ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

หน้าที่ ๑๐๑-๑๐๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๑๔. โอฆวรรค ๒. โยคสูตร

๑๔. โอฆวรรค
หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑. โอฆสูตร
ว่าด้วยโอฆะ
[๑๗๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โอฆะ (ห้วงน้ำ) ๔ ประการนี้ โอฆะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ) ๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) โอฆะ ๔ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอฆะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ (พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนเอสนาสูตรฉะนั้น)
โอฆสูตรที่ ๑ จบ
๒. โยคสูตร
ว่าด้วยโยคะ
[๑๗๓] “ภิกษุทั้งหลาย โยคะ (สภาวะอันประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ๔ ประการนี้ โยคะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามโยคะ (โยคะคือกาม) ๒. ภวโยคะ (โยคะคือภพ) ๓. ทิฏฐิโยคะ (โยคะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) โยคะ ๔ ประการนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๑๔. โอฆวรรค ๔. คันถสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโยคะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
โยคสูตรที่ ๒ จบ
๓. อุปาทานสูตร
ว่าด้วยอุปาทาน
[๑๗๔] “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทาน (ความยึดมั่น) ๔ ประการนี้ อุปาทาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามุปาทาน (ความยึดมั่นในกาม) ๒. ทิฏฐุปาทาน (ความยึดมั่นในทิฏฐิ) ๓. สีลัพพตุปาทาน (ความยึดมั่นในศีลพรต) ๔. อัตตวาทุปาทาน (ความยึดมั่นในวาทะว่ามีอัตตา) อุปาทาน ๔ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อุปาทานสูตรที่ ๓ จบ
๔. คันถสูตร
ว่าด้วยคันถะ
[๑๗๕] “ภิกษุทั้งหลาย คันถะ (กิเลสเครื่องผูก) มี ๔ ประการนี้ คันถะ ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. อภิชฌากายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคืออภิชฌา) ๒. พยาปาทกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือพยาบาท) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๑๔. โอฆวรรค ๕. อนุสยสูตร

๓. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความถือมั่น ศีลพรต) ๔. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ (กิเลสเครื่องผูกกายคือความยึดมั่น ว่าสิ่งนี้จริง) คันถะ ๔ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละคันถะทั้ง ๔ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
คันถสูตรที่ ๔ จบ
๕. อนุสยสูตร
ว่าด้วยอนุสัย
[๑๗๖] “ภิกษุทั้งหลาย อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่อง) ๗ ประการนี้ อนุสัย ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือกามราคะ) ๒. ปฏิฆานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือปฏิฆะ) ๓. ทิฏฐานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือทิฏฐิ) ๔. วิจิกิจฉานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือวิจิกิจฉา) ๕. มานานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือมานะ) ๖. ภวราคานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคือภวราคะ) ๗. อวิชชานุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องคืออวิชชา) อนุสัย ๗ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอนุสัยทั้ง ๗ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อนุสยสูตรที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๑๔. โอฆวรรค ๗. นีวรณสูตร

๖. กามคุณสูตร
ว่าด้วยกามคุณ
[๑๗๗] “ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ กามคุณ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด ๒. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ๓. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ๔. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ ๕. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด กามคุณ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละกามคุณทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
กามคุณสูตรที่ ๖ จบ
๗. นีวรณสูตร
ว่าด้วยนิวรณ์
[๑๗๘] “ภิกษุทั้งหลาย นิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) ๕ ประการนี้ นิวรณ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. กามฉันทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความพอใจในกาม) ๒. พยาบาทนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความคิดปองร้าย) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๑๔. โอฆวรรค ๘. อุปาทานักขันธสูตร

๓. ถีนมิทธนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความหดหู่และเซื่องซึม) ๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความฟุ้งซ่าน และร้อนใจ) ๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ (สิ่งกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีคือความลังเลสงสัย) นิวรณ์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ”
นีวรณสูตรที่ ๗ จบ
๘. อุปาทานักขันธสูตร
ว่าด้วยอุปาทานขันธ์
[๑๗๙] “ภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ (กองอันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น) ๕ ประการนี้ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
อุปาทานักขันธสูตรที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๑๔. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

๙. โอรัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยโอรัมภาคิยสังโยชน์
[๑๘๐] “ภิกษุทั้งหลาย โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการนี้ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) ๒. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) ๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต) ๔. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม) ๕. พยาบาท (ความคิดปองร้าย) โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ ฯลฯ
โอรัมภาคิยสูตรที่ ๙ จบ
๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
ว่าด้วยอุทธัมภาคิยสังโยชน์
[๑๘๑] “ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง) ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน) ๒. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน) ๓. มานะ (ความถือตัว) ๔. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ๕. อวิชชา (ความไม่รู้แจ้ง) อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๑๔. โอฆวรรค ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก ฯลฯ ๘. เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไป ในโวสสัคคะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปราคะ ๒. อรูปราคะ ๓. มานะ ๔. อุทธัจจะ ๕. อวิชชา อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ๑. เจริญสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ๘. เจริญสัมมาสมาธิอันเป็นธรรมมีการกำจัดราคะ โทสะ และโมหะเป็นที่สุด ... อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ... อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑. มัคคสังยุต]

                                                                 ๑๔. โอฆวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ทั้ง ๕ ประการนี้”
อุทธัมภาคิยสูตรที่ ๑๐ จบ
โอฆวรรคที่ ๑๔ จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โอฆสูตร ๒. โยคสูตร ๓. อุปาทานสูตร ๔. คันถสูตร ๕. อนุสยสูต ๖. กามคุณสูตร ๗. นีวรณสูตร ๘. อุปาทานักขันธสูตร ๙. โอรัมภาคิยสูตร ๑๐. อุทธัมภาคิยสูตร
รวมวรรคที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. อวิชชาวรรค ๒. วิหารวรรค ๓. มิจฉัตตวรรค ๔. ปฏิปัตติวรรค ๕. อัญญติตถิยเปยยาลวรรค ๖. สุริยเปยยาลวรรค ๗. เอกธัมมเปยยาลวรรค ๘. ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค ๙. คังคาเปยยาลวรรค ๑๐. ทุติยคังคาเปยยาลวรรค ๑๑. อัปปมาทวรรค ๑๒. พลกรณียวรรค ๑๓. เอสนาวรรค ๑๔. โอฆวรรค
มัคคสังยุตที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๑๐๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๙ หน้าที่ ๑๐๑-๑๐๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=19&page=101&pages=8&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=19&A=2719 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=19&A=2719#p101 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 19 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_19 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu19 https://84000.org/tipitaka/english/?index_19



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐๑-๑๐๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]