ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

หน้าที่ ๑-๒๕.


พระวินัยปิฎก
มหาวิภังค์ ภาค ๒
___________
ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๔. นิสสัคคิยกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระ ที่จะยกขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ
๑. จีวรวรรค
หมวดว่าด้วยจีวร
๑. ปฐมกฐินสิกขาบท
ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๕๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โคตมกเจดีย์ เขต กรุงเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้ทรงอนุญาตไตรจีวรเพื่อภิกษุทั้งหลายแล้ว พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทราบว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไตรจีวร๑- แล้ว จึงเข้าหมู่บ้าน @เชิงอรรถ : @ ไตรจีวร คือ อันตรวาสก (ผ้านุ่ง) อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าห่มซ้อนนอก) (วิ.อ. ๒/๔๕๙/๑๓๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท พระบัญญัติ

โดยครองไตรจีวร ๑ไตร อยู่ในอารามอีก ๑ ไตร สรงน้ำอีก ๑ ไตร บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงทรงอติเรกจีวร๑- เล่า” ครั้นภิกษุ เหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอทรงอติเรกจีวร จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาค พุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ไม่สมควร ไม่คล้อย ตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงทรงอติเรก จีวรเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใส ก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลายเป็นอื่นไป ฯลฯ” แล้วจึง รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๖๐] ก็ ภิกษุใดทรงอติเรกจีวร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์๒- สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
@เชิงอรรถ : @ อติเรกจีวร คือผ้าส่วนเกินที่เขาถวายภิกษุเพิ่มเข้ามาจากผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร @ ที่แปลว่า “ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์” นี้เป็นไปตามนัยอธิบายแห่งอรรถกถาว่า “นิสฺสคฺคิยํ ปาจิตฺติยํ, @ตญฺจ จีวรํ นิสฺสคฺคิยํ โหติ, ปาจิตฺติยาปตฺติ จสฺส โหติ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือจีวรเป็น @นิสสัคคีย์ต้องสละ ภิกษุรูปนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์” (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒, กงฺขา.อ. ๑๘๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

