ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๕๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๒. ทุติยปัณณาสก์ ๒. มิคชาลวรรค ๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร

ท่านพระอุปเสนะกล่าวว่า “ท่านสารีบุตร ผู้ใดพึงมีความคิดว่า ‘เราเป็นจักขุ’ หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหาเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กายของผู้นั้นเป็นอย่าง อื่นหรือความที่อินทรีย์ของผู้นั้นแปรผันพึงมีอย่างแน่นอน กระผมไม่มีความนึกคิด เลยว่า ‘เราเป็นจักขุ’ หรือ ‘จักขุเป็นของเรา’ ฯลฯ ‘เราเป็นชิวหา’ หรือ ‘ชิวหา เป็นของเรา’ ... ‘เราเป็นมโน’ หรือ ‘มโนเป็นของเรา’ ท่านสารีบุตร ความที่กาย ของกระผมเป็นอย่างอื่นหรือความที่อินทรีย์ของกระผมแปรผัน จักมีได้อย่างไร” จริงอย่างนั้น ท่านพระอุปเสนะได้ถอนอหังการ๑- มมังการ๒- และมานานุสัย (กิเลส ที่นอนเนื่องคือความถือตัว) ได้เด็ดขาดนานมาแล้ว ฉะนั้นท่านพระอุปเสนะจึงไม่มี ความคิดว่า “เราเป็นจักขุ” หรือ “จักขุเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นชิวหา” หรือ “ชิวหาเป็นของเรา” ฯลฯ “เราเป็นมโน” หรือ “มโนเป็นของเรา” ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นได้ยกกายของท่านพระอุปเสนะขึ้นเตียงแล้วหามออกไปข้าง นอก ขณะนั้น กายของท่านพระอุปเสนะก็เรี่ยรายในที่นั้นเองเหมือนกำแกลบ
อุปเสนอาสีวิสสูตรที่ ๗ จบ
๘. อุปวาณสันทิฏฐิกสูตร
ว่าด้วยพระอุปวาณะทูลถามธรรมที่พึงเห็นเอง
[๗๐] ครั้งนั้น ท่านพระอุปวาณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ นั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ ตรัสว่า ‘ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ธรรมเป็นธรรมที่ผู้ ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง’ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ พระธรรมจึงชื่อว่าเป็น ธรรมที่ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล๓- ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” @เชิงอรรถ : @ อหังการ หมายถึงทิฏฐิ (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) @ มมังการ หมายถึงตัณหา (องฺ.ติก.อ. ๒/๓๒/๑๑๓) @ ไม่ประกอบด้วยกาล หมายถึงให้ผลไม่จำกัดกาล คือไม่ขึ้นกับกาลเวลา ให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติทุกเวลา @ทุกโอกาส ปฏิบัติเมื่อใด ก็ได้รับผลเมื่อนั้น (องฺ.ทุก.อ. ๒/๕๔/๑๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๕๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=18&page=59&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=1605 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=1605#p59 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 18 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18



จบการแสดงผล หน้าที่ ๕๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]