ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๒๓๓-๒๓๕.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปฏิปทาวรรค ๗. มหาโมคคัลลานสูตร

๖. อุภยสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่มีลักษณะเหมือนกันทั้ง ๒ ส่วน
[๑๖๖] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า) ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว) ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า) ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกและรู้ได้เร็ว) บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน คือ ต่ำเพราะการปฏิบัติลำบากและต่ำเพราะ รู้ได้ช้า ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะปฏิบัติลำบาก บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะรู้ได้ช้า บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนั้น สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิต กล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง ๒ ส่วน คือ ประณีตเพราะปฏิบัติสะดวกและ ประณีตเพราะรู้ได้เร็ว ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง ๒ ส่วน ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
อุภยสูตรที่ ๖ จบ
๗. มหาโมคคัลลานสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นเหตุให้จิตของพระมหาโมคคัลลานะหลุดพ้น
[๑๖๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปฏิปทาวรรค ๘. สารีปุตตสูตร

ท่านโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน จิตของท่านจึง หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา๑- จิตของผมจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
มหาโมคคัลลานสูตรที่ ๗ จบ
๘. สารีปุตตสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่เป็นเหตุให้จิตของพระสารีบุตรหลุดพ้น
[๑๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ @เชิงอรรถ : @ หมายถึงการบรรลุอรหัตตมรรคของท่านพระมหาโมคคัลลานะ เป็นทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๗/๓๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปฏิปทาวรรค ๙. สสังขารสูตร

๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน จิตของท่านจึง หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ผู้มีอายุ ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล บรรดาปฏิปทา ๔ ประการนี้ เพราะอาศัยสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา๑- จิตของผมจึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
สารีปุตตสูตรที่ ๘ จบ
๙. สสังขารสูตร
ว่าด้วยผู้เป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบัน
[๑๖๙] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสสังขารปรินิพพายี๒- ในปัจจุบัน ๒. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นสสังขารปรินิพพายีหลังจากตายแล้ว @เชิงอรรถ : @ หมายถึงการบรรลุอรหัตตมรรคของท่านพระสารีบุตร เป็นสุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๘/๓๙๐) @ สสังขารปรินิพพายี หมายถึงพระอนาคามี ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานล้วนๆ จนกิเลสสิ้นไปชื่อว่า @ปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๙/๓๙๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๓๓-๒๓๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=233&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=6925 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=6925#p233 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๓๓-๒๓๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]