เรื่องพระอานนท์
[๔๖๑] สมัยนั้น อติเรกจีวรเกิดขึ้นแก่ท่านพระอานนท์ ท่านต้องการจะถวาย อติเรกจีวรนั้นแก่ท่านพระสารีบุตร แต่ท่านพระสารีบุตรอยู่ที่เมืองสาเกต ทีนั้น ท่าน พระอานนท์ได้มีความคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่ พึงทรงอติเรกจีวร’ ก็อติเรกจีวรนี้เกิดขึ้นแก่เรา เราต้องการจะถวายท่านพระสารีบุตร แต่ท่านอยู่ที่เมืองสาเกต เราพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระ ผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “อีกนานเพียงไร สารีบุตรจะกลับมา” พระอานนท์กราบทูลว่า “อีก ๙ หรือ ๑๐ วันจึงจะกลับมา พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงอนุญาตอติเรกจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ทรงอติเรกจีวรได้ ๑๐ วันเป็น อย่างมาก” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๔๖๒] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว๑- ภิกษุพึงทรง อติเรกจีวรไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์๒-
เรื่องพระอานนท์ จบ
@เชิงอรรถ : @ คำว่า “กฐินเดาะ” ในที่นี้ตามศัพท์แปลว่า รื้อไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงผ้า หมายถึงยกเลิกอานิสงส์ @กฐินที่ภิกษุพึงได้รับ (ดูเหตุให้กฐินเดาะ เชิงอรรถข้อ ๔๖๓ หน้า ๔) @ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ คืออาบัติปาจิตตีย์ที่ภิกษุผู้ต้องแล้วเมื่อจะแสดงเทสนาบัติ จะต้องทำการสละวัตถุ @ก่อน จึงจะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จากอาบัตินี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๔๖๓] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุเสร็จแล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้เสียแล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามาเย็บ เป็นจีวร คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใด อย่างหนึ่งในมาติกา ๘ ๑- หรือสงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง๒- คำว่า ๑๐ วันเป็นอย่างมาก คือ ครอบครองไว้ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างมาก ชื่อว่า อติเรกจีวร ได้แก่ จีวรที่ไม่ได้อธิษฐาน๓- ไม่ได้วิกัป๔- ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด๕ อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ @เชิงอรรถ : @ มาติกา คือหัวข้อแห่งการเดาะกฐิน ๘ ประการ คือ (๑) ปักกมนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุ @หลีกไป ไม่คิดจะกลับ (๒) นิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมาแล้วตัดเย็บ @จีวร ไม่คิดจะกลับ (๓) สันนิฏฐานันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมาแล้วตกลงใจ @จะไม่ตัดเย็บจีวร และไม่คิดจะกลับ (๔) นาสนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา @ตัดเย็บเป็นจีวร ไม่คิดจะกลับ ผ้าที่ตัดเย็บเป็นจีวรเสียหายไป (๕) สวนันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการ @ที่ภิกษุนำผ้าไปนอกสีมา คิดว่าจะกลับ ตัดเย็บจีวรเสร็จแล้วได้ฟังข่าวว่า กฐินในวัดของตนเดาะเสียแล้ว @(๖) อาสาวัจเฉทิกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุหลีกไปนอกสีมาด้วยหวังว่าจะได้ผ้า รอคอยผ้าจนหมด @หวัง (๗) สีมาติกกันติกา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่นอกสีมา คิดจะกลับ แต่ @อยู่นอกสีมาจนกระทั่งกฐินเดาะ (๘) สหุพภารา กฐินเดาะกำหนดด้วยการที่ภิกษุนำผ้าไปตัดเย็บจีวรอยู่ @นอกสีมาคิดว่า จะกลับ จะกลับ แต่สงฆ์ในวัดของตนพร้อมใจกันเดาะกฐินเสียก่อน (วิ.ม. ๕/๓๑๐/๙๕) @ สงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง คือสงฆ์กรานกฐินแล้ว ยังไม่พ้นเขตจีวรกาล มีทายกต้องการจะถวายอกาลจีวร @มาขอให้สงฆ์เดาะกฐิน คือยกเลิกอานิสงส์กฐินในระหว่างจีวรกาล (ก่อนหมดเขตอานิสงส์กฐิน) พระพุทธ @องค์ทรงอนุญาตให้เดาะกฐินได้ (วิ.ภิกฺขุนี. ๓/๙๒๕-๙๒๖/๑๒๑-๑๒๒) @ อธิษฐาน คือการตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ ได้แก่ ตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะเป็นของประจำตัวชนิด @นั้นๆ เช่น ไตรจีวร บาตร วิธีอธิษฐาน ใช้กายคือมือสัมผัส หรือเปล่งวาจาก็ได้ (วิ.ป. ๘/๓๒๒/๒๖๑, @วิ.อ. ๒/๔๖๙/๑๔๗) @ เรื่องเดียวกัน คำว่า วิกัป คือทำให้เป็นของสองเจ้าของ คือขอให้ภิกษุสามเณรรูปอื่นร่วมเป็นเจ้าของสิ่งที่ @วิกัปนั้น ทำให้ไม่ต้องอาบัติ แม้จะเก็บไว้เกินกำหนด @ จีวร ๖ ชนิด คือ โขมะ(จีวรผ้าเปลือกไม้) กัปปาสิกะ (จีวรผ้าฝ้าย) โกเสยยะ (จีวรผ้าไหม) กัมพละ (จีวร @ผ้าขนสัตว์) สาณะ (จีวรผ้าป่าน) ภังคะ (จีวรผ้าผสม) (วิ.อ. ๒/๔๖๒-๔๖๓/๑๔๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า ให้เกินกำหนดนั้นไป ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ความว่า เมื่อรุ่ง อรุณวันที่ ๑๑ จีวรผืนนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของกระผม เกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึง แสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ๑- พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า [๔๖๔] “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนจีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
[๔๖๕] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของกระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า [๔๖๖] “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ สละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” @เชิงอรรถ : @ คือรับการแสดงอาบัติ เพื่อให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติพ้นจากอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท บทภาชนีย์

สละแก่บุคคล
[๔๖๗] ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมเกินกำหนด ๑๐ วัน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๔๖๘] จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรเกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้สละ ภิกษุสำคัญว่าสละแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรที่ยังไม่ถูกโจรชิงเอาไป ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงเอาไปแล้ว ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร

