ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๙๑-๙๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

[๔๘] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ ๒. บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อ ความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง พวกภิกษุไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรมว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญได้รจนาไว้เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก๑- เป็นสาวกภาษิต๒- ภิกษุเหล่านั้นกลับ ตั้งใจฟังอย่างดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่ไต่ถามกันว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นไม่ เปิดเผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ไม่ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และไม่ บรรเทาความสงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ดื้อด้าน ไม่ไต่ถาม และไม่ได้รับการแนะนำ บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้าน เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ท่านผู้เชี่ยวชาญรจนาไว้ เป็นบทกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร อยู่ภายนอก เป็นสาวกภาษิต พวกภิกษุไม่ ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และไม่ให้ความสำคัญธรรม ว่าควรเรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวสูตรที่ตถาคตกล่าวไว้ ล้ำลึก มีเนื้อความลึกซึ้ง เป็นโลกุตตรธรรม ประกอบด้วยความว่าง ภิกษุเหล่านั้นกลับ ตั้งใจฟังด้วยดี เงี่ยหูฟัง เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อรู้ทั่วถึง และให้ความสำคัญธรรมว่าควร @เชิงอรรถ : @ อยู่ภายนอก หมายถึงอยู่ภายนอกพระพุทธศาสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕) @ เป็นสาวกภาษิต หมายถึงเป็นภาษิตอันเหล่าสาวกของเจ้าลัทธิคนใดคนหนึ่งที่ไม่ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธ- @สาวกได้ภาษิตไว้ (องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๘/๕๕, องฺ.ทุก.ฏีกา ๒/๔๘/๕๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. ปริสวรรค

เรียน ควรท่องจำให้ขึ้นใจ ครั้นท่องจำธรรมนั้นแล้วย่อมสอบสวนไต่ถามกันว่า “พุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งพุทธพจน์นี้เป็นอย่างไร” ภิกษุเหล่านั้นเปิด เผยธรรมที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้ง่ายซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ง่าย และบรรเทาความ สงสัยในธรรมที่น่าสงสัยหลายอย่าง บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการ แนะนำ และไม่ดื้อด้าน ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ไต่ถาม ได้รับการแนะนำ และไม่ดื้อด้านเป็นเลิศ (๖) [๔๙] ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัท ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ๒. บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม เป็นอย่างไร คือ บริษัทใดในธรรมวินัยนี้มีพวกภิกษุต่างสรรเสริญคุณของกันและกันต่อหน้า คฤหัสถ์ผู้นุ่งผ้าขาวว่า “ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต๑- ภิกษุรูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต๒- ภิกษุรูปโน้นเป็นกายสักขี๓- ภิกษุรูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ๔- ภิกษุรูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต๕- @เชิงอรรถ : @ อุภโตภาควิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้อรูปสมาบัติ และใช้สมถะเป็นพื้นฐานในการ @บำเพ็ญวิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๐, องฺ.นวก.อ. ๓/๔๕/๓๑๖) @ ปัญญาวิมุต หมายถึงผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วนๆ จนบรรลุอรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ กายสักขี หมายถึงผู้มีศรัทธาแก่กล้า ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยนามกาย และอาสวะบางอย่างก็สิ้นไป @เพราะเห็นด้วยปัญญา หมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไปจนถึงท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ ทิฏฐิปัตตะ หมายถึงผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา @มีปัญญาแก่กล้า หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑) @ สัทธาวิมุต หมายถึงผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา เข้าใจอริยสัจถูกต้อง กิเลสบางส่วนสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา @มีศรัทธาแก่กล้า หมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๔๙/๕๕, องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๙๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๙๑-๙๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=91&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=2487 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=2487#p91 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๙๑-๙๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]