึงเหตุผลที่พึงถึงพึงบรรลุ โดยประเภท @หมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแต่ปัจจัย นิพพาน เนื้อความที่ตรัสไว้ วิบาก (ผล) และกิริยา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ หมายถึงกล่าวคำเริ่มต้น แสดงคำเริ่มต้น (อง.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๕, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ หมายถึงการให้อุทเทส (คำเริ่มต้น) จบลง (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๔) @ หมายถึงการประกาศให้รู้ถึงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้โดยประการต่างๆ ตามที่ยกแสดงไว้ @ หมายถึงการให้เนื้อความนั้นดำเนินไปโดยประการต่างๆ (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๓. สัญเจตนิยวรรค ๒. วิภัตติสูตร

เปิดเผย๑- จำแนก๒- ทำให้ง่าย๓- ซึ่งอัตถปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่างๆ ผู้มีความสงสัย หรือเคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย ผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้งหลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้ง ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งธัมมปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่างๆ ผู้มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย ผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้ง หลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งนิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำ ให้ง่ายซึ่งนิรุตติปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่างๆ ผู้มีความสงสัยหรือเคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลายผู้ทรงฉลาดดีในธรรมทั้งหลาย ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว เราอุปสมบทได้กึ่งเดือนได้ทำให้แจ้งปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานใน ปฏิภาณ) โดยเหตุ โดยพยัญชนะ เราจะบอก แสดง บัญญัติ กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นโดยวิธีต่างๆ ผู้มีความสงสัยหรือ เคลือบแคลงพึงถาม เราพอใจที่จะตอบข้อสงสัย พระศาสดาของเราทั้งหลายผู้ทรง ฉลาดดีในธรรมทั้งหลายประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลายแล้ว
วิภัตติสูตรที่ ๒ จบ
@เชิงอรรถ : @ หมายถึงการชี้แจงแสดงเนื้อความตามที่ตั้งอุทเทสไว้ โดยการวกกลับมาอธิบายซ้ำอีก @(องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @ หมายถึงการจำแนกประเด็นที่เปิดแล้ว (องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) @ หมายถึงการแสดงประเด็นที่จำแนกไว้ให้ชัดเจนด้วยการชี้เหตุและยกอุทาหรณ์ต่างๆ มาประกอบ @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๒/๓๙๕-๓๙๖, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๗๒/๔๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๔๒-๒๔๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=242&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=7199 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=7199#p242 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๔๒-๒๔๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]