ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๒๒๖-๒๓๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปฏิปทาวรรค ๒. วิตถารสูตร

๒. ปฏิปทาวรรค
หมวดว่าด้วยปฏิปทา
๑. สังขิตตสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาโดยย่อ
[๑๖๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ๑- ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติลำบากและรู้ได้ช้า) ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว) ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา (ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า) ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา (ปฏิบัติสะดวกและรู้ได้เร็ว) ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
สังขิตตสูตรที่ ๑ จบ
๒. วิตถารสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาโดยพิสดาร
[๑๖๒] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส @เชิงอรรถ : @ ดู ที.ปา. ๑๑/๓๑๑/๒๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๒๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปฏิปทาวรรค ๒. วิตถารสูตร

ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์๑- ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนมีราคะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโทสะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนมีโมหะกล้า ย่อมเสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนไม่มีราคะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโทสะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโมหะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา @เชิงอรรถ : @ ปัญญินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาปัญญา หรือวิปัสสนาญาณ ญาณในวิปัสสนา ญาณที่นับเข้าใน @วิปัสสนา หรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลาย @ตามความเป็นจริงมี ๙ อย่าง [ได้แก่ (๑) อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและ @ความดับ (๒) ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความสลาย (๓) ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันหยั่ง @เห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว (๔) อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นโทษ (๕) นิพพิทา- @นุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นด้วยความหน่าย (๖) มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะ @พ้นไปเสีย (๗) ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นการพิจารณาหาทาง (๘) สังขารุเปกขาญาณ @ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร (๙) สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไป @โดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ] (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๒/๓๘๗, องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๖๒/๔๒๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๒๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปฏิปทาวรรค ๓. อสุภสูตร

สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้โดยปกติเป็นคนไม่มีราคะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากราคะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโทสะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากโทสะเป็นประจำบ้าง โดยปกติเป็นคนไม่มีโมหะกล้า จึงไม่เสวยทุกขโทมนัส ที่เกิดจากโมหะเป็นประจำบ้าง อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้าเพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
วิตถารสูตรที่ ๒ จบ
๓. อสุภสูตร
ว่าด้วยการพิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
[๑๖๓] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๒. ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ๓. สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา ๔. สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญา (ความจำได้ หมายรู้)ว่าปฏิกูลในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็น ความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัย เสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ (กำลังคือศรัทธา) หิริพละ (กำลังคือหิริ) โอตตัปปพละ (กำลังคือโอตตัปปะ) วิริยพละ (กำลังคือวิริยะ) ปัญญาพละ (กำลัง คือปัญญา) และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา) วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ) สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ) สมาธินทรีย์ (อินทรีย์ คือสมาธิ) ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา) ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๒๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปฏิปทาวรรค ๓. อสุภสูตร

ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย มีสัญญาว่าปฏิกูล ในอาหาร มีสัญญาว่าไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวงอยู่ เธอมีมรณสัญญาที่ตั้งมั่นดีภายใน เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอ จึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า ทุกขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุ บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า “ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข” เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ภิกษุเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการนี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปป- พละ วิริยพละ ปัญญาพละ แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏอ่อน เธอจึงบรรลุคุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะช้า นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๒๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๔. จตุตถปัณณาสก์]

                                                                 ๒. ปฏิปทาวรรค ๔. ปฐมขมสูตร

ไปก่อนแล้ว ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอเข้าไปอาศัยเสกขพละ ๕ ประการ นี้อยู่ คือ สัทธาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ วิริยพละ ปัญญาพละ และอินทรีย์ ๕ ประการนี้ของเธอ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมปรากฏแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้ปรากฏแก่กล้า เธอจึงบรรลุ คุณวิเศษเพื่อความสิ้นอาสวะเร็ว นี้เรียกว่า สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล
อสุภสูตรที่ ๓ จบ
๔. ปฐมขมสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาที่อดทน สูตรที่ ๑
[๑๖๔] ภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ปฏิปทา ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อักขมา ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ไม่อดทน) ๒. ขมา ปฏิปทา๑- (ข้อปฏิบัติที่อดทน) ๓. ทมา ปฏิปทา๒- (ข้อปฏิบัติที่ข่มใจ) ๔. สมา ปฏิปทา๓- (ข้อปฏิบัติที่ระงับ) อักขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ด่าโต้ตอบคนที่ด่า โกรธตอบคนที่โกรธ เถียงโต้ ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า อักขมา ปฏิปทา ขมา ปฏิปทา เป็นอย่างไร คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ด่าโต้ตอบคนที่ด่า ไม่โกรธตอบคนที่โกรธ ไม่เถียงโต้ตอบคนที่เถียง นี้เรียกว่า ขมา ปฏิปทา @เชิงอรรถ : @ ขมา ปฏิปทา หมายถึงอธิวาสิกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่อดกลั้นอดทน) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๔/๓๘๙) @ ทมา ปฏิปทา หมายถึงอินทริยทมนปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่ข่มอินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย @และใจ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๔/๓๘๙) @ สมา ปฏิปทา หมายถึงอกุสลวิตักกวูปสมนปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเพื่อระงับอกุศลวิตก) @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๖๔/๓๘๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๓๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๒๖-๒๓๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=226&pages=5&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=6711 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=6711#p226 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๒๖-๒๓๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]