ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๗๓๖-๗๓๗.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๘. อธิกรณสมถะ]

                                                                 บทสรุป

๘. อธิกรณสมถะ
ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ (ธรรมเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ ๗ อย่าง คือ) [๖๕๕] เพื่อระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้วๆ (๑) พึงให้สัมมุขาวินัย๑- (๒) พึงให้ สติวินัย๒- (๓) พึงให้อมูฬหวินัย๓- (๔) พึงให้ปฏิญญาตกรณะ๔- (๕) พึงให้เยภุยยสิกา๕- (๖) พึงให้ตัสสปาปิยสิกา๖- (๗) พึงให้ติณวัตถารกะ๗-
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ อย่าง ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคืออธิกรณสมถะเหล่านั้นว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออธิกรณสมถะ ๗ เหล่านี้ เพราะเหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
อธิกรณสมถะ จบ
@เชิงอรรถ : @ สัมมุขาวินัย คือวิธีตัดสินที่พึงทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ธรรม และวัตถุ @ สติวินัย คือวิธีตัดสินที่ยกสติขึ้นเป็นหลัก @ อมูฬหวินัย คือวิธีตัดสินที่ให้แก่ภิกษุผู้หายเป็นบ้าแล้ว @ ปฏิญญาตกรณะ คือวิธีตัดสินโดยปรับโทษตามคำสารภาพ @ เยภุยยสิกา คือวิธีตัดสินโดยอาศัยเสียงข้างมาก @ ตัสสปาปิยสิกา คือวิธีตัดสินโดยปรับโทษแก่ผู้ทำความผิด @ ติณวัตถารกะ คือวิธีตัดสินโดยวิธียอมความ ตามศัพท์แปลว่า ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า @(นัย วิ.จู. ๖/๑๘๕-๒๑๓/๒๑๘-๒๔๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๓๖}

                                                                 คำนิคม

คำนิคม
ท่านทั้งหลาย นิทาน ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ธรรม คือ ปาราชิก ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ธรรม คือ สังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ธรรม คือ อนิยต ๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ธรรม คือ ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ธรรม คือ เสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ธรรม คือ อธิกรณสมถะ ๗ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคนั้นมีเท่านี้ มาในสูตร๑- นับเนื่องในสูตร มาสู่วาระ ที่จะพึงยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน พวกเราทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระสูตรนั้นเทอญ
มหาวิภังค์ จบ
@เชิงอรรถ : @ คำว่า “พระสูตร” หมายถึงพระปาติโมกข์นั่นเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๓๗}
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ วินัยปิฎกที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ จบ

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๗๓๖-๗๓๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=736&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=18297 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=18297#p736 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๗๓๖-๗๓๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]