ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

หน้าที่ ๒๓๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค [๑. สฬายตนสังยุต]

                                                                 ๔. จตุตถปัณณาสก์ ๔. อาสีวิสวรรค ๒. รโถปมสูตร

คำว่า ห้วงน้ำใหญ่ นั้นเป็นชื่อของโอฆะ (ห้วงน้ำ) ทั้ง ๔ คือ ๑. กาโมฆะ (โอฆะคือกาม) ๒. ภโวฆะ (โอฆะคือภพ) ๓. ทิฏโฐฆะ (โอฆะคือทิฏฐิ) ๔. อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) คำว่า ฝั่งนี้น่าระแวง มีภัยจำเพาะหน้า นั้นเป็นชื่อของสักกายะ (กายของตน) คำว่า ฝั่งโน้นปลอดภัย ไม่มีภัยจำเพาะหน้า นั้นเป็นชื่อของนิพพาน คำว่า แพ นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ฯลฯ ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) คำว่า ใช้มือและเท้าพยายามไป นั้นเป็นชื่อของวิริยารัมภะ (ปรารภ ความเพียร) ภิกษุทั้งหลาย คำว่า เป็นผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก นั้นเป็นชื่อ ของพระอรหันต์”
อาสีวิโสปมสูตรที่ ๑ จบ
๒. รโถปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยรถ
[๒๓๙] “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ มีสุขโสมนัส มากอยู่ในปัจจุบัน และย่อมปรารภเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๒. รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ๓. ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่เนืองๆ ภิกษุชื่อว่าคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๘ หน้า : ๒๓๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๓๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=18&page=239&pages=1&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=18&A=6686 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=18&A=6686#p239 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 18 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_18 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu18 https://84000.org/tipitaka/english/?index_18



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๓๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]