ติกทุกกฏ
จีวรที่เป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่ได้สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่าเกินกำหนดแล้ว ใช้สอย ต้อง อาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่เกินกำหนด ๑๐ วัน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกินกำหนด ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๖๙] ๑. ภิกษุผู้อธิษฐานภายใน ๑๐ วัน ๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้ภายใน ๑๐ วัน ๓. ภิกษุผู้สละให้ไปภายใน ๑๐ วัน ๔. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหายภายใน ๑๐ วัน ๕. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหายภายใน ๑๐ วัน ๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้ภายใน ๑๐ วัน ๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไปภายใน ๑๐ วัน ๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะภายใน ๑๐ วัน ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ [๔๗๐] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้ บรรดาภิกษุ ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้เล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร

ทรงสอบถามแล้วอนุญาตให้คืนจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ทราบว่า พวกเธอไม่ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ไฉนพวกเธอจึงไม่ ยอมคืนจีวรที่มีผู้สละให้เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่ เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับ จะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะกลาย เป็นอื่นไป ฯลฯ” ดังนี้ แล้วทรงแสดงธรรมีกถาแก่ภิกษุทั้งหลายให้เหมาะสมกับ เรื่องนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย จีวรที่ภิกษุสละแก่สงฆ์ แก่ คณะหรือแก่บุคคล จะไม่คืนไม่ได้ ภิกษุใดไม่คืนให้ ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏ”
ปฐมกฐินสิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑. จีวรวรรค
๒. อุทโทสิตสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุเก็บจีวรไว้ในโรงเก็บของ
(ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๒)
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๔๗๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายฝากสังฆาฏิไว้กับ พวกภิกษุมีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบท สังฆาฏิเหล่านั้นเก็บ ไว้นานจึงขึ้นรา ภิกษุทั้งหลายจึงนำออกมาผึ่งแดด ท่านพระอานนท์เที่ยวไปตามเสนาสนะ เห็นภิกษุกำลังผึ่งสังฆาฏิอยู่จึงเข้าไป ถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ท่านทั้งหลาย สังฆาฏิที่ขึ้นราเหล่านี้เป็นของใคร” ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นบอกเรื่องนั้นให้พระอานนท์ทราบ ท่านพระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงฝาก สังฆาฏิไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบทเล่า” ครั้นท่านตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุฝากสังฆาฏิไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์กับอันตรวาสก ออกจาริกไปสู่ชนบท จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระ ผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกโมฆบุรุษเหล่านั้นจึง ฝากจีวรไว้กับพวกภิกษุ มีเพียงอุตตราสงค์และอันตรวาสกออกจาริกไปสู่ชนบทเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท พระบัญญัติ

เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ดังนี้แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลาย ยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๗๒] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๔๗๓] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้อยู่กรุงโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปสำนัก ของภิกษุนั้นให้แจ้งข่าวว่า “นิมนต์พระคุณท่านมาเถิด พวกเราจะอุปัฏฐาก” ภิกษุ ทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปเถิด พวกญาติจะอุปัฏฐากท่านเอง” ภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุไม่ พึงอยู่ปราศจากไตรจีวร’ กระผมเป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมจะไม่ไป” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้สมมติติจีวราวิปวาส
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร เพื่อ ภิกษุผู้เป็นไข้” ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติอย่างนี้
วิธีสมมติติจีวราวิปวาส
ภิกษุผู้เป็นไข้นั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมเป็นไข้ไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สามารถนำไตรจีวรไปได้ กระผมขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ ๒ พึงกล่าวขออย่างนี้เป็นครั้งที่ ๓ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๔๗๔] ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ ไม่สามารถนำไตร จีวรไปได้เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรถ้าสงฆ์พร้อมกัน แล้วพึงให้สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำไตรจีวรไปได้ เธอขอให้สงฆ์สมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้สมมติเพื่อไม่เป็น การอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สมมติเพื่อไม่ เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวรแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง การสมมติเพื่อไม่เป็นการอยู่ปราศจากไตรจีวร สงฆ์ให้แก่ภิกษุชื่อนี้แล้ว สงฆ์ เห็นชอบ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วจึงรับสั่ง ให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๔๗๕] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว ถ้าภิกษุอยู่ ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุ ได้รับสมมติ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๖] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุทำเสร็จ แล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้แล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามา เย็บเป็นจีวร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใดอย่าง หนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะภายในระหว่าง คำว่า ถ้าภิกษุอยู่ปราศจากไตรจีวรแม้สิ้นราตรีหนึ่ง ความว่า ภิกษุอยู่ ปราศจากสังฆาฏิ อุตตราสงค์หรืออันตรวาสกผืนใดผืนหนึ่ง แม้คืนเดียว คำว่า เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ คำว่า ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ คือ จีวรเป็นนิสสัคคีย์พร้อมกับอรุณขึ้น คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ของกระผม อยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้ แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้ ของกระผมอยู่ปราศแล้วล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผม สละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้ของกระผมอยู่ปราศแล้ว ล่วงราตรี เว้นจากได้รับการสมมติ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วพึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
มาติกา
[๔๗๗] หมู่บ้าน มีอุปจารเดียวกัน๑- หมู่บ้าน มีอุปจารแยกกัน เรือน มีอุปจารเดียวกัน เรือน มีอุปจารแยกกัน โรงเก็บของ มีอุปจารเดียวกัน โรงเก็บของ มีอุปจารแยกกัน ป้อม มีอุปจารเดียวกัน ป้อม มีอุปจารแยกกัน เรือนยอดเดียว มีอุปจารเดียวกัน เรือนยอดเดียว มีอุปจารแยกกัน ปราสาท มีอุปจารเดียวกัน ปราสาท มีอุปจารแยกกัน เรือนโล้น๒- มีอุปจารเดียวกัน เรือนโล้น มีอุปจารแยกกัน เรือ มีอุปจารเดียวกัน เรือ มีอุปจารแยกกัน หมู่เกวียน มีอุปจารเดียวกัน หมู่เกวียน มีอุปจารแยกกัน @เชิงอรรถ : @ คำว่า “อุปจาร” คือที่ใกล้เคียงกันบริเวณรอบๆ ชานเช่นอุปจารเรือนคือบริเวณรอบๆ เรือนซึ่ง @กำหนดจุดที่อยู่นอกบริเวณชายคาของตัวเรือนออกไปถึงจุดที่แม่บ้านยืนอยู่ที่ประตูเรือนสาดน้ำล้างภาชนะ @ออกไปตก (วิ.อ. ๑/๙๒/๓๒๒) @ หัมมิยะ เรือนโล้น ได้แก่ ปราสาทหลังคาโล้น มีเรือนยอดตั้งอยู่ที่ดาดฟ้า มีชานชมแสงจันทร์ @(วิ.อ. ๒/๔๘๒-๔๘๗/๑๕๙, วิ.อ. ๓/๒๙๔/๓๑๙, สารตฺถ.ฏีกา ๓/๗๑-๗๓/๒๘๕, วิมติ.ฏีกา ๒/๗๑-๗๓/๑๓๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์

