ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. ปุคคลวรรค ๒. ปฏิภาณสูตร

บุคคลจำพวกไหนละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ แต่ยังละสังโยชน์ที่เป็น ปัจจัยแห่งการเกิดไม่ได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้ คือ พระอนาคามีผู้มุ่งหน้าไปสู่อกนิฏฐภพ บุคคลนี้แลละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ แต่ยังละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยแห่งการเกิดไม่ได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้ บุคคลจำพวกไหนละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยแห่ง การเกิดได้ แต่ยังละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้ คือ พระอนาคามีผู้ปรินิพพานในระหว่าง บุคคลนี้แลละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยแห่งการเกิดได้ แต่ยังละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพไม่ได้ บุคคลจำพวกไหนละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยแห่ง การเกิดได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพได้ คือ พระอรหันต์ผู้หมดกิเลส บุคคลนี้แลละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์ ที่เป็นปัจจัยแห่งการเกิดได้ และละสังโยชน์ที่เป็นปัจจัยให้ได้ภพได้ ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
สังโยชนสูตรที่ ๑ จบ
๒. ปฏิภาณสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้ตอบได้ถูกต้อง
[๑๓๒] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ ๑. บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้อง แต่ไม่รวดเร็ว๒- ๒. บุคคลผู้ตอบได้รวดเร็ว แต่ไม่ถูกต้อง๓- @เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๕๒-๑๕๕/๑๘๗ @ ผู้ตอบได้ถูกต้อง แต่ไม่รวดเร็ว หมายถึงผู้ถูกถามปัญหาก็ตอบได้ถูกต้อง แต่ไม่รวดเร็ว @(อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๕๒/๑๘๗, องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓๒/๓๘๐) @ ผู้ตอบได้รวดเร็ว แต่ไม่ถูกต้อง หมายถึงผู้ถูกถามปัญหาก็ตอบได้รวดเร็ว แต่ไม่ถูกต้อง @(อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๕๓/๑๘๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๐๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๔. ปุคคลวรรค ๓. อุคฆฏิตัญญูสูตร

๓. บุคคลผู้ตอบได้ถูกต้องและรวดเร็ว ๔. บุคคลผู้ตอบได้ไม่ถูกต้องและไม่รวดเร็ว ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
ปฏิภาณสูตรที่ ๒ จบ
๓. อุคฆฏิตัญญูสูตร
ว่าด้วยบุคคลผู้เข้าใจได้ฉับพลัน
[๑๓๓] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔ จำพวก๑- ไหนบ้าง คือ ๑. อุคฆฏิตัญญู๒- (ผู้เข้าใจได้ฉับพลัน) ๒. วิปจิตัญญู๓- (ผู้เข้าใจต่อเมื่อขยายความ) ๓. เนยยะ๔- (ผู้ที่พอจะแนะนำได้) ๔. ปทปรมะ๕- (ผู้ที่สอนให้รู้ได้เพียงตัวบทคือพยัญชนะ) ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก
อุคฆฏิตัญญูสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ดู อภิ.ปุ. (แปล) ๓๖/๑๔๘-๑๕๑/๑๘๖-๑๘๗ @ หมายถึงบุคคลที่บรรลุธรรมคืออริยสัจ ๔ ได้เร็ว คือ พอยกหัวข้อขึ้นแสดงเท่านั้น @(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓๓/๓๘๐) @ หมายถึงบุคคลที่บรรลุธรรมเมื่อเขาอธิบายเนื้อความโดยพิสดาร คือ เมื่อเขายกหัวข้อขึ้นกล่าวโดยย่อแล้ว @กล่าวอธิบายโดยพิสดาร จึงสามารถบรรลุพระอรหัตตผลได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓๓/๓๘๐) @ หมายถึงบุคคลที่มนสิการโดยแยบคาย โดยการแสดง การถาม การเสพ การคบหา การเข้าไปนั่งใกล้ @กัลยาณมิตร จึงบรรลุธรรมโดยลำดับ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓๓/๓๘๐) @ หมายถึงบุคคลที่ฟังไว้มาก แสดงไว้มาก ทรงจำไว้มาก และพูดไว้มาก แต่ไม่บรรลุธรรมในชาตินี้ คือ @ไม่สามารถที่จะบำเพ็ญฌาน วิปัสสนา มรรค หรือผลให้บังเกิดได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑๓๓/๓๘๐, @องฺ.จตุกฺก.ฏีกา ๒/๑๓๓-๑๓๔/๔๑๗-๔๑๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๒๐๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๑ หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=21&page=201&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=21&A=5964 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=21&A=5964#p201 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_21 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu21 https://84000.org/tipitaka/english/?index_21



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๑-๒๐๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]