ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๒๒๒-๒๒๔.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๒. มหาสุญญตสูตร

๒. มหาสุญญตสูตร
ว่าด้วยสุญญตา สูตรใหญ่
[๑๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว จึงเสด็จเข้าไปยัง วิหารของเจ้ากาฬเขมกศากยะ เพื่อทรงพักผ่อนในเวลากลางวัน สมัยนั้น ในวิหาร ของเจ้ากาฬเขมกศากยะ มีเสนาสนะที่เขาจัดไว้เป็นอันมาก พระผู้มีพระภาคทอด พระเนตรเห็นเสนาสนะที่เขาจัดไว้เป็นอันมากแล้ว มีพระดำริอย่างนี้ว่า “ในวิหาร ของเจ้ากาฬเขมกศากยะ เขาจัดเสนาสนะไว้เป็นอันมาก ในที่นี้มีภิกษุอยู่จำนวน มากหรือหนอ” [๑๘๖] สมัยนั้น ท่านพระอานนท์กับภิกษุจำนวนมากกำลังตัดเย็บจีวรอยู่ใน วิหารของเจ้าฆฏายศากยะ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น แล้วเสด็จเข้าไปยังวิหารของเจ้าฆฏายศากยะ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ แล้วได้รับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า “อานนท์ ในวิหารของเจ้ากาฬเขมก ศากยะ เขาจัดเสนาสนะไว้เป็นอันมาก ที่นั่นมีภิกษุอยู่จำนวนมากหรือ” ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารของเจ้ากาฬ เขมกศากยะนั่น มีภิกษุอยู่จำนวนมาก สมัยที่เป็นจีวรกาลของข้าพระองค์ทั้งหลาย ก็กำลังดำเนินไปอยู่ พระพุทธเจ้าข้า” “อานนท์ ภิกษุผู้พอใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่ ในคณะ ไม่งามเลย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๒๒}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๒. มหาสุญญตสูตร

เป็นไปไม่ได้๑- ที่ภิกษุผู้พอใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ คณะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่ในคณะ จักเป็นผู้ได้เนกขัมมสุข๒- ปวิเวกสุข๓- อุปสมสุข๔- สัมโพธิสุข๕- ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก เป็นไปได้๖- ที่ภิกษุผู้หลีกออกจากคณะ อยู่ตามลำพังผู้เดียว พึงหวังเนกขัมมสุข ปวิเวกสุข อุปสมสุข สัมโพธิสุข จักเป็นผู้ได้สุขนั้น ตามปรารถนาได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบาก เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุผู้พอใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบคณะ ยินดีคณะ บันเทิงอยู่ ในคณะ จักบรรลุเจโตวิมุตติ๗- ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย๘- อันน่ายินดี หรือโลกุตตรมรรค ซึ่งมิได้เกิดขึ้นตามสมัย๙- อันไม่กำเริบได้ เป็นไปได้ที่ภิกษุผู้หลีกออกจากคณะ อยู่ตามลำพังผู้เดียว พึงหวังบรรลุ เจโตวิมุตติ ซึ่งเกิดขึ้นตามสมัย อันน่ายินดี หรือโลกุตตรมรรค ซึ่งมิได้เกิดขึ้น ตามสมัย อันไม่กำเริบ๑๐- @เชิงอรรถ : @ ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๒๓ (ปัญจัตตยสูตร) หน้า ๓๒ ในเล่มนี้ @ เนกขัมมสุข หมายถึงความสุขของผู้ออกจากกามได้แล้ว (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๖/๑๑๔) @ ปวิเวกสุข หมายถึงความสุขที่สงัดจากกาม (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๖/๑๑๔) @ อุปสมสุข หมายถึงความสุขอันสงบเพราะเป็นไปเพื่อการเข้าไปสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๖/๑๑๔) @ สัมโพธิสุข หมายถึงความสุขจากการตรัสรู้ เพราะเป็นไปเพื่อตรัสรู้มรรค (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๖/๑๑๔) @ ดูเชิงอรรถที่ ๒ ข้อ ๕๘ (สุนักขัตตสูตร) หน้า ๖๓ ในเล่มนี้ @ เจโตวิมุตติ ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นแห่งจิตฝ่ายรูปาวจรและฝ่ายอรูปาวจร (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๖/๑๑๔) @ เกิดขึ้นตามสมัย ในที่นี้หมายถึงรูปฌานสมาบัติ ๔ และอรูปฌานสมาบัติ ๔ นี้ เป็นความหลุดพ้นจาก @กิเลสที่เกิดขึ้นตามสมัย (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๖/๑๑๔) @ มิได้เกิดขึ้นตามสมัย ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค ๔ และสามัญญผล ๔ นี้เป็นความหลุดพ้นจากกิเลสที่ @มิได้เกิดขึ้นตามสมัย(ม.อุ.อ. ๓/๑๘๖/๑๑๔) @๑๐ ดูเทียบ ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๑๔๐/๔๕๑-๔๕๒ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๒๓}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๓. สุญญตวรรค]

                                                                 ๒. มหาสุญญตสูตร

อานนท์ เราไม่พิจารณาเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ไม่เกิดโสกะ (ความเศร้าโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความไม่สบายกาย) โทมนัส (ความไม่สบายใจ) และอุปายาส (ความคับแค้นใจ) เพราะรูปตามที่บุคคลกำหนัด ยินดีกันแล้วแปรผันและเป็นอย่างอื่นเลย [๑๘๗] อานนท์ ก็วิหารธรรมนี้แลที่ตถาคตตรัสรู้แล้วในที่นั้นคือ ตถาคต เข้าสุญญตา๑- ในภายใน เพราะไม่ใส่ใจนิมิตทั้งปวงอยู่ ถ้าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกเดียรถีย์ เข้ามา หาตถาคตผู้มีโชค อยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ในที่นั้น ตถาคตย่อมมีจิตน้อมไปในวิเวก๒- โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก หลีกออกแล้ว ยินดียิ่งแล้วในเนกขัมมะ เป็นผู้สิ้นสุด จากธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวง เป็นผู้ทำการเจรจาที่เกี่ยวเนื่อง ด้วยการชักชวนเท่านั้น ในบริษัทนั้นโดยแท้ อานนท์ เพราะเหตุนั้น ถ้าภิกษุ แม้หวังว่า ‘เราพึงเข้าสุญญตาใน ภายในอยู่’ ภิกษุนั้นพึงตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตให้มั่น [๑๘๘] ภิกษุตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตให้มั่น เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ... บรรลุทุติยฌาน ... บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... ภิกษุตั้งจิตไว้ในภายใน ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้มีธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งจิตให้มั่น เป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นใส่ใจสุญญตาในภายใน เมื่อเธอใส่ใจสุญญตาในภายใน จิตจึงไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในสุญญตาในภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุ ย่อมรู้ชัดสุญญตานั้นที่มีอยู่อย่างนี้ว่า ‘เมื่อเราใส่ใจสุญญตาในภายใน จิตจึง ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งมั่น และไม่น้อมไปในสุญญตาในภายใน’ @เชิงอรรถ : @ สุญญตา ในที่นี้หมายถึงผลสมาบัติ (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๗/๑๑๕) @ น้อมไปในวิเวก ในที่นี้หมายถึงน้อมไปในนิพพาน (ม.อุ.อ. ๓/๑๘๗/๑๑๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๒๒๔}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๒๒๒-๒๒๔. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=222&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=6487 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=6487#p222 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๒๒๒-๒๒๔.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]