นา มีอุปจารเดียวกัน นา มีอุปจารแยกกัน ลานนวดข้าว มีอุปจารเดียวกัน ลานนวดข้าว มีอุปจารแยกกัน สวน มีอุปจารเดียวกัน สวน มีอุปจารแยกกัน วิหาร มีอุปจารเดียวกัน วิหาร มีอุปจารแยกกัน โคนไม้ มีอุปจารเดียวกัน โคนไม้ มีอุปจารแยกกัน ที่กลางแจ้ง มีอุปจารเดียวกัน ที่กลางแจ้ง มีอุปจารแยกกัน [๔๗๘] ที่ชื่อว่า หมู่บ้านมีอุปจารเดียวกัน คือ หมู่บ้านของตระกูลหนึ่งล้อม รั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในหมู่บ้าน แล้วพึงอยู่ภายในหมู่บ้าน ที่ชื่อว่า หมู่ บ้านมีอุปจารแยกกัน๑- คือ หมู่บ้านของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ใน เรือนที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส [๔๗๙] หมู่บ้านของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ในเรือนที่ ตนเก็บจีวรไว้ ในหอประชุมหรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส เมื่อไปหอประชุม ต้องเก็บจีวรไว้ในหัตถบาสแล้วอยู่ในหอประชุมหรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส ภิกษุเก็บจีวรในหอประชุมต้องอยู่ในหอประชุมหรือที่ริมประตูหรือไม่ละหัตถบาส หมู่บ้านไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในเรือนที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๐] เรือน ของตระกูลหนึ่งล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในเรือน ต้องอยู่ภายในเรือน เรือนไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๑] เรือน ของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลาย ห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส เรือนไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส @เชิงอรรถ : @ หมู่บ้านที่จัดว่ามีอุปจารเดียวกัน ท่านกำหนดด้วยล้อมรั้วไว้ด้วยกัน, ที่จัดว่า มีอุปจารแยกกัน ท่าน @กำหนดด้วยไม่มีรั้วล้อม (ปริกฺขิตฺโตติ... เอตฺตาวตา เอกกุลคามสฺส เอกูปจารตา ทสฺสิตา. ฯเปฯ @อปริกฺขิตฺโตติ อิมินา ตสฺเสว คามสฺส นานูปจารตา ทสฺสิตา - วิ.อ. ๒/๔๗๘/๑๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์

[๔๘๒] โรงเก็บของ ของตระกูลหนึ่งล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้องเล็ก หลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในโรงเก็บของที่ตนเก็บจีวรไว้ โรงเก็บของไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องเก็บของที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละ หัตถบาส [๔๘๓] โรงเก็บของ ของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน มีห้องใหญ่ห้อง เล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส โรงเก็บของไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๔] ป้อม ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในป้อมที่ตนเก็บจีวรไว้ ป้อมของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตน เก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตูหรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๕] เรือนยอดเดียว ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือนยอดเดียว ที่ตนเก็บจีวรไว้ เรือนยอดเดียวของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ใน ห้องที่ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๖] ปราสาท ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ในปราสาทที่ตนเก็บจีวรไว้ ปราสาทของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๗] เรือนโล้น ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือนโล้นที่ตนเก็บ จีวรไว้ เรือนโล้นของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ ตนเก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส [๔๘๘] เรือ ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องอยู่ภายในเรือที่ตนเก็บจีวรไว้ เรือของต่างตระกูล มีห้องใหญ่ห้องเล็กหลายห้อง ภิกษุต้องอยู่ในห้องที่ตน เก็บจีวรไว้หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์

[๔๘๙] หมู่เกวียน ของตระกูลหนึ่ง ภิกษุต้องไม่ละอัพภันดร๑- ด้านหน้า หรือด้านหลัง ข้างละ ๗ อัพภันดร ด้านข้างด้านละ ๑ อัพภันดร หมู่เกวียนของต่างตระกูล ภิกษุเก็บจีวรไว้ในหมู่เกวียน ต้องไม่ละหัตถบาส [๔๙๐] นา ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ภายในนาที่ ตนเก็บจีวรไว้ นาไม่มีรั้วล้อม ภิกษุต้องไม่ละหัตถบาส นาของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในนา ต้องอยู่ที่ริม ประตูหรือไม่ละหัตถบาส นาที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส [๔๙๑] ลานนวดข้าว ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ ภายในลานนวดข้าวที่ตนเก็บจีวรไว้ ลานนวดข้าวของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ ละหัตถบาส ลานนวดข้าวของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในลาน นวดข้าว ต้องอยู่ที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส ลานนวดข้าวของต่างตระกูลไม่มีรั้ว ล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส [๔๙๒] สวน ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในสวน ต้องอยู่ภายในสวน สวนที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส สวนของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ภายในสวน ต้องอยู่ ที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส สวนที่ไม่มีรั้วล้อม ต้องไม่ละหัตถบาส [๔๙๓] วิหาร ของตระกูลหนึ่งและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุเก็บจีวรไว้ในวิหาร ต้องอยู่ภายในวิหาร วิหารของตระกูลหนึ่งไม่มีรั้วล้อม ต้องอยู่ในวิหารที่ตนเก็บจีวร ไว้หรือไม่ละหัตถบาส วิหารของต่างตระกูลและล้อมรั้วไว้ด้วยกัน ภิกษุต้องอยู่ในวิหารที่ตนเก็บจีวรไว้ หรือที่ริมประตู หรือไม่ละหัตถบาส วิหารของต่างตระกูลไม่มีรั้วล้อม ต้องอยู่ในวิหาร ที่ตนเก็บจีวรไว้ หรือไม่ละหัตถบาส @เชิงอรรถ : @ คำว่า “อัพภันดร” เป็นมาตราวัดในภาษามคธ เทียบเท่า ๒๘ ศอก หรือ ๗ วา (เอตํ อพฺภนฺตรํ @อฏฺฐวีสติหตฺถํ โหติ - วิ.อ. ๒/๔๘๙/๑๕๙) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๖}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท บทภาชนีย์

