ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

หน้าที่ ๖๖-๖๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

                                                                 มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๖. ขันธสูตร

ภิกษุทั้งหลาย มโนมีอยู่ ธรรม๑- ทั้งหลายมีอยู่ อวิชชาธาตุ๒- มีอยู่ เมื่อปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับถูกความเสวยอารมณ์ซึ่งเกิดจากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว เขาก็มีความ ยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ บ้าง ‘เราเป็นนี้’ บ้าง ‘เราจักเป็น’ บ้าง ‘เราจักไม่เป็น’ บ้าง ‘เราจักมีรูป’ บ้าง ‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักไม่มี สัญญา’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง ภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๕ ประการ ตั้งอยู่ได้เพราะการพิจารณาเห็นนั้นแล เมื่อเป็นเช่นนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับ ก็ละอวิชชาในอินทรีย์เหล่านั้น วิชชา๓- จึงเกิดขึ้น เพราะอวิชชาคลายไป เพราะวิชชาเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นจึงไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่า ‘เราเป็น’ บ้าง ‘เราเป็นนี้’ บ้าง ‘เราจักเป็น’ บ้าง ‘เราจักไม่เป็น’ บ้าง ‘เราจัก มีรูป’ บ้าง ‘เราจักไม่มีรูป’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักไม่มีสัญญา’ บ้าง ‘เราจักมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่’ บ้าง”
สมนุปัสสนาสูตรที่ ๕ จบ
๖. ขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์
[๔๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ ประการ และ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ เธอทั้งหลายจงฟัง ขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า รูปขันธ์ @เชิงอรรถ : @ ธรรม ในที่นี้หมายถึงธรรมารมณ์ (สํ.ข.อ. ๒/๔๗/๒๙๖) @ อวิชชาธาตุ ในที่นี้หมายถึงอวิชชาในขณะแห่งชวนจิต (สํ.ข.อ. ๒/๔๗/๒๙๖) @ วิชชา ในที่นี้หมายถึงอรหัตตมัคควิชชา (ความรู้แจ้งอรหัตตมรรค) (สํ.ข.อ. ๒/๔๗/๒๙๗, @องฺ.ติก.อ. ๒/๓๔/๑๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๖๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

                                                                 มูลปัณณาสก์ ๕. อัตตทีปวรรค ๖. ขันธสูตร

๒. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ๓. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ๔. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล หรือใกล้ก็ตาม นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕ ประการ อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกล หรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า รูปูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือรูป) ๒. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วย อาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือเวทนา) ๓. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วย อาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า สัญญูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสัญญา) ๔. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่ อุปาทาน นี้เรียกว่า สังขารูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือสังขาร) ๕. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ ไกลหรือใกล้ก็ตาม ประกอบด้วยอาสวะ เกื้อกูลแก่อุปาทาน นี้เรียกว่า วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ) ภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕ ประการ”
ขันธสูตรที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๖๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๖๖-๖๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=17&page=66&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=17&A=1847 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=17&A=1847#p66 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 17 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_17 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17 https://84000.org/tipitaka/english/?index_17



จบการแสดงผล หน้าที่ ๖๖-๖๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]