ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๐.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๙. พาลปัณฑิตสูตร

สูญเสียอย่างยิ่ง ความพ่ายแพ้ ของนักเลงการพนันผู้เสียลูก เสียเมีย เสียทรัพย์ สมบัติทุกอย่าง และถึงการจองจำเพราะความพ่ายแพ้ครั้งแรกนั้น เป็นเพียงเล็กน้อย แม้ฉันใด ความพ่ายแพ้ของคนพาลผู้ประพฤติกายทุจริต ประพฤติวจีทุจริต ประพฤติ มโนทุจริต หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฉันนั้น เหมือนกัน นี้เป็นภูมิของคนพาลที่คนพาลบำเพ็ญไว้ทั้งสิ้น [๒๕๓] ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะของบัณฑิต เครื่องหมายของบัณฑิต ความ ประพฤติไม่ขาดสายของบัณฑิต ๓ ประการนี้ ลักษณะของบัณฑิต ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ บัณฑิตในโลกนี้ ๑. ชอบคิดแต่เรื่องดี ๒. ชอบพูดแต่เรื่องดี ๓. ชอบทำแต่กรรมดี ถ้าบัณฑิตไม่ชอบคิดเรื่องดี ไม่ชอบพูดเรื่องดี และไม่ชอบทำกรรมดีเช่นนั้น บัณฑิตทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาด้วยเหตุไรว่า ‘ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี’ แต่เพราะ บัณฑิตชอบคิดแต่เรื่องดี ชอบพูดแต่เรื่องดี และชอบทำแต่กรรมดี ฉะนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงรู้จักเขาว่า ‘ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี’๑- บัณฑิตนั้นย่อมเสวยสุขโสมนัส ๓ ประการในปัจจุบัน ภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตนั่งในสภาก็ดี ในตรอกก็ดี ริมทางสามแพร่งก็ดี ถ้าชนในที่นั้นพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้นแก่เขา ถ้าบัณฑิตเป็นผู้เว้นขาดจาก การฆ่าสัตว์ เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดใน กาม เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ เป็นผู้เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุรา @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๓/๑๔๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๙๙}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๙. พาลปัณฑิตสูตร

และเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท ในเรื่องนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ‘ข้อที่ชนพูดถ้อยคำที่สมควรแก่ธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในเรา และเรา ก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น’ ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตย่อมเสวยสุขโสมนัสประการที่ ๑ นี้ในปัจจุบัน [๒๕๔] อีกประการหนึ่ง บัณฑิตเห็นพระราชาทั้งหลายรับสั่งให้จับโจรผู้ ประพฤติผิดมาลงอาญาด้วยประการต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยน ด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือน ปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราดน้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้าให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึง บั้นเอว ทำให้มองดูเหมือนนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวมปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่า แล้วเสียบหลาวทั้ง ๕ ทิศเอาไฟเผาบ้าง ใช้เบ็ดเกี่ยวหนัง เนื้อ เอ็นออกมาบ้าง เฉือนเนื้อออกเป็นแว่นๆ เหมือนเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนัง เนื้อ เอ็นออก เหลือไว้แต่กระดูกบ้าง ใช้หลาวแทงช่องหูให้ทะลุถึงกันบ้าง เสียบให้ติดดินแล้ว จับเขาหมุนได้รอบบ้าง ทุบกระดูกให้แหลกแล้วถลกหนังออกเหลือไว้แต่กองเนื้อเหมือน ตั่งใบไม้บ้าง รดตัวด้วยน้ำมันที่กำลังเดือดพล่านบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่ กระดูกบ้าง ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะออกด้วยดาบบ้าง ในขณะที่เห็นนั้น บัณฑิตจะมีความรู้สึกอย่างนี้ว่า ‘เพราะเหตุแห่งบาปกรรม เช่นไร พระราชาทั้งหลายจึงรับสั่งให้จับโจรผู้ประพฤติผิดมาแล้วลงอาญาด้วยประการ ต่างๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วยไม้พลองบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือและเท้าบ้าง ตัดใบหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งใบ หูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบนศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะแล้วขัดให้ขาว เหมือนสังข์บ้าง เอาไฟยัดปากจนเลือดไหลเหมือนปากราหูบ้าง เอาผ้าพันตัวราด น้ำมันแล้วจุดไฟเผาบ้าง พันมือแล้วจุดไฟต่างคบบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงข้อเท้า ให้ลุกเดินเหยียบหนังจนล้มลงบ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอถึงบั้นเอว ทำให้มองดู {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๓๐๐}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๐. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=299&pages=2&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=8784 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=8784#p299 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๐.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]