[๔๙๔] โคนไม้ ของตระกูลหนึ่ง กำหนดเขตที่เงาแผ่ไปรอบๆ เวลาเที่ยงวัน ภิกษุเก็บจีวรภายในเขตเงา ต้องอยู่ในเขตเงา โคนไม้ของต่างตระกูล ต้องไม่ละหัตถบาส ที่ชื่อว่าที่กลางแจ้งมีอุปจารเดียวกัน คือ ป่าไม่มีบ้าน กำหนด ๗ อัพภันดร โดยรอบ เป็นอุปจารเดียว พ้นกำหนดนั้นเป็นอุปจารแยกกัน
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๔๙๕] จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้ รับสมมติ จีวรอยู่ปราศแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่ได้ถอน ภิกษุสำคัญว่าถอนแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่ได้สละให้ ภิกษุสำคัญว่าสละให้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ จีวรยังไม่ถูกโจรชิง ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงไปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๗}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๒. อุทโทสิตสิกขาบท อนาปัตติวาร

ติกทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุยังไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าอยู่ปราศแล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรไม่อยู่ปราศ ภิกษุสำคัญว่าไม่อยู่ปราศ ใช้สอย ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๙๖] ๑. ภิกษุผู้ถอนภายในอรุณ ๒. ภิกษุผู้สละให้ไป ๓. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหาย ๔. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหาย ๕. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้ ๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป ๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ ๘. ภิกษุได้รับสมมติ ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
อุทโทสิตสิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๘}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๓. ตติยกฐินสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑. จีวรวรรค
๓. ตติยกฐินสิกขาบท
ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๓
เรื่องภิกษุรับอกาลจีวร
[๔๙๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น อกาลจีวร๑- ได้เกิดขึ้นแก่ภิกษุรูป หนึ่ง ท่านจะทำจีวรแต่ผ้าไม่พอ จึงพยายามดึงผ้านั้นให้ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง พระผู้มีพระภาคเสด็จไปตามเสนาสนะ ทอดพระเนตรเห็นเธอพยายามดึงผ้านั้นให้ ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุรูปนั้น ครั้นถึงแล้วตรัสถามว่า “เธอ พยายามดึงผ้านั้นให้ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง เพื่ออะไร” ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ได้ผ้าที่เป็นอกาลจีวร ครั้นจะทำจีวรผ้าไม่พอ ดังนั้นจึงพยายามดึงผ้านั้นให้ยืดแล้วรีดเป็นหลายครั้ง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุ เธอมีความหวังจะได้ผ้าสำหรับทำจีวรอีกหรือ” ภิกษุนั้นกราบทูลว่า “มีความหวัง พระพุทธเจ้าข้า”
ทรงอนุญาตอกาลจีวร
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “เราอนุญาตให้รับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้วเก็บไว้โดยมีความหวัง ว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม” @เชิงอรรถ : @ อกาลจีวร หมายถึงผ้าสำหรับทำจีวรที่เกิดขึ้นนอกฤดูกาล คือนอกกาลที่ภิกษุจะพึงรับผ้าผืนที่ ๔ นอก @จากไตรจีวรเก็บไว้ได้ (ดูเชิงอรรถ ข้อ ๕๐๐ หน้า ๒๑ ในเล่มนี้) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๙}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๓. ตติยกฐินสิกขาบท พระบัญญัติ

