ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๒๐๕-๒๑๔.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

อุปสัมบันกล่าวเสียดสีอุปสัมบัน
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๑๖] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นคนจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจักสาน กับอุปสัมบันผู้ เป็นนายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่าน เป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่าน เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดต่ำ คือ กล่าว กับอุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านเป็นคนจัณฑาล ท่านเป็นคนจักสาน ท่านเป็นนายพราน ท่านเป็นช่างรถ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าว กับอุปสัมบันผู้เป็นจัณฑาล กับอุปสัมบันผู้เป็นคนจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็น นายพราน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างรถ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่านกษัตริย์ ท่านพราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันชาติกำเนิดสูงด้วย(คำบ่งถึง)ชาติกำเนิดสูง คือ กล่าวกับ อุปสัมบันผู้เป็นกษัตริย์ กับอุปสัมบันผู้เป็นพราหมณ์ว่า “ท่านกษัตริย์ ท่าน พราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๐๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่เลว
[๑๗] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อเลวด้วยชื่อที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน ชื่ออวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อชวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อธนิฏฐกะ กับอุปสัมบัน ชื่อสวิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อกุลวัฑฒกะว่า “ท่านอวกัณณกะ ท่านชวกัณณกะ ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่ดีด้วยชื่อที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต กับอุปสัมบันชื่อธัมมรักขิต กับอุปสัมบันชื่อสังฆรักขิตว่า “ท่านอวกัณณกะ ท่าน ชวกัณณกะ ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่ดี
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่เลวด้วยชื่อที่ดี คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่ออวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อชวกัณณกะ กับอุปสัมบันชื่อธนิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อสวิฏฐกะ กับอุปสัมบันชื่อกุลวัฑฒกะว่า “ท่านพุทธรักขิต ท่านธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีชื่อที่ดีด้วยชื่อที่ดี คือ กล่าวกับอุปสัมบันชื่อพุทธรักขิต กับอุปสัมบันชื่อธัมมรักขิต กับอุปสัมบันชื่อสังฆรักขิตว่า “ท่านพุทธรักขิต ท่าน ธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๓. กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นต่ำ
[๑๘] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นต่ำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๐๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

