ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๑๐-๑๑.


                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท พระบัญญัติ

เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ดังนี้แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๗๒] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๔๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้อยู่กรุงโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปสำนัก ของภิกษุนั้นให้แจ้งข่าวว่า “นิมนต์พระคุณท่านมาเถิด พวกเราจะอุปัฏฐาก” ภิกษุ ทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปเถิด พวกญาติจะอุปัฏฐากท่านเอง” ภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่ พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร’ กระผมเป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมจะไม่ไป” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้สมมติติจีวราวิปวาส
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร เพื่อ ภิกษุผู้เป็นไข้” ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้
วิธีสมมติติจีวราวิปวาส
ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นไข้ไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ ๒ พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ ๓ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๔๗๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ ไม่สามารถนำไตร จีวรไปได้เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรถ้าสงฆ์พร้อมกัน แล้วพึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้ เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้สมมติเพื่อไม่เป็น การอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สมมติเพื่อไม่ เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์ เห็นชอบ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วจึงรับสั่ง ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๔๗๕] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุ ได้รับสมมติ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๖] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุทำเสร็จ แล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้แล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามา เย็บเป็นจีวร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๐-๑๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=10&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=230 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=230#p10 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐-๑๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]