[๔๙๘] ต่อมา ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้รับผ้า ที่เป็นอกาลจีวรเก็บไว้ได้โดยมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม จึงรับผ้าที่เป็นอกาลจีวร เก็บไว้เกิน ๑ เดือน ผ้าเหล่านั้นถูกมัดรวมเป็นห่อๆ แขวนไว้ที่ราว ท่านพระอานนท์เที่ยวไปตามเสนาสนะ เห็นผ้าเหล่านั้นถูกมัดรวมเป็นห่อๆ แขวนไว้ที่ราว จึงถามภิกษุทั้งหลายว่า “ผ้าเหล่านั้นถูกมัดรวมเป็นห่อๆ แขวนไว้ที่ ราว เป็นของใคร” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “ผ้าเหล่านี้เป็นอกาลจีวร พวกกระผมเก็บไว้โดยความ หวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม” พระอานนท์ถามว่า “เก็บไว้นานเท่าไร” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “เก็บไว้เกิน ๑ เดือน ขอรับ” พระอานนท์ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงรับผ้าที่เป็น อกาลจีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือนเล่า” ครั้นท่านตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายรับผ้าที่เป็น อกาลจีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้น จึงรับผ้าที่เป็นอกาลจีวรแล้วเก็บไว้เกิน ๑ เดือนเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๔๙๙] เมื่อจีวรของภิกษุสำเร็จแล้ว เมื่อกฐินเดาะแล้ว อกาลจีวรเกิดขึ้น แก่ภิกษุ ภิกษุต้องการก็พึงรับไว้ได้ ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำเป็นจีวร ถ้าผ้านั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๐}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๓. ตติยกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

มีไม่พอ เมื่อมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม ภิกษุนั้นพึงเก็บผ้าสำหรับทำจีวรนั้น ไว้ไม่เกิน ๑ เดือน เพื่อเพิ่มผ้าสำหรับทำจีวรที่ยังขาดให้ครบ ถ้าเก็บเกินกำหนด นั้น แม้มีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรับอกาลจีวร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๐] คำว่า เมื่อจีวร...สำเร็จแล้ว หมายความว่า จีวรของภิกษุทำเสร็จ แล้ว สูญหายแล้ว ฉิบหายแล้ว ถูกไฟไหม้เสียแล้ว หรือภิกษุหมดหวังว่าจะได้ผ้ามา เย็บเป็นจีวร คำว่า เมื่อกฐินเดาะแล้ว หมายความว่า กฐินเดาะด้วยมาติกาอย่างใดอย่าง หนึ่งในมาติกา ๘ หรือสงฆ์เดาะกฐินในระหว่าง ที่ชื่อว่า อกาลจีวร ได้แก่ ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด ๑๑ เดือน ในเมื่อไม่ได้กรานกฐิน ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด ๗ เดือน ในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว แม้ผ้าที่เขาถวายเจาะจงในกาล นี้ชื่อว่า อกาลจีวร๑- คำว่า เกิดขึ้น คือ เกิดจากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร หรือที่เป็นผ้า บังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน คำว่า ต้องการ คือ เมื่อต้องการก็รับไว้ คำว่า ครั้นรับแล้วพึงรีบให้ทำ คือ พึงให้ทำเสร็จภายใน ๑๐ วัน คำว่า ถ้าผ้านั้นมีไม่พอ คือ ผ้าไม่เพียงพอที่จะทำเป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง คำว่า ภิกษุนั้นพึงเก็บผ้าสำหรับทำจีวรนั้นไว้ไม่เกิน ๑ เดือน คือ เก็บไว้ได้ ๑ เดือนเป็นอย่างมาก @เชิงอรรถ : @ คือ (๑) ตั้งแต่ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของปีถัดไปสำหรับผู้ไม่ได้กรานกฐิน @รวมเป็น ๑๑ เดือน (๒) ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในปีเดียวกัน สำหรับผู้ได้ @กรานกฐิน รวมเป็น ๗ เดือน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๑}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๓. ตติยกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

