ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๑๐๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต [๓. ตติยปัณณาสก์] ๕. พาลวรรค

[๙๗] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ๑- ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๐) [๙๘] ธรรม ๒ อย่างนี้ ธรรม ๒ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ๒- ๒. ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ๓- ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล (๑๑)
ธัมมวรรคที่ ๔ จบ
๕. พาลวรรค
หมวดว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต
[๙๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ คนพาล ๒ จำพวกไหนบ้าง คือ ๑. คนที่ทำหน้าที่ซึ่งยังมาไม่ถึง ๒. คนที่ไม่ทำหน้าที่ซึ่งมาถึงแล้ว คนพาล ๒ จำพวกนี้แล (๑) @เชิงอรรถ : @ ธาตุ หมายถึงสิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เองตามที่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ไม่มีผู้สร้างผู้บันดาล มี ๑๘ คือ @จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ @ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ @มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ (อภิ.วิ. ๓๕/๑๘๔/๑๐๒, วิสุทฺธิ. ๓/๖๕) @ อาบัติ ในที่นี้หมายถึงกองอาบัติ ๕ ที่มาในมาติกา คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ @และกองอาบัติ ๗ ที่มาในวิภังค์ คือ ปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต @(องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๘/๖๓, วิ.อ. ๓/๒๗๑/๔๓๕) @ ฉลาดในการออกจากอาบัติ หมายถึงการรู้วิธีออกจากอาบัติ ๒ วิธี คือ (๑) เทสนาวิธี ได้แก่ วิธีแสดง @อาบัติหรือปลงอาบัติ (ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต) (๒) กัมมวาจาวิธี @หรือ วุฏฐานวิธี ได้แก่ วิธีปฏิบัติสำหรับผู้จะเปลื้องตนออกจากอาบัติสังฆาทิเสส มี ๔ อย่าง คือ ปริวาส @มานัต อัพภาน และปฏิกัสสนา (องฺ.ทุก.อ. ๒/๙๘/๖๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๐ หน้า : ๑๐๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๑๐๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=20&page=109&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=2972 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=20&A=2972#p109 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 20 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_20 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu20 https://84000.org/tipitaka/english/?index_20



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]