ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๒๔๐-๒๔๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๓. สัญเจตนิยวรรค ๑. เจตนาสูตร

บุคคลปรุงแต่งมโนสังขาร๑- อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นด้วยตนเองบ้าง บุคคลอื่นปรุงแต่งมโนสังขารของบุคคลนั้นอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคล นั้นบ้าง บุคคลรู้สึกตัว ปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง บุคคลไม่รู้สึกตัว ปรุงแต่งมโนสังขารอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง อวิชชาย่อมตกไปตามธรรมเหล่านี้ แต่เพราะอวิชชาดับไปไม่เหลือด้วยวิราคะ กายอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นจึงไม่มี วาจาอันเป็นปัจจัยให้ สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นจึงไม่มี ใจอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้น แก่บุคคลนั้นจึงไม่มี เขต ฯลฯ วัตถุ ฯลฯ อายตนะ ฯลฯ อธิกรณะ๒- อันเป็นปัจจัย ให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น จึงไม่มี ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการ๓- นี้ ความได้อัตภาพ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของ ผู้อื่นดำเนินไป ๒. ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป มิใช่สัญเจตนา ของตนดำเนินไป ๓. ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป ๔. ความได้อัตภาพที่มิใช่สัญเจตนาของตนและมิใช่สัญเจตนาของผู้ อื่นดำเนินไป ภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ ประการนี้แล” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า @เชิงอรรถ : @ มโนสังขาร หมายถึงสภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา หรือมโนสัญเจตนา คือ @ความจงใจทางใจ (องฺ.ติก.อ. ๒/๒๓/๑๐๑) @ คำว่า “เขต วัตถุ อายตนะ และอธิกรณะ” นี้เป็นชื่อของกุศลกรรมและอกุศลกรรม ซึ่งมีความหมายว่า @ที่งอก ที่เกิด หรือที่ตั้งแห่งวิบากที่เป็นสุขทุกข์ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๑/๓๙๔) @ ที.ปา. ๑๑/๓๑๒/๒๐๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๓. สัญเจตนิยวรรค ๑. เจตนาสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความแห่งธรรมที่พระองค์ตรัส ไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้ว่า บรรดาความได้อัตภาพ ๔ ประการนั้น ความได้ อัตภาพที่สัญเจตนาของตนดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป นี้คือการจุติ จากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น มีได้เพราะสัญเจตนาของตนเป็นเหตุ ความได้ อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป มิใช่สัญเจตนาของตนดำเนินไป นี้คือการจุติ จากกายนั้นของสัตว์เหล่านั้น มีได้เพราะสัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ ความได้ อัตภาพที่สัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไป นี้คือการจุติจากกาย นั้นของสัตว์เหล่านั้น มีได้เพราะสัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ ความได้อัตภาพที่มิใช่สัญเจตนาของตนและมิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นดำเนินไปนี้พึงเห็น เทวดาพวกไหนที่ดำเนินไปด้วยอัตภาพนั้น พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร พึงเห็นเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงชั้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ ด้วยอัตภาพนั้น” ท่านพระสารีบุตรทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้จุติจากกายนั้นแล้วเป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็น อย่างนี้ และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกในโลกนี้จุติจากกายนั้นแล้วเป็น อนาคามีผู้ไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “สารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ยังละโอรัมภาคิย- สังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ)ไม่ได้ แต่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ในปัจจุบัน เขาชอบใจเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ติดใจเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และถึงความปลื้มใจกับเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เขาดำรงอยู่ในเนวสัญญา- นาสัญญายตนฌานนั้น น้อมใจไปในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ชอบอยู่กับ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นโดยมาก ไม่เสื่อม เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความ เป็นผู้อยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เขาจุติจากชั้นนั้นแล้ว เป็นอาคามีกลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้๑- @เชิงอรรถ : @ กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ หมายถึงกลับมาสู่ความเป็นผู้มีขันธ์ ๕ อันเป็นกามาวจร คือ ไม่เกิดในภพนั้น @และไม่เกิดในภพชั้นสูงขึ้นไป (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๗๑/๓๙๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๔๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๔๐-๒๔๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=240&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=7137 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=7137#p240 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๔๐-๒๔๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]