คำว่า เพื่อเพิ่มผ้าสำหรับทำจีวรที่ยังขาดให้ครบ คือ เพื่อจะให้ผ้าที่ยังขาด ครบบริบูรณ์ คำว่า เมื่อมีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม คือ มีความหวังว่าจะได้จากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร หรือที่เป็นผ้าบังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน จีวรที่มีความหวังว่าจะได้มา คำว่า ถ้าเก็บเกินกำหนดนั้น แม้มีความหวังว่าจะได้ผ้ามาเพิ่ม อธิบายว่า จีวรที่หวังเกิดขึ้นในวันที่จีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้ว พึงทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม เกิดขึ้นแล้วได้ ๓ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๔ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม เกิดขึ้นแล้วได้ ๕ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๖ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม เกิดขึ้นแล้วได้ ๗ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๘ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม เกิดขึ้นแล้วได้ ๙ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๐ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๑ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิม เกิดขึ้นแล้วได้ ๑๒ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๓ วัน ... ในเมื่อจีวรผืน เดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๔ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๕ วัน ... ในเมื่อจีวร ผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๖ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๗ วัน ... ในเมื่อ จีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๘ วัน ... ในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๑๙ วัน ... ใน เมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๐ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๑๐ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๑ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๙ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๒ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๘ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๓ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๗ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๔ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๖ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๕ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๕ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๖ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๔ วัน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๒}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๓. ตติยกฐินสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๗ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๓ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๘ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๒ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๒๙ วัน พึงทำให้เสร็จใน ๑ วัน จีวรที่หวังเกิดขึ้นในเมื่อจีวรผืนเดิมเกิดขึ้นแล้วได้ ๓๐ วัน พึงอธิษฐาน วิกัป สละให้ผู้อื่นในวันนั้น ถ้าไม่อธิษฐาน ไม่วิกัปหรือไม่สละให้ผู้อื่น เมื่อรุ่งอรุณวันที่ ๓๑ จีวรเป็นนิสสัคคีย์ คือ เป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ อกาลจีวรผืนนี้ของ กระผมเกิน ๑ เดือน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอกาลจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ อกาลจีวร ผืนนี้ของกระผมเกิน ๑ เดือน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้ง หลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๓}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๓. ตติยกฐินสิกขาบท บทภาชนีย์

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ อกาลจีวรผืนนี้ของกระผมเกิน ๑ เดือน เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละอกาลจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม คืนจีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน” จีวรที่หวังเกิดขึ้น เนื้อผ้าไม่เหมือนกับจีวรเดิมที่เกิดขึ้นแล้ว และวันคืนก็ยัง เหลืออยู่ เมื่อไม่ต้องการจะทำ ก็ไม่ต้องทำ
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๐๑] จีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกินแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ จีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรเก็บไว้เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้อธิษฐาน ภิกษุสำคัญว่าอธิษฐานแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้วิกัป ภิกษุสำคัญว่าวิกัปแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ได้สละให้ ภิกษุสำคัญว่าสละให้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่สูญหาย ภิกษุสำคัญว่าสูญหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ฉิบหาย ภิกษุสำคัญว่าฉิบหายแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ถูกไฟไหม้ ภิกษุสำคัญว่าถูกไฟไหม้แล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จีวรยังไม่ถูกโจรชิง ภิกษุสำคัญว่าถูกโจรชิงแล้ว ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๔}

                                                                 พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

                                                                 ๑. จีวรวรรค ๓. ตติยกฐินสิกขาบท อนาปัตติวาร

ติกทุกกฏ
จีวรเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุไม่สละ ใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่าเกินแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรที่ยังไม่เกิน ๑ เดือน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ จีวรยังไม่เกิน ๑ เดือน ภิกษุสำคัญว่ายังไม่เกิน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๐๒] ๑. ภิกษุอธิษฐานภายใน ๑ เดือน ๒. ภิกษุผู้วิกัปไว้ ๓. ภิกษุผู้สละให้ไป ๔. ภิกษุผู้มีจีวรสูญหาย ๕. ภิกษุผู้มีจีวรฉิบหาย ๖. ภิกษุผู้มีจีวรถูกไฟไหม้ ๗. ภิกษุผู้มีจีวรถูกโจรชิงเอาไป ๘. ภิกษุผู้มีจีวรถูกถือเอาไปโดยวิสาสะ ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
ตติยกฐินสิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๕}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑-๒๕. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=2&page=1&pages=25&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=2&A=1 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=2&A=1#p1 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 2 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_2 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2 https://84000.org/tipitaka/english/?index_2



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑-๒๕.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]