ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๓๗๓.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์]

                                                                 ๓. กุสินารวรรค ๓. โคตมกเจติยสูตร

ในทิศใด ภิกษุทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ ทิศนี้ แม้ไปเยือนก็เป็นที่ สำราญแก่เรา ไม่จำเป็นต้องพูดถึงการคิด ในเรื่องนี้ เราสันนิษฐานได้ว่า ท่านเหล่านั้น ได้ละธรรม ๓ ประการนี้ คลุกคลีอยู่กับธรรม ๓ ประการนี้อย่างแน่นอน
ภัณฑนสูตรที่ ๒ จบ
๓. โคตมกเจติยสูตร
ว่าด้วยพระธรรมเทศนาที่โคตมกเจดีย์
[๑๒๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์๑- เขตกรุงเวสาลี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรารู้ยิ่งแล้ว๒- จึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้ว ไม่แสดงธรรม เราแสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เมื่อเรานั้นรู้ยิ่งแล้วจึงแสดงธรรม ไม่รู้ยิ่งแล้วไม่แสดง ธรรม แสดงธรรมมีเหตุ ไม่ใช่แสดงธรรมไม่มีเหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่ใช่ แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ เธอทั้งหลายควรทำตามคำสั่งสอน ควรทำตามคำ พร่ำสอน ก็แลเธอทั้งหลายควรที่จะยินดี ควรที่จะชื่นชม ควรที่จะโสมนัสว่า “พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดี ต่างชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ สหัสสีโลกธาตุ๓- ได้หวั่นไหวสั่นสะเทือนแล้ว
โคตมกเจติยสูตรที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ โคตมกเจดีย์ หมายถึงที่อยู่ของยักษ์ชื่อว่าโคตมกะ (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๖/๒๖๕) @ รู้ยิ่งแล้ว ในที่นี้หมายถึงทรงรู้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ เหตุ ๙ ผัสสะ ๗ @เวทนา ๗ เจตนา ๗ สัญญา ๗ จิต ๗ และสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๒๖/๒๖๕) @ สหัสสีโลกธาตุ ในที่นี้หมายถึงโลกธาตุที่มี ๑,๐๐๐ จักรวาล (องฺ.ติก.อ. ๒/๘๑/๒๓๔) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๓๗๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๓๗๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=373&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=10611 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=10611#p373 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๗๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]