ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๓๙๕-๔๐๙.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

เดนภิกษุผู้เป็นไข้และภิกษุผู้ไม่เป็นไข้ ภิกษุทั้งหลายพึงทำภัตตาหารให้เป็นเดนด้วย การกล่าวอย่างนี้ว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบท นี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๒๓๘] อนึ่ง ภิกษุใดฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉันที่ไม่เป็นเดน๑- ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภัตตาหารที่เป็นเดน จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๙] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ฉันแล้ว คือ ภิกษุฉันโภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ ฉันด้วยปลายหญ้าคาแตะ
ลักษณะการบอกห้ามภัตตาหาร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหาร คือ (๑) ภิกษุกำลังฉัน (๒) ทายกนำโภชนะมา ถวาย (๓) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (๔) ภิกษุบอกห้าม @เชิงอรรถ : @ อนติริตฺตํ โภชนะที่ไม่เป็นเดน, โภชนะที่ไม่เหลือเฟือ, โภชนะที่ยังมิได้ทำอติเรกวินัย คือพระวินัยธรยังมิ @ได้ทำให้เป็นเดนว่า “อลเมตํ สพฺพํ ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (วิ.อ. ๒/๓๖๖, วชิร.ฏีกา ๔๐๘), อติเรโก โหตีติ @อติริตฺโต โหติ อติริตฺต ที่เป็นเดน หมายถึงเหลือเฟือ (ปฏิสํ.อ. ๒/๓๐๗) อนติริตฺต ที่ไม่เป็นเดน จึง @หมายถึงไม่เหลือเฟือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ของที่ไม่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่ไม่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ภิกษุยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ (๒) ของ ที่ภิกษุยังมิได้รับประเคน (๓) ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ (๔) ของที่อยู่นอก หัตถบาส (๕) ของที่ภิกษุยังมิได้ฉัน (๖) ของที่ภิกษุฉันแล้วบอกห้าม ลุกจาก อาสนะแล้ว (๗) ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของไม่เป็น เดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่ไม่เป็นเดน
ของที่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ภิกษุทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว (๒) ของที่ภิกษุ รับประเคนแล้ว (๓) ของที่ภิกษุยกขึ้นส่งให้แล้ว (๔) ของที่อยู่ในหัตถบาส (๕) ของ ที่ภิกษุฉันแล้ว (๖) ของที่ภิกษุฉันแล้วบอกห้าม แต่ยังไม่ลุกจากอาสนะ (๗) ของที่ ภิกษุกล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของเป็นเดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่เป็นเดน ของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ๑- ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว @เชิงอรรถ : @ ยามกาลิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้วฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่งก่อนอรุณของวันใหม่ คือ น้ำปานะ ได้แก่ @น้ำคั้นผลไม้ที่ทรงอนุญาต ๘ อย่าง คือ (๑) อัมพปานะ น้ำมะม่วง (๒) ชัมพุปานะ น้ำหว้า (๓) โจจปานะ @น้ำกล้วยมีเมล็ด (๔) โมจปานะ น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด (๕) มธุกปานะ น้ำมะทราง (๖) มุททิกปานะ น้ำผล @จันทน์หรือน้ำองุ่น (๗) สาลูกปานะ น้ำเหง้าบัว (๘) ผารุสกปาน น้ำผลมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่ และน้ำผลไม้ @ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ดข้าวเปลือก, น้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง, น้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอกมะทราง, @น้ำอ้อยสด ฉันได้ (วิ.ม. ๕/๓๐๐/๘๔, วิ.อ. ๒/๒๕๕-๒๕๖/๓๗๘) @สัตตาหกาลิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายใน ๗ วัน คือ เภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ (๑) สัปปิ เนยใส @(๒) นวนีตะ เนยข้น (๓) เตละ น้ำมัน (๔) มธุ น้ำผึ้ง (๕) ผาณิต น้ำอ้อย (วิ.ม. ๕/๒๖๐/๒๗) @ยาวชีวิก ของที่ภิกษุรับประเคนไว้แล้ว ฉันได้ตลอดไป ไม่จำกัดเวลา คือ ของที่ใช้ปรุงเป็นยา ได้แก่ @หลิททะ ขมิ้น, สิงคิเวระ ขิง, วจะ ว่านน้ำ, วจัตถะ ว่านเปราะ, อติวิสะ อุตพิด, กฏุกโรหิณี ข่า, อุสีระ @แฝก, ภัททมุตตกะ แห้วหมู เป็นต้น (วิ.ม. ๕/๒๖๓/๒๙) ดูเชิงอรรถ ข้อ ๒๕๖ หน้า ๔๐๙ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท อนาปัตติวาร

ของฉัน
