ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๓๕-๓๖.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

                                                                 ๔. สตุลลปกายิกวรรค ๑. สัพภิสูตร

๔. สตุลลปกายิกวรรค
หมวดว่าด้วยพวกเทวดาสตุลลปกายิกา
๑. สัพภิสูตร
ว่าด้วยสัตบุรุษ
[๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- บิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้นเมื่อราตรีผ่านไป พวกเทวดาสตุลลปกายิกา๑- จำนวนมากมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร เทวดาองค์หนึ่งยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มี พระภาคว่า บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลรู้แจ้งสัทธรรม๒- ของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมเป็นผู้ประเสริฐ ไม่เป็นผู้ตกต่ำ ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้วย่อมได้ปัญญา หาได้ปัญญาจากคนอันธพาลอื่นไม่ @เชิงอรรถ : @ สตุลลปกายิกา หมายถึงผู้เทิดทูนธรรมของสัตบุรุษ (สํ.ส.อ. ๑/๓๑/๕๔) @ สัทธรรม หมายถึงธรรมของสัตบุรุษ ได้แก่ ศีล ๕, ศีล ๑๐, สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น ในที่นี้หมายถึง @ศีล ๕ (สํ.ส.อ. ๑/๓๑/๕๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๑. เทวดาสังยุต]

                                                                 ๔. สตุลลปกายิกวรรค ๑. สัพภิสูตร

ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกในท่ามกลางคนผู้เศร้าโศก ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมรุ่งเรืองในท่ามกลางแห่งญาติ ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไปสู่สุคติ ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ สัตว์ทั้งหลายรู้แจ้งสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมดำรงอยู่ได้ตลอดไป ลำดับนั้น เทวดาอีกองค์หนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระ- ผู้มีพระภาค คำของใครหนอเป็นสุภาษิต” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำของพวกท่านทั้งหมดเป็นสุภาษิตโดยอ้อม แต่ขอ พวกท่านจงฟังคำของเราบ้าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๓๖}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๓๕-๓๖. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=15&page=35&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=867 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=867#p35 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15



จบการแสดงผล หน้าที่ ๓๕-๓๖.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]