ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

หน้าที่ ๑๒๓-๑๒๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

                                                                 ๗. มหาวรรค ๔. อัตถิราคสูตร

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเขาถูกประหารแม้ด้วยหอก ๑ เล่ม ยังได้เสวย ทุกข์โทมนัสซึ่งมีการประหารนั้นเป็นเหตุ ไม่ต้องพูดถึงเมื่อถูกประหารด้วยหอก ๓๐๐ เล่ม” “ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึงเห็น วิญญาณาหาร (เปรียบเหมือนนักโทษประหาร)’ เมื่ออริยสาวก กำหนดรู้วิญญาณา- หารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้นามรูปได้ เมื่อกำหนดรู้นามรูปได้แล้ว เรากล่าวว่า ไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้”
ปุตตมังสสูตรที่ ๓ จบ
๔. อัตถิราคสูตร
ว่าด้วยราคะมีอยู่
[๖๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้ เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่าง อะไรบ้าง คือ ๑. กวฬิงการาหาร ที่หยาบหรือละเอียด ๒. ผัสสาหาร ๓. มโนสัญเจตนาหาร ๔. วิญญาณาหาร อาหาร ๔ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความดำรงอยู่ของหมู่สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่อ อนุเคราะห์หมู่สัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด ถ้าราคะ(ความกำหนัด) นันทิ(ความเพลิดเพลิน) ตัณหา(ความทะยานอยาก) มีอยู่ ในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณ ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญ แห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๒๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

                                                                 ๗. มหาวรรค ๔. อัตถิราคสูตร

ใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใด มีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และมีความคับแค้น ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในผัสสาหาร ... ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ... ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงาม ในวิญญาณาหารนั้น ที่ใดมีวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญ แห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดมีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าว ว่า ที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวายและมีความคับแค้น เปรียบเหมือนเมื่อมีน้ำย้อม ครั่ง ขมิ้น สีเขียว หรือสีแดงอ่อน ช่างย้อมหรือ จิตรกรพึงเขียนรูปภาพสตรีหรือรูปภาพบุรุษ ให้ได้สัดส่วนครบถ้วนลงบนแผ่นกระดานที่ ขัดดีแล้ว ฝาผนัง หรือแผ่นผ้า อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ถ้าราคะ นันทิ ตัณหามี อยู่ในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดมีวิญญาณ ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใดมีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความ เจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิด ในภพใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดมีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นมีความโศก มีความกระวนกระวาย และมีความคับแค้น ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในผัสสาหาร ... ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในมโนสัญเจตนาหาร ... ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา มีอยู่ในวิญญาณาหาร วิญญาณจะตั้งอยู่งอกงาม ในวิญญาณาหารนั้น ที่ใดมีวิญญาณตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมมีนามรูปหยั่งลง ที่ใด มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมมีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดมีความเจริญแห่ง สังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดมีการเกิดในภพใหม่ต่อไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๒๔}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

                                                                 ๗. มหาวรรค ๔. อัตถิราคสูตร

ที่นั้นย่อมมีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นมีความโศก มีความกระวน- กระวาย และมีความคับแค้น ภิกษุทั้งหลาย ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในกวฬิงการาหาร วิญญาณจะ ไม่ตั้งอยู่งอกงามในกวฬิงการาหารนั้น ที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มี นามรูปหยั่งลง ที่ใดไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใด ไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และ ไม่มีความคับแค้น ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในผัสสาหาร ... ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร ... ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในวิญญาณาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามใน วิญญาณาหารนั้น ที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใด ไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความ เจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดไม่มีการเกิดใน ภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความคับแค้น เปรียบเหมือนเรือนยอด๑- หรือศาลาเรือนยอด๒- มีหน้าต่างด้านทิศเหนือทิศใต้ หรือทิศตะวันออก พอดวงอาทิตย์ขึ้น แสงสว่างที่เข้าทางหน้าต่าง จะพึงส่องไปที่ไหน” “ส่องไปที่ฝาด้านทิศตะวันตก พระพุทธเจ้าข้า” “ถ้าไม่มีฝาด้านทิศตะวันตกเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงส่องไปที่ไหน” “ที่แผ่นดิน พระพุทธเจ้าข้า” @เชิงอรรถ : @ เรือนยอด ในที่นี้หมายถึงเรือนที่มีช่อฟ้า ๑ ตัว (สํ.นิ.อ. ๒/๖๔/๑๓๐) @ ศาลาเรือนยอด ในที่นี้หมายถึงศาลาที่มีช่อฟ้า ๒ ตัว (สํ.นิ.อ. ๒/๖๔/๑๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๒๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [๑. นิทานสังยุต]

                                                                 ๗. มหาวรรค ๕. นครสูตร

“ถ้าไม่มีแผ่นดินเล่า แสงสว่างนั้นจะพึงส่องไปที่ไหน” “ที่น้ำ พระพุทธเจ้าข้า” “ถ้าไม่มีน้ำเล่า แสงสว่างจะพึงส่องไปที่ไหน” “ไม่มีที่ส่อง พระพุทธเจ้าข้า” “ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีใน กวฬิงการาหาร ฯลฯ ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในผัสสาหาร ... ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในมโนสัญเจตนาหาร ... ถ้าราคะ นันทิ ตัณหา ไม่มีในวิญญาณาหาร วิญญาณจะไม่ตั้งอยู่งอกงามใน วิญญาณาหารนั้น ที่ใดวิญญาณไม่ตั้งอยู่งอกงาม ที่นั้นย่อมไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่ใด ไม่มีนามรูปหยั่งลง ที่นั้นย่อมไม่มีความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่ใดไม่มีความ เจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ที่นั้นย่อมไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป ที่ใดไม่มีการเกิดใน ภพใหม่ต่อไป ที่นั้นย่อมไม่มีชาติ ชราและมรณะต่อไป ที่ใดไม่มีชาติ ชราและมรณะ ต่อไป เรากล่าวว่าที่นั้นไม่มีความโศก ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีความ คับแค้น”
อัตถิราคสูตรที่ ๔ จบ
๕. นครสูตร
ว่าด้วยนคร
[๖๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ... “ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ได้มีความ คิดคำนึงอย่างนี้ว่า ‘โลกนี้ถึงความคับแค้น จึงเกิด แก่ ตาย จุติและอุบัติ ก็บุคคล ไม่รู้อุบายสลัดออกจากทุกข์คือชราและมรณะนี้ เมื่อไรจึงจะพ้นจากทุกข์คือชราและ มรณะนี้ได้’ เราได้ดำริว่า ‘เมื่ออะไรมี ชราและมรณะจึงมี เพราะอะไรเป็นปัจจัย ชรา และมรณะจึงมี’ เพราะมนสิการโดยแยบคาย เราจึงได้รู้แจ้งด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อชาติมี ชราและมรณะจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมี’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๖ หน้า : ๑๒๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๑๒๓-๑๒๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=16&page=123&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=16&A=3405 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=16&A=3405#p123 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 16 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_16 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu16 https://84000.org/tipitaka/english/?index_16



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๒๓-๑๒๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]