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๔๐] ของที่ไม่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่ไม่เป็นเดน เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ของที่ไม่เป็นเดน ภิกษุไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ของที่ไม่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่เป็นเดน เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉัน ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน ของที่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่ไม่เป็นเดน ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เป็นเดน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ของที่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นของที่เป็นเดน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๔๑] ๑. ภิกษุให้ทำเป็นของที่เป็นเดนแล้วฉัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท อนาปัตติวาร

๒. ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า จะให้ทำเป็นของที่เป็นเดนก่อนจึงฉัน ๓. ภิกษุรับไปเพื่อภิกษุอื่น ๔. ภิกษุฉันภัตตาหารที่เหลือของภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุฉันของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมีเหตุผลที่สมควร ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
ปฐมปวารณาสิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. โภชนวรรค
๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
ว่าด้วยการบอกห้ามภัตตาหารข้อที่ ๒
เรื่องภิกษุ ๒ รูป
[๒๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปกรุง สาวัตถี แคว้นโกศล ภิกษุรูปหนึ่งประพฤติอนาจาร ภิกษุผู้เป็นเพื่อนได้กล่าวกับ ภิกษุรูปนั้นดังนี้ว่า “ท่านอย่าได้กระทำอย่างนี้ การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร” ภิกษุรูปนั้นแค้นเคืองภิกษุผู้เป็นเพื่อนนั้น ครั้นภิกษุเหล่านั้นถึงกรุงสาวัตถี ครั้ง นั้น มีสังฆภัตของสมาคมหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเพื่อนฉันแล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ภิกษุรูปที่แค้นเคืองไปตระกูลญาตินำบิณฑบาตมา แล้วเข้าไปหาภิกษุผู้เป็นเพื่อนถึง ที่พัก ครั้นถึงแล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “เชิญท่านฉันเถิด ขอรับ” ภิกษุผู้เป็นเพื่อนปฏิเสธว่า “ไม่ล่ะขอรับ กระผมบริบูรณ์แล้ว” ภิกษุผู้แค้นเคืองนั้นรบเร้าว่า “บิณฑบาตอร่อย ฉันเถิด ขอรับ” ครั้นภิกษุผู้เป็นเพื่อนถูกรบเร้าจึงฉันบิณฑบาตนั้น ภิกษุผู้แค้นเคืองได้กล่าวกับภิกษุนั้นดังนี้ว่า “ท่านเข้าใจว่ากระผมเป็นผู้ที่ควร ว่ากล่าว ท่านเองฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้วก็ยังฉันโภชนะที่ไม่เป็นเดนอีก” ภิกษุผู้เป็นเพื่อนกล่าวว่า “ท่านควรบอกเรื่องนี้มิใช่หรือ” ภิกษุผู้แค้นเคืองกล่าวว่า “ท่านควรถามก่อนมิใช่หรือ” ต่อมา ภิกษุนั้นได้แจ้งเรื่องนี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุจึงนำโภชนะที่ไม่เป็นเดนไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๙๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ปวารณาภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้วเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุ นั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่า เธอนำโภชนะที่ไม่เป็นเดนไปปวารณาภิกษุผู้ ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนำโภชนะที่ไม่เป็น เดนไปปวารณาภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้วเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่าง นี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๒๔๓] ก็ ภิกษุใดรู้อยู่ แต่ต้องการจะจับผิด นำของเคี้ยวหรือของฉันที่ ไม่เป็นเดนไปปวารณา ภิกษุผู้ฉันแล้วบอกห้ามภัตตาหารแล้ว โดยกล่าว รบเร้าว่า “นิมนต์เถิดขอรับ ท่านจงเคี้ยวหรือจงฉันก็ได้” เมื่อเธอฉันแล้ว ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๔๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ภิกษุ หมายถึง ภิกษุรูปอื่น ที่ชื่อว่า ฉันแล้ว คือ ภิกษุฉันโภชนะ ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งโดยที่สุดแม้ ฉันด้วยปลายหญ้าคาแตะ๑-
ลักษณะห้ามภัตร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหาร คือ (๑) ภิกษุกำลังฉัน (๒) ทายกนำโภชนะมา ถวาย (๓) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (๔) ภิกษุบอกห้าม
ของที่ไม่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า ที่ไม่เป็นเดน คือ (๑) ของที่ยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ (๒) ของที่ภิกษุ ยังมิได้รับประเคน (๓) ของที่ภิกษุยังมิได้ยกขึ้นส่งให้ (๔) ของที่อยู่นอกหัตถบาส (๕) ของที่ภิกษุยังมิได้ลงมือฉัน (๖) ของที่ภิกษุลงมือฉันแล้วบอกห้าม ลุกจาก อาสนะแล้ว (๗) ของที่ภิกษุยังมิได้กล่าวว่า “ทั้งหมดนั่นพอแล้ว” (๘) ของไม่เป็น เดนภิกษุเป็นไข้ นี้ชื่อว่าที่ไม่เป็นเดน
ของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และ ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ของฉัน
