ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๔๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกกนิบาต ๑๘. อปรอัจฉราสังฆาตวรรค

... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย๑- อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ (๙-๑๒) [๓๙๔-๓๙๗] ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น๒- เพื่อป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ภิกษุ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำกุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิดให้เกิดขึ้น ภิกษุสร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่น เพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิญโญภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่ เกิดขึ้นแล้ว (๑๓-๑๖) [๓๙๘-๔๐๑] ภิกษุเจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร๓- ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีริยสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบ ด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ... เจริญอิทธิบาทที่ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธาน- สังขาร ... (๑๗-๒๐) [๔๐๒-๔๐๖] ภิกษุเจริญสัทธินทรีย์ ... เจริญวีริยินทรีย์ ... เจริญสตินทรีย์ ... เจริญสมาธินทรีย์ ... เจริญปัญญินทรีย์ ... (๒๑-๒๕) [๔๐๗-๔๑๑] ภิกษุเจริญสัทธาพละ ... เจริญวีริยพละ ... เจริญสติพละ ... เจริญสมาธิพละ ... เจริญปัญญาพละ ... (๒๖-๓๐) @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงนิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ @โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๐/๔๔๐) @ สร้างฉันทะ หมายถึงสร้างความพอใจใคร่จะทำกุศล พยายาม หมายถึงทำความเพียรบากบั่น ปรารภ @ความเพียร หมายถึงบำเพ็ญเพียรทั้งทางกายและทางใจ ประคองจิต หมายถึงยกจิตขึ้นพร้อมๆ กับ @ความเพียรทางกายและจิต มุ่งมั่น หมายถึงทำความเพียรเป็นหลักใหญ่ (องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๔/๔๔๐) @ได้แก่ สัมมัปปธาน ๔ ประการ ดู องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๖๙/๘๔-๘๕ @ ฉันทสมาธิ หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะ ปธานสังขาร หมายถึงความเพียรที่มุ่งมั่น (ปธาน) คำว่า @ฉันทสมาธิปธานสังขาร หมายถึงสมาธิที่เกิดจากฉันทะและความเพียรที่มุ่งมั่น วีริยสมาธิ จิตตสมาธิ @และ วีมังสาสมาธิ ก็มีอรรถาธิบายเช่นเดียวกัน ในสูตรนี้ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ @(องฺ.เอกก.อ. ๑/๓๙๘/๔๔๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๔๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๔๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=47&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=1256 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=1256#p47 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]