คือ กล่าวกับอุปสัมบันตระกูลโกสิยะ กับอุปสัมบันตระกูลภารทวาชะว่า “ท่านเป็น คนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคนตระกูลภารทวาชะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันตระกูลชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นต่ำ คือ กล่าวกับ อุปสัมบันตระกูลโคตมะ กับอุปสัมบันตระกูลโมคคัลลานะ กับอุปสัมบันตระกูล กัจจายนะ กับอุปสัมบันตระกูลวาเสฏฐะว่า “ท่านเป็นคนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคน ตระกูลภารทวาชะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นสูง คือ กล่าว กับอุปสัมบันตระกูลโกสิยะ กับอุปสัมบันตระกูลภารทวาชะว่า “ท่านเป็นคนตระกูล โคตมะ ท่านเป็นคนตระกูลโมคคัลลานะ ท่านเป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคน ตระกูลวาเสฏฐะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีตระกูลชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ตระกูลชั้นสูง คือ กล่าว กับอุปสัมบันตระกูลโคตมะ กับอุปสัมบันตระกูลโมคคัลลานะ กับอุปสัมบันตระกูล กัจจายนะ กับอุปสัมบันตระกูลวาเสฏฐะว่า “ท่านเป็นคนตระกูลโคตมะ ท่านเป็นคน ตระกูลโมคคัลลานะ ท่านเป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคนตระกูลวาเสฏฐะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๔. กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
[๑๙] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่ การงานชั้นต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างถากไม้ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะ ว่า “ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๐๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงาน ชั้นต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นชาวนา กับอุปสัมบันผู้เป็นพ่อค้า กับอุปสัมบัน ผู้เป็นคนเลี้ยงโคว่า “ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงานชั้น สูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างถากไม้ กับอุปสัมบันผู้เป็นคนเทขยะว่า “ท่าน เป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีหน้าที่การงานชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)หน้าที่การงานชั้น สูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นชาวนา กับอุปสัมบันผู้เป็นพ่อค้า กับอุปสัมบันผู้ เป็นคนเลี้ยงโคว่า “ท่านเป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๕. กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
[๒๐] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้น ต่ำ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหม้อ กับ อุปสัมบันผู้เป็นช่างหูก กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหนัง กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างกัลบกว่า “ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็นช่างหนัง ท่านเป็น ช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นต่ำ คือ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๐๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างนับ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักคำนวณ กับอุปสัมบันผู้เป็น นักเขียนว่า “ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็น ช่างหนัง ท่านเป็นช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นต่ำด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นช่างจักสาน กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหม้อ กับอุปสัมบันผู้เป็น ช่างหูก กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างหนัง กับอุปสัมบันผู้เป็นช่างกัลบกว่า “ท่านเป็นช่าง นับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาทต้องการจะทำให้อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีศิลปวิทยาชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)ศิลปวิทยาชั้นสูง คือ กล่าวกับ อุปสัมบันผู้เป็นช่างนับ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักคำนวณ กับอุปสัมบันผู้เป็นนักเขียน ว่า “ท่านเป็นช่างนับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด
๖. กล่าวเสียดสีด้วยความเจ็บไข้
[๒๑] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคฝี กับอุปสัมบันผู้เป็นโรค กลาก กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคมองคร่อ กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคลมบ้าหมูว่า “ท่าน เป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่านเป็นโรคมองคร่อ ท่านเป็นโรค ลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบันเก้อ เขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน ผู้เป็นโรคเบาหวานว่า “ท่านเป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่าน เป็นโรคมองคร่อ ท่านเป็นโรคลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๐๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่ดี คือ กล่าวกับ อุปสัมบันผู้เป็นโรคเรื้อน กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคฝี กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคกลาก กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคมองคร่อ กับอุปสัมบันผู้เป็นโรคลมบ้าหมูว่า “ท่านเป็นโรค เบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโรคที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)โรคที่ดี คือ กล่าวกับ อุปสัมบันผู้เป็นโรคเบาหวานว่า “ท่านเป็นโรคเบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด
๗. กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
[๒๒] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ดำเกินไป กับอุปสัมบันผู้ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็น คนดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่เลว คือ กล่าว กับอุปสัมบันผู้ไม่สูงนัก กับอุปสัมบันผู้ไม่เตี้ยนัก กับอุปสัมบันผู้ไม่ดำนัก กับ อุปสัมบันผู้ไม่ขาวนักว่า “ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็นคน ดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่ดี คือ กล่าว กับอุปสัมบันผู้สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ดำเกินไป กับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๑๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

อุปสัมบันผู้ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนักท่านเป็นคนไม่ดำนัก ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีรูปลักษณ์ที่ดีด้วย(คำบ่งถึง)รูปลักษณ์ที่ดี คือ กล่าวกับ อุปสัมบันผู้ไม่สูงเกินไป กับอุปสัมบันผู้ไม่เตี้ยเกินไป กับอุปสัมบันผู้ไม่ดำเกินไป กับ อุปสัมบันผู้ไม่ขาวเกินไปว่า “ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนัก ท่านเป็น คนไม่ดำนัก ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๘. กล่าวเสียดสีด้วยกิเลส
[๒๓] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีกิเลสที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)กิเลสที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ ถูกโมหะกลุ้มรุมว่า “ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่าน เป็นผู้ถูกโมหะกลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีภาวะไร้กิเลสด้วย(คำบ่งถึง)กิเลสที่เลว คือ กล่าวกับ อุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจากโทสะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจาก โมหะว่า “ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโมหะ กลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีกิเลสที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)ภาวะไร้กิเลส คือ กล่าวกับ อุปสัมบันผู้ถูกราคะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม กับอุปสัมบันผู้ถูกโมหะ กลุ้มรุมว่า “ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็นผู้ปราศ จากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีภาวะไร้กิเลสด้วย(คำบ่งถึง)ภาวะไร้กิเลส คือ กล่าว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๑๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

