ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๗.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

                                                                 มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๔. อรหันตสูตร

๓. ทุติยสมุทยสูตร
ว่าด้วยความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ สูตรที่ ๒
[๗๕] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัดออกจากรูปตามความเป็นจริง ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... รู้ชัดความเกิดขึ้น ความดับ คุณ โทษ และเครื่องสลัด ออกจากวิญญาณตามความเป็นจริง”
ทุติยสมุทยสูตรที่ ๓ จบ
๔. อรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์
[๗๖] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น นั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็น อนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ เป็นจริงอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ... แม้ในเวทนา ... แม้ในสัญญา ... แม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๑๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

                                                                 มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๔. อรหันตสูตร

เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุด พ้นแล้ว ก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ ภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลายเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุดในโลกกว่าสัตว์ ในสัตตาวาสและภวัคคภพ” พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา- ประพันธ์ต่อไปอีกว่า “พระอรหันต์ทั้งหลายมีความสุข๑- หนอ เพราะท่านไม่มีตัณหา ตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด ทำลายข่ายคือโมหะได้แล้ว พระอรหันต์เหล่านั้นถึงความไม่หวั่นไหว๒- มีจิตไม่ขุ่นมัว ไม่แปดเปื้อนในโลก เป็นผู้ประเสริฐ ไม่มีอาสวะ เป็นสัตบุรุษ เป็นพุทธบุตร พุทธโอรส กำหนดรู้ขันธ์ ๕ มีสัทธรรม ๗ ประการเป็นโคจร๓- ควรสรรเสริญ ท่านเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ๔- สำเหนียกแล้วในไตรสิกขา @เชิงอรรถ : @ มีความสุข หมายถึงมีความสุขด้วยสุขในฌาน มรรค และผล (สํ.ข.อ. ๒/๗๖/๓๐๙) @ ความไม่หวั่นไหว หมายถึงพระอรหัตตผลซึ่งเป็นเหตุละตัณหาคือความหวั่นไหวได้เด็ดขาด @(สํ.ข.อ. ๒/๗๖/๓๐๙) @ มีสัทธรรม ๗ ประการเป็นโคจร หมายถึงมีสัทธรรม ๗ ประการเป็นอารมณ์ สัทธรรม ๗ ประการนั้น @ได้แก่ (๑) สัทธา ความเชื่อ (๒) หิริ ความละอาย (๓) โอตตัปปะ ความเกรงกลัวบาป (๔) พาหุสัจจะ @ความเป็นผู้มีสุตะมาก (๕) อารัทธวิริยตา ความปรารภความเพียร (๖) อุปัฏฐิตัสสติตา ความมีสติมั่นคง @(๗) ปัญญา ความรอบรู้ (สํ.ข.อ. ๒/๗๖/๓๐๙) @ รัตนะ ๗ ประการ หมายถึงโพชฌงค์ ๗ ประการ คือ (๑) สติ ความระลึกได้ (๒) ธัมมวิจยะ @ความเฟ้นธรรม (๓) วิริยะ ความเพียร (๔) ปีติ ความอิ่มใจ (๕) ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ @(๖) สมาธิ ความมีจิตตั้งมั่น (๗) อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง (สํ.ข.อ. ๒/๗๖/๓๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๑๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต]

                                                                 มัชฌิมปัณณาสก์ ๓. ขัชชนียวรรค ๕. ทุติยอรหันตสูตร

ละความกลัวและความสะดุ้งกลัวได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมเที่ยวไปโดยลำดับ ท่านมหานาคผู้สมบูรณ์ด้วยองค์ ๑๐ มีจิตตั้งมั่น๑- ประเสริฐที่สุดในโลก เพราะท่านเหล่านั้นไม่มีตัณหา มีอเสขญาณ๒- เกิดขึ้นแล้ว มีร่างกายนี้เป็นร่างสุดท้าย ไม่ต้องอาศัยผู้อื่นในคุณที่เป็นแก่นสารแห่งพรหมจรรย์ ท่านเหล่านั้นไม่หวั่นไหวในส่วนทั้งหลาย๓- พ้นจากภพใหม่ถึงทันตภูมิ๔- ชนะเด็ดขาดแล้วในโลก ท่านเหล่านั้นไม่มีความเพลิดเพลินอยู่ ในส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง เป็นพุทธะผู้ยอดเยี่ยมในโลก ย่อมบันลือสีหนาท”
อรหันตสูตรที่ ๔ จบ
๕. ทุติยอรหันตสูตร
ว่าด้วยพระอรหันต์ สูตรที่ ๒
[๗๗] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเธอทั้งหลาย @เชิงอรรถ : @ มีจิตตั้งมั่น หมายถึงตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ (สํ.ข.อ. ๒/๗๖/๓๑๐) @ อเสขญาณ หมายถึงอรหัตตผลญาณ (สํ.ข.อ. ๒/๗๖/๓๑๐) @ ส่วนทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงส่วนแห่งมานะ ๓ อย่าง (สํ.ข.อ. ๒/๗๖/๓๑๐) @ ทันตภูมิ หมายถึงภูมิของท่านผู้ได้รับการฝึกตนแล้ว ได้แก่ พระอรหัต (สํ.ข.อ. ๒/๗๖/๓๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๗ หน้า : ๑๑๗}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๗. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=17&page=115&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=17&A=3205 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=17&A=3205#p115 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 17 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_17 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu17 https://84000.org/tipitaka/english/?index_17



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๑๕-๑๑๗.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]