ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๕๑๓.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๗. สัปปาณกวรรค ๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท นิทานวัตถุ

๗. สัปปาณกวรรค
๕. อูนวีสติวัสสสิกขาบท
ว่าด้วยการอุปสมบทให้บุคคลมีอายุหย่อนกว่า ๒๐ ปี
เรื่องเด็กชายอุบาลี๑-
[๔๐๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีเด็กชายผู้เป็นเพื่อนกัน ๑๗ คน เด็กชายอุบาลีเป็นหัวหน้าของเด็กเหล่านั้น ทีนั้น มารดาบิดาของเด็กชาย อุบาลีได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบายและไม่ ลำบากด้วยวิธีใดหนอ” ลำดับนั้น มารดาบิดาของเด็กชายอุบาลีได้ปรึกษากันอีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะ อยู่สุขสบายและไม่ลำบาก” แต่ก็วิตกไปว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนเขียนหนังสือ นิ้วมือจะ ระบม ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลี จะอยู่สุขสบายและไม่ลำบาก” และวิตกอีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาคำนวณก็จะแน่น หน้าอก ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชาเกี่ยวกับการเงิน๒- ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับ ไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบายและไม่ลำบาก” แต่ก็วิตกอีกว่า “ถ้าเจ้าอุบาลีเรียนวิชา เกี่ยวกับการเงิน นัยน์ตาของเขาจะปวด พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มี ลักษณะนิสัยดี ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี นอนในห้องมิดชิด ถ้าเจ้าอุบาลี ได้บวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อพวกเราล่วงลับไป เจ้าอุบาลีจะอยู่สุขสบายและไม่ลำบาก”
เด็กชายอุบาลีออกบวช
เด็กชายอุบาลีได้ยินคำสนทนาของมารดาบิดา ครั้นแล้วเด็กชายอุบาลีจึงได้ไป หาพวกเด็กๆ ถึงที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับพวกเด็กๆ เหล่านั้นดังนี้ว่า “เพื่อน ทั้งหลาย มาเถิด พวกเราจะไปบวชในสำนักพระสมณะเชื้อสายศากยบุตร” @เชิงอรรถ : @ วิ.ม. ๔/๙๙/๑๑๑-๑๑๓ @ เป็นวิชาการทำบัญชี แลกเปลี่ยนเงินตรา เป็นเหรัญญิก (วิ.อ. ๒/๔๐๒/๔๑๕, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๔๐๒/๑๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕๑๓}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๕๑๓. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=513&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=12966 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=12966#p513 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๑๓.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]