กับอุปสัมบันผู้ปราศจากราคะ กับอุปสัมบันผู้ปราศจากโทสะ กับอุปสัมบันผู้ ปราศจากโมหะว่า “ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็น ผู้ปราศจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๙. กล่าวเสียดสีด้วยอาบัติ
[๒๔] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันที่เลวด้วยเรื่องที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้ ต้องอาบัติปาราชิก กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุกกฏ กับอุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุพภาสิตว่า “ท่านต้อง อาบัติปาราชิก ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านต้องอาบัติถุลลัจจัย ท่านต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ท่านต้องอาบัติทุกกฏ ท่านต้องอาบัติ ทุพภาสิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณธรรมสูงด้วยเรื่องที่เลว คือ กล่าวกับอุปสัมบัน ผู้เป็นโสดาบันว่า “ท่านต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันที่เลวด้วย(คำบ่งถึง)คุณธรรมสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบัน ผู้ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ อุปสัมบันผู้ต้องอาบัติทุพภาสิตว่า “ท่านเป็นโสดาบัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณธรรมชั้นสูงด้วย(คำบ่งถึง)คุณธรรมชั้นสูง คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้เป็นโสดาบันว่า “ท่านเป็นโสดาบัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๑๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

๑๐. กล่าวเสียดสีด้วยคำด่าหยาบ
[๒๕] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันมีความประพฤติเลวด้วยคำด่าที่หยาบ คือ กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังแพะ กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังโค กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังลา กับ อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์ นรกว่า “ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติชั้นสูงด้วยคำด่าที่หยาบ คือ กล่าวกับ อุปสัมบันผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับ อุปสัมบันผู้เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้เพียงทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีประชดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติเลวด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับ อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังอูฐ กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังแพะ กับ อุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังโค กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังลา กับอุปสัมบัน ผู้มีความประพฤติดังสัตว์ดิรัจฉาน กับอุปสัมบันผู้มีความประพฤติดังสัตว์นรกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็น ธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวกับอุปสัมบันผู้มีคุณสมบัติสูงด้วยคำด่าสุภาพ คือ กล่าวกับอุปสัมบัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๑๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

ผู้เป็นบัณฑิต กับอุปสัมบันผู้ฉลาด กับอุปสัมบันผู้เป็นนักปราชญ์ กับอุปสัมบันผู้ เป็นพหูสูต กับอุปสัมบันผู้เป็นธรรมกถึกว่า “ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่ สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๑. กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๒๖] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นคน จัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติ ทุกกฏทุกๆ คำพูด
กล่าวเสียดสีด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้อุปสัมบัน เก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกเป็นกษัตริย์ เป็น พราหมณ์” ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำพูด
๒. กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่เลว
[๒๗] อุปสัมบันต้องการจะด่า ต้องการจะสบประมาท ต้องการจะทำให้ อุปสัมบันเก้อเขิน กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกชื่ออวกัณณกะ ชื่อชวกัณณกะ ชื่อธนิฏฐกะ ชื่อสวิฏฐกะ ชื่อกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำพูด ฯลฯ
กล่าวเสียดสีด้วยชื่อที่ดี
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกชื่อพุทธรักขิต ชื่อธัมม รักขิต ชื่อสังฆรักขิต” ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำพูด ฯลฯ
๓. กล่าวเสียดสีด้วยตระกูลชั้นต่ำ
กล่าวอย่างนี้ว่า “ในพระธรรมวินัยนี้ มีภิกษุบางพวกตระกูลโกสิยะ ตระกูล ภารทวาชะ ฯลฯ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๑๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๐๕-๒๑๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=205&pages=10&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=5258 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=5258#p205 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๕-๒๑๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]