ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๔๐๕-๔๐๘.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

                                                                 ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม ๔ ประการ’ นั่น เพราะ อาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
ธาตุ ๖ ประการ
[๓๔๘] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาแต่ทางสงบเท่านั้น’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าว ไว้เช่นนั้น บุรุษไม่พึงประมาทปัญญา เป็นอย่างไร คือ ธาตุ ๖ ประการนี้ ได้แก่ ๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ ๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ ๕. อากาสธาตุ ๖. วิญญาณธาตุ [๓๔๙] ปฐวีธาตุ เป็นอย่างไร คือ ปฐวีธาตุภายในก็มี ปฐวีธาตุภายนอกก็มี ปฐวีธาตุภายใน เป็นอย่างไร คือ อุปาทินนกรูป๑- ภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็น ของหยาบ ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ อุปาทินนกรูปภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของหยาบ นี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน @เชิงอรรถ : @ อุปาทินนกรูป หมายถึงรูปมีกรรมเป็นสมุฏฐาน คำนี้เป็นชื่อของรูปที่ดำรงอยู่ภายในสรีระ ที่ยึดถือ จับต้อง @ลูบคลำได้ เช่น ผม ขน ฯลฯ อาหารใหม่ อาหารเก่า คำนี้กำหนดจำแนกหมายเอาปฐวีธาตุภายใน @แต่สำหรับอาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน พึงทราบความพิสดารในคัมภีร์วิสุทธิ @มรรค (ม.มู.อ. ๒/๓๐๒/๑๓๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๐๕}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

                                                                 ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ปฐวีธาตุภายใน และปฐวีธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นปฐวีธาตุนั่นเอง บัณฑิตควร เห็นปฐวีธาตุนั้น ตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นปฐวีธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วย ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด จากปฐวีธาตุ [๓๕๐] อาโปธาตุ เป็นอย่างไร คือ อาโปธาตุภายในก็มี อาโปธาตุภายนอกก็มี อาโปธาตุภายใน เป็นอย่างไร คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ มีความ เอิบอาบ ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ น้ำตา มันข้น เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็น ของเอิบอาบ มีความเอิบอาบ นี้เรียกว่าอาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายในและอาโปธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอาโปธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง เห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอาโปธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ และทำจิตให้คลาย กำหนัดจากอาโปธาตุ [๓๕๑] เตโชธาตุ เป็นอย่างไร คือ เตโชธาตุภายในก็มี เตโชธาตุภายนอกก็มี เตโชธาตุภายใน เป็นอย่างไร คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้อบอุ่น ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๐๖}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

                                                                 ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

ให้ทรุดโทรม ธรรมชาติที่เป็นเครื่องทำร่างกายให้เร่าร้อน ธรรมชาติที่เป็นเครื่อง ย่อยสิ่งที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และลิ้มรสแล้ว หรืออุปาทินนกรูปภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน มีความเร่าร้อน นี้เรียกว่าเตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายในและเตโชธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นเตโชธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง เห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นเตโชธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วย ปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ และทำจิตให้คลายกำหนัด จากเตโชธาตุ [๓๕๒] วาโยธาตุ เป็นอย่างไร คือ วาโยธาตุภายในก็มี วาโยธาตุภายนอกก็มี วาโยธาตุภายใน เป็นอย่างไร คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความ พัดไปมา ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมที่แล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรืออุปาทินนกรูป ภายในอื่นใด ที่เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา มีความพัดไปมา นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายในและวาโยธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นวาโยธาตุนั่นเอง บัณฑิตพึง เห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นวาโยธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ และทำจิตให้คลาย กำหนัดจากวาโยธาตุ๑- @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ ม.มู. (แปล) ๑๒/๓๐๒-๓๐๕/๓๓๐-๓๓๖ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๐๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๔. วิภังควรรค]

                                                                 ๑๐. ธาตุวิภังคสูตร

[๓๕๓] อากาสธาตุ เป็นอย่างไร คือ อากาสธาตุภายในก็มี อากาสธาตุภายนอกก็มี อากาสธาตุภายใน เป็นอย่างไร คือ อุปาทินนกรูปภายในที่เป็นของเฉพาะตน เป็นสภาวะว่างเปล่า มีความ ว่างเปล่า ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องสำหรับกลืนของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้มรส ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม และ ช่องสำหรับของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม ไหลลงเบื้องต่ำ หรืออุปาทินนกรูป ภายในอื่นใดที่เป็นของเฉพาะตน เป็นสภาวะว่างเปล่า มีความว่างเปล่า นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน๑- อากาสธาตุภายในและอากาสธาตุภายนอกนี้ ก็เป็นอากาสธาตุนั่นเอง บัณฑิต พึงเห็นอากาสธาตุนั้นตามความเป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘นั่นไม่ใช่ ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’ ครั้นเห็นอากาสธาตุนั้นตามความ เป็นจริง ด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอากาสธาตุ และทำจิต ให้คลายความกำหนัดจากอากาสธาตุ [๓๕๔] ทีนั้น วิญญาณอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เหลืออยู่ บุคคลย่อมรู้เรื่องอะไรๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือรู้ว่า ‘สุข’ บ้าง รู้ว่า ‘ทุกข์’ บ้าง รู้ว่า ‘อทุกขมสุข’ บ้าง เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา สุขเวทนาจึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวย สุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยสุขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนานั้นนั่นแลดับ สุขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง สุขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’ [๓๕๕] เพราะอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ทุกขเวทนาจึงเกิด บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า ‘เราเสวยทุกขเวทนาอยู่’ รู้ชัดว่า ‘เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นนั่นแลดับ ทุกขเวทนาที่เกิดเพราะอาศัย ผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ที่เสวยอยู่อันเกิดจากผัสสะนั้นก็ดับคือสงบไป’ @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) ๓๕/๑๗๒-๑๗๗/๑๓๔-๑๓๘ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๔๐๘}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๔๐๕-๔๐๘. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=405&pages=4&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=11885 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=11885#p405 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๔๐๕-๔๐๘.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]