ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๕๗-๑๕๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นิคมเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... นครเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นครเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ ๑. บุคคลที่ควรเสพ ๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรม เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น บุคคลเช่นนี้ควรเสพ พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ ๑. บุคคลที่ควรเสพ ๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร โดยพิสดารอย่างนี้ [๑๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอทราบเนื้อความ แห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อ ไม่ชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดาร อย่างนี้ ถูกต้องแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. จีวรที่ควรเสพ ๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น สารีบุตร เมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง จีวรเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อภิกษุเสพจีวรเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรม เจริญขึ้น จีวรเช่นนี้ควรเสพ เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวจีวรไว้ ๒ ชนิด คือ ๑. จีวรที่ควรเสพ ๒. จีวรที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ ... บิณฑบาตเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ บิณฑบาตเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... เสนาสนะเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ เสนาสนะเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... หมู่บ้านเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ หมู่บ้านเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... นิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ นิคมเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ ... ชนบทเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯลฯ ชนบทเช่นนี้ควรเสพ ฯลฯ เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ ๑. บุคคลที่ควรเสพ ๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น สารีบุตร เมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง บุคคลเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพบุคคลเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศล ธรรมเจริญขึ้น บุคคลเช่นนี้ควรเสพ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า ‘สารีบุตร เรากล่าวบุคคลไว้ ๒ จำพวก คือ ๑. บุคคลที่ควรเสพ ๒. บุคคลที่ไม่ควรเสพ’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้ สารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ [๑๒๓] สารีบุตร แม้ถ้ากษัตริย์ทั้งปวงพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยาย ที่ เรากล่าวโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่กษัตริย์แม้ทั้งปวงตลอดกาลนาน แม้ถ้าพราหมณ์ทั้งปวง ... แม้ถ้าแพศย์ทั้งปวง ... แม้ถ้าศูทรทั้งปวงพึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายที่เรากล่าวโดยย่อนี้ได้โดย พิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ศูทร ทั้งปวงตลอดกาลนาน สารีบุตร แม้ถ้าโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ตลอดทั้งเทวดาและมนุษย์ พึงรู้ทั่วถึงอรรถแห่งธรรมบรรยายที่เรา กล่าวโดยย่อนี้ ได้โดยพิสดารอย่างนี้ ความรู้นั่นพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง สมณพราหมณ์ตลอดทั้งเทวดาและมนุษย์ตลอดกาลนาน” พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรมีใจยินดีชื่นชมพระ ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล
เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตรที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๕๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๕๗-๑๕๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=157&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=4585 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=4585#p157 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๕๗-๑๕๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]