ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๑๒๐-๑๒๑.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]

                                                                 ๓. นานติตถิยวรรค ๘. นันทิวิสาลสูตร

๗. นันทสูตร
ว่าด้วยนันทเทพบุตร
[๑๐๘] นันทเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของ พระผู้มีพระภาคว่า กาลล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป ช่วงแห่งวัยละไปตามลำดับ บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ ควรทำบุญที่นำความสุขมาให้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป ช่วงแห่งวัยละไปตามลำดับ บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ ควรละโลกามิส มุ่งสู่สันติเถิด๑-
นันทสูตรที่ ๗ จบ
๘. นันทิวิสาลสูตร
ว่าด้วยนันทิวิสาลเทพบุตร
[๑๐๙] นันทิวิสาลเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคด้วยคาถาว่า ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า สรีรยนต์ ๔ ล้อ๒- มีประตู ๙ ประตู เต็มไปด้วยของไม่สะอาด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคาถาข้อ ๔ หน้า ๕ ในเล่มนี้ @ ดูเชิงอรรถข้อ ๒๙ หน้า ๓๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๒๐}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]

                                                                 ๓. นานติตถิยวรรค ๙. สุสิมสูตร

ถูกโลภะประกอบไว้ เป็นเหมือนเปือกตม สรีรยนต์นั้นจักแล่นไปได้อย่างไร๑- พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะตัดชะเนาะ เชือกหนัง ตัดความปรารถนาและความโลภอันเลวทราม และเพราะถอนตัณหาพร้อมทั้งรากได้ สรีรยนต์นั้นจักแล่นไปได้อย่างนี้๒-
นันทิวิสาลสูตรที่ ๘ จบ
๙. สุสิมสูตร
ว่าด้วยสุสิมเทพบุตร
[๑๑๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท แล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์ เธอชอบสารีบุตรหรือไม่” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร เป็นบัณฑิต มีปัญญามาก มีปัญญา หนาแน่น มีปัญญาร่าเริง มีปัญญาแล่นไป มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรก กิเลส มักน้อย สันโดษ เป็นผู้สงัด ไม่คลุกคลี ปรารภความเพียร เข้าใจพูด อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้ทักท้วง ตำหนิคนทำชั่ว ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คน มุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร” @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคาถาข้อ ๒๙ หน้า ๓๒ ในเล่มนี้ @ ดูเทียบคาถาข้อ ๒๙ หน้า ๓๓ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๒๑}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๒๐-๑๒๑. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=15&page=120&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=3176 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=3176#p120 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๒๐-๑๒๑.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]