ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

หน้าที่ ๑๐๑-๑๐๒.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]

                                                                 ๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๔. นันทนสูตร

ถ้าภิกษุหวังการบรรลุธรรมที่เป็นหัวใจ มีธรรมที่เป็นหัวใจเป็นอานิสงส์ เธอพึงเป็นผู้มีฌาน มีจิตหลุดพ้น รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งโลก มีใจดี ไม่มีตัณหาและทิฏฐิอาศัย๑-
ทีฆลัฏฐิสูตรที่ ๓ จบ
๔. นันทนสูตร
ว่าด้วยนันทนเทพบุตร
[๙๕] นันทนเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ถึงญาณทัสสนะ๒- อันไม่มีสิ่งใดขวางกั้นของพระผู้มีพระภาค บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคล ประเภทใดว่าเป็นผู้มีศีล ประเภทใดว่าเป็นผู้มีปัญญา บุคคลประเภทใดล่วงทุกข์ได้ เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลประเภทใด @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบคาถาข้อ ๘๓ หน้า ๘๘ ในเล่มนี้ @ ญาณทัสสนะ หมายถึงปัจจเวกขณญาณ ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณา ทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผล @กิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน(เว้นพระอรหันต์ ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) @(องฺ.ติก.อ. ๒/๑๐๔/๒๕๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๐๑}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๒. เทวปุตตสังยุต]

                                                                 ๒. อนาถปิณฑิกวรรค ๕. จันทนสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลใดมีศีล มีปัญญา อบรมตนดีแล้ว มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน มีสติ ละความเศร้าโศกได้หมดสิ้น สิ้นอาสวะแล้ว เหลือไว้แต่ร่างกายในชาติสุดท้าย บัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลประเภทนั้นว่า เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีปัญญา บุคคลประเภทนั้นล่วงทุกข์ได้แล้ว เทวดาทั้งหลายบูชาบุคคลประเภทนั้น
นันทนสูตรที่ ๔ จบ
๕. จันทนสูตร
ว่าด้วยจันทนเทพบุตร
[๙๖] จันทนเทพบุตรยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ด้วยคาถาว่า บุคคลผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืน จะข้ามโอฆะได้อย่างไร ใครไม่จมในห้วงน้ำลึกซึ่งไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีปัญญา มีจิตตั้งมั่นดี ปรารภความเพียร อุทิศกายและใจตลอดกาลทุกเมื่อ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๕ หน้า : ๑๐๒}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๐๑-๑๐๒. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=15&page=101&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=15&A=2653 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=15&A=2653#p101 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 15 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_15 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu15 https://84000.org/tipitaka/english/?index_15



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๐๑-๑๐๒.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]