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ คำว่า นำมาปวารณา คือ นำมาปวารณาว่า “ท่านโปรดรับตามต้องการ” ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ ภิกษุรู้เอง คนเหล่าอื่นบอกท่าน หรือคนนั้นบอก @เชิงอรรถ : @ ฉันด้วยปลายหญ้าคาแตะ คือเกลี่ยอาหารที่ได้มาในภาชนะใบเดียวกันคลุกเคล้าให้เข้ากันจนเป็นรส @เดียวกันแล้วเอาปลายหญ้าคาแตะเพียงหยดเดียวแล้ววางที่ปลายลิ้น กลืนกิน (วิ.อ. ๒/๒๖๐/๓๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า ต้องการจะจับผิด คือ ภิกษุเพ่งเล็งว่า เราจะท้วง เราจะเตือน เราจะทักท้วง เราจะตักเตือน เราจะทำภิกษุนี้ให้เก้อเขินด้วยวิธีนี้ นำไป ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุนั้นด้วยตั้งใจว่า จะฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุผู้รับฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน เมื่อภิกษุผู้รับนั้นฉันเสร็จ ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๒๔๕] บอกห้ามภัตตาหารแล้วภิกษุสำคัญว่าบอกห้ามภัตตาหารแล้ว นำ ของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ นำของเคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไป ปวารณา ต้องอาบัติทุกกฏ บอกห้ามภัตตาหารแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้บอกห้ามภัตตาหารนำของ เคี้ยวหรือของฉันที่ไม่เป็นเดนไปปวารณา ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุนำยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไปเป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุผู้นำไปนั้นด้วยตั้งใจว่า จะฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้อง อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน ยังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ภิกษุสำคัญว่าบอกห้ามภัตตาหารแล้ว ต้องอาบัติ ทุกกฏ ยังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ยังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้บอกห้ามภัตตาหาร ไม่ต้อง อาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๔๖] ๑. ภิกษุให้ทำเป็นของที่เป็นเดนแล้วให้ ๒. ภิกษุให้ด้วยกล่าวว่า ท่านจงให้ทำเป็นของที่เป็นเดนก่อนจึงฉัน ๓. ภิกษุให้ด้วยกล่าวว่า ท่านจงนำไปเพื่อภิกษุอื่น ๔. ภิกษุให้ภัตตาหารที่เหลือของภิกษุเป็นไข้ ๕. ภิกษุให้ของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ด้วยกล่าวว่า ท่านจงฉันเมื่อมีเหตุสมควร ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๗. วิกาลโภชนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. โภชนวรรค
๗. วิกาลโภชนสิกขาบท
ว่าด้วยการฉันโภชนะในเวลาวิกาล
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๒๔๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์ มีมหรสพบนยอดเขา พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ได้ไปชมมหรสพ พวกชาวบ้านเห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ แล้วจึงนิมนต์ให้สรงน้ำ ให้ลูบไล้ของหอม ให้ฉันภัตตาหารแล้วถวายของเคี้ยวพวก ภิกษุสัตตรสวัคคีย์นำของเคี้ยวไปอาราม แล้วได้กล่าวกับพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ดังนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย นิมนต์พวกท่านรับแล้วจงฉันของเคี้ยวเถิด ขอรับ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถามว่า “พวกท่านได้ของเคี้ยวมาจากไหน” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์จึงแจ้งเรื่องนั้นให้พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถามว่า “พวกท่านฉันอาหารในเวลาวิกาลหรือ” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ใช่ ขอรับ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุ สัตตรสวัคคีย์จึงฉันภัตตาหารในเวลาวิกาลเล่า” แล้วพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงแจ้งเรื่อง นี้ให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์จึงฉันภัตตาหารในเวลาวิกาลเล่า” ครั้น ภิกษุทั้งหลายตำหนิพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอฉันภัตตาหาร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๗. วิกาลโภชนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ในเวลาวิกาล จริงหรือ” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงฉัน ภัตตาหารในเวลาวิกาลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว จึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๒๔๘] ก็ ภิกษุใดเคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉันในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๔๙] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล หมายเอาเวลาเมื่อเที่ยงวันล่วงไปจนถึงอรุณขึ้น ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๗. วิกาลโภชนสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๕๐] เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นวิกาล เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เวลาวิกาล ภิกษุไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นกาล เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไว้เป็นอาหาร ต้องอาบัติ ทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน กาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นวิกาล ต้องอาบัติทุกกฏ กาล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กาล ภิกษุสำคัญว่าเป็นกาล ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๕๑] ๑. ภิกษุฉันของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก เมื่อมี เหตุผลที่สมควร ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
วิกาลโภชนสิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๘. สันนิธิการกสิกขาบท นิทานวัตถุ

๔. โภชนวรรค
๘. สันนิธิการกสิกขาบท
ว่าด้วยการสะสมโภชนะ
เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะ
[๒๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระเวฬัฏฐสีสะ พระอุปัชฌาย์ ของท่านพระอานนท์อยู่ในป่า ท่านเที่ยวบิณฑบาตได้มากมาย เอาข้าวสุกเปล่าไป ตากแห้งเก็บไว้ที่อาราม คราวที่ต้องการภัตตาหารก็นำมาแช่น้ำแล้วฉัน นานๆ จึง จะเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกับท่านพระเวฬัฏฐสีสะดังนี้ว่า “ท่าน ทำไมนานๆ ท่านจึงเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน” ลำดับนั้น ท่านพระเวฬัฏฐสีสะจึงแจ้งเรื่องนั้นให้ ภิกษุทั้งหลายทราบ ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่าน ท่านฉันอาหารที่เก็บสะสมไว้หรือ” ท่านตอบว่า “ใช่ ขอรับ” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า“ไฉนท่าน พระเวฬัฏฐสีสะจึงฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระ เวฬัฏฐสีสะโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรง สอบถามท่านพระเวฬัฏฐสีสะว่า “เวฬัฏฐสีสะ ทราบว่า เธอฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้ จริงหรือ” พระเถระทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ เวฬัฏฐสีสะ ไฉนเธอจึงฉันโภชนะที่เก็บสะสมไว้เล่า เวฬัฏฐสีสะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๘. สันนิธิการกสิกขาบท บทภาชนีย์

การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๒๕๓] ก็ ภิกษุใดเคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉันที่เก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๕๔] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ของที่เก็บสะสมไว้ คือ ของที่ภิกษุรับประเคนในวันนี้แล้วฉันในวันอื่น ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ ๕ ยามกาลิก สัตตาหกาลิก และยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมกุมมาส ข้าวตู ปลา เนื้อ ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำกลืน
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๒๕๕] ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของเก็บสะสมไว้ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๔. โภชนวรรค ๘. สันนิธิการกสิกขาบท อนาปัตติวาร

ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ของเก็บสะสมไว้ เคี้ยวของเคี้ยวหรือฉัน ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไว้เป็นอาหาร ต้องอาบัติ ทุกกฏ ภิกษุฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของเก็บสะสมไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ มิใช่ของเก็บสะสมไว้ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่เป็นของเก็บสะสมไว้ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๒๕๖] ๑. ภิกษุเก็บของที่เป็นยาวกาลิกไว้ฉันชั่วกาล ๒. ภิกษุเก็บของที่เป็นยามกาลิกไว้ฉันชั่วยาม๑- ๓. ภิกษุเก็บของที่เป็นสัตตาหกาลิกไว้ฉันชั่วสัปดาห์ ๔. ภิกษุฉันของที่เป็นยาวชีวิกเมื่อมีเหตุผลสมควร ๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
สันนิธิการกสิกขาบทที่ ๘ จบ
@เชิงอรรถ : @ ชั่วกาล คือชั่วเวลาเที่ยงวัน, ชั่วยาม คือชั่วปัจฉิมยาม (วิ.อ. ๒/๒๕๖/๓๗๘, ดูเชิงอรรถ ข้อ ๒๓๙ หน้า ๓๙๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๐๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๙๕-๔๐๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=395&pages=15&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=10091 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=10091#p395 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๙๕-๔๐๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]