ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๕๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๙. กายคตาสติวรรค

เจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญ ปัญญาพละ ... ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้อยู่ไม่ห่างจากฌาน ทำตามคำสอน ของศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ฉันบิณฑบาตของชาวบ้านอย่างไม่สูญเปล่า ไม่จำเป็น ต้องพูดถึงภิกษุผู้ทำให้มากซึ่งปัญญาพละที่ประกอบด้วยอุเบกขา (๑๑๒-๑๘๑)
อปรอัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๑๘ จบ
๑๙. กายคตาสติวรรค
หมวดว่าด้วยผลแห่งการเจริญกายคตาสติ
[๕๖๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กายคตาสติอันภิกษุรูปใดรูป หนึ่งได้เจริญทำให้มากแล้ว กุศลธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นส่วนแห่งวิชชา๑- ย่อม เป็นภาวนาที่หยั่งลงในจิตของภิกษุนั้น เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันผู้ใดผู้หนึ่งสัมผัส ด้วยใจแล้ว๒- แม่น้ำน้อยสายใดสายหนึ่งที่ไหลไปสู่สมุทรย่อมปรากฏภายในจิตของ ผู้นั้น (๑) [๕๖๔-๕๗๐] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไป เพื่อสังเวชใหญ่๓- เพื่อประโยชน์ใหญ่๔- เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่๕- เพื่อ สติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ๖- เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ๗- ธรรมอันเป็นเอกคืออะไร คือ กายคตาสติ ธรรมอันเป็นเอก นี้แลที่บุคคลได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อสังเวชใหญ่ เพื่อประโยชน์ใหญ่ เพื่อธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ เพื่อสติและสัมปชัญญะ เพื่อได้ญาณทัสสนะ เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เพื่อทำให้แจ้งซึ่งผลแห่งวิชชาและวิมุตติ (๒-๘) @เชิงอรรถ : @ วิชชา มี ๘ ประการ คือ (๑) วิปัสสนาญาณ (๒) มโนมยิทธิ (๓) อิทธิวิธา (๔) ทิพพโสตะ (๕) เจโตปริยญาณ @(๖) ปุพเพนิวาสานุสสติ (๗) ทิพพจักขุ (๘) อาสวักขยญาณ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๓/๔๗๒) @ หมายถึงการเจริญอาโปกสิณ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๓/๔๗๒) @ สังเวชใหญ่ ในที่นี้หมายถึงวิปัสสนาหรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงมรรคแห่งวิปัสสนา @ ประโยชน์ใหญ่ ในที่นี้หมายถึงมรรค ๔ อีกนัยหนึ่งหมายถึงสามัญญผล ๔ @ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะใหญ่ หมายถึงสามัญญผล ๔ อีกนัยหนี่งหมายถึงนิพพาน @ ญาณทัสสนะ หมายถึงทิพพจักขุญาณ @ ผลแห่งวิชชาและวิมุตติ หมายถึงอรหัตตผล (องฺ.เอกก.อ. ๑/๕๖๔-๕๗๐/๔๗๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๕๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๕๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=51&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=1372 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=1372#p51 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]