ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๒๐๒.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

                                                                 ๑. มุสาวาทวรรค ๒. โอมสวาทสิกขาบท บทภาชนีย์

สิกขาบทวิภังค์
[๑๕] ที่ชื่อว่า กล่าวเสียดสี ได้แก่ ภิกษุกล่าวเสียดสีด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดบ้าง (๒) ชื่อบ้าง (๓) ตระกูลบ้าง (๔) หน้าที่การงานบ้าง (๕) ศิลปวิทยาบ้าง (๖) ความเจ็บไข้บ้าง (๗) รูปลักษณ์บ้าง (๘) กิเลสบ้าง (๙) อาบัติบ้าง (๑๐) คำด่าบ้าง
บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิด ได้แก่ ชาติกำเนิด ๒ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดต่ำ (๒) ชาติกำเนิดสูง ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดต่ำ ได้แก่ ชาติกำเนิดคนจัณฑาล ชาติกำเนิดคนจักสาน ชาติกำเนิดนายพราน ชาติกำเนิดช่างรถ ชาติกำเนิดคนเทขยะ๑- นี้จัดเป็นชาติกำเนิด ต่ำ ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดสูง ได้แก่ ชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ นี้ จัดเป็นชาติกำเนิดสูง ที่ชื่อว่า ชื่อ ได้แก่ ชื่อ ๒ อย่าง คือ (๑) ชื่อที่เลว (๒) ชื่อที่ดี ที่ชื่อว่า ชื่อที่เลว ได้แก่ ชื่ออวกัณณกะ ชื่อชวกัณณกะ ชื่อธนิฏฐกะ ชื่อสวิฏฐกะ ชื่อกุลวัฑฒกะ๒- อีกอย่างหนึ่ง ชื่อที่เขาเย้ยหยัน เหยียดหยาม เกลียดชัง ดูหมิ่น ไม่นับถือกันในท้องถิ่นนั้นๆ นี้จัดเป็นชื่อที่เลว @เชิงอรรถ : @ ปุกฺกุส คนเทขยะ ในโยชนาว่า “คนเทอุจจาระ” (ปุ วุจฺจติ กรีสํ, ตํ กุสติ อปเนตีติ ปุกฺกุโส, ปุปฺผํ @วุจฺจติ กรีสํ, กุสุมํ วา, ตํ ฉฑฺเฑตีติ ปุปฺผฉฑฺฑโก อุจจาระท่านเรียกว่า “ปุ” ผู้ที่นำปุ คืออุจจาระนั้นไปทิ้ง @ชื่อว่า ปุกกุสะ อุจจาระท่านเรียกว่า ปุปผะ(ดอกไม้) ผู้ที่ขนดอกไม้คืออุจจาระนั้นทิ้ง ชื่อว่า ปุปผฉัฑฑกะ @(ปาจิตฺยาทิโยนา ๔ ม.) @ในที่นี้ ปุกกุสศัพท์เป็นไวพจน์ของปุปผฉัฑฑกศัพท์ (ปุกฺกุสชาตีติ ปุปฺผฉฑฺฑกชาติ - วิ.อ. ๒/๑๕/๒๕๗) @จะแปลว่า “คนเทอุจจาระ” ก็ได้ @ ชื่อทั้ง ๕ นี้ คือ (๑) อวกัณณกะ (๒) ชวกัณณกะ (๓) ธนิฏฐกะ (๔) สวิฏฐกะ (๕) กุลวัฑฒกะ เป็นชื่อ @ของพวกทาสถือเป็นชื่อชั้นต่ำ เป็นชื่อที่เลว (วิ.อ. ๒/๑๕/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๐๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๐๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=202&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=5168 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=5168#p202 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๐๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]