ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ  พระวินัยปิฎก  พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก  ค้นพระไตรปิฎก  ชาดก  หนังสือธรรมะ 
พระไตรปิฎก
 หน้า
 แสดง
หน้า
พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๙.


                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เรากล่าวการได้อัตภาพไว้ ๒ ประการ คือ ๑. การได้อัตภาพที่ควรเสพ ๒. การได้อัตภาพที่ไม่ควรเสพ การได้อัตภาพทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นการได้อัตภาพที่ตรงข้ามกันและกัน” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบเนื้อความแห่งธรรมบรรยายที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ คือ [๑๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกาย สมาจารไว้ ๒ ประการ คือ ๑. กายสมาจารที่ควรเสพ ๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง กายสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรม เสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น กายสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
กายสมาจาร ๒ ประการ
[๑๑๑] เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม เสื่อมลง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ คือ เป็นคนหยาบช้า มีฝ่ามือ เปื้อนเลือด ชอบฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๗}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

เจ้าของไม่ได้ให้ คือถือเอาทรัพย์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความเป็นขโมย และเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ ละเมิดจารีตในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่ ในปกครองของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติด ตัวอยู่ โดยที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง พระพุทธเจ้าข้า เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑาวุธ และศัสตราวุธ มีความละอาย มีความเอ็นดู มุ่งหวังประโยชน์เกื้อกูลต่อสรรพสัตว์อยู่ เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ คือไม่ถือเอาทรัพย์ เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้านหรือในป่า ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยความ เป็นขโมย เป็นผู้ละ เว้นขาดจากการประพฤิตผิดในกาม คือเป็นผู้ไม่ละเมิดจารีต ในหญิงที่อยู่ในปกครองของมารดา หญิงที่อยู่ในปกครองของบิดา หญิงที่อยู่ใน ปกครองของมารดาและบิดา หญิงที่อยู่ในปกครองของพี่ชายน้องชาย หญิงที่อยู่ใน ปกครองของพี่สาวน้องสาว หญิงที่อยู่ในปกครองของญาติ หญิงที่อยู่ในปกครอง ของตระกูล หญิงที่มีธรรมคุ้มครอง หญิงที่มีสามี หญิงที่มีสินไหมติดตัวอยู่ โดย ที่สุดแม้หญิงที่ชายคล้องพวงดอกไม้หมั้นไว้ เมื่อบุคคลเสพกายสมาจารเช่นนี้ อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น พระพุทธเจ้าข้า พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวกายสมาจาร ไว้ ๒ ประการ คือ ๑. กายสมาจารที่ควรเสพ ๒. กายสมาจารที่ไม่ควรเสพ กายสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นกายสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ นั่น เพระอาศัยเหตุนี้ พระองค์จึงตรัสไว้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๘}

                                                                 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [๒. อนุปทวรรค]

                                                                 ๔. เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววจีสมาจารไว้ ๒ ประการ คือ ๑. วจีสมาจารที่ควรเสพ ๒. วจีสมาจารที่ไม่ควรเสพ วจีสมาจารทั้ง ๒ ประการนั้นเป็นวจีสมาจารที่ตรงข้ามกันและกัน’ เพราะ ทรงอาศัยเหตุอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้เช่นนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมลง วจีสมาจารเช่นนี้ไม่ควรเสพ และเมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเสื่อมลง กุศลธรรมเจริญขึ้น วจีสมาจารเช่นนี้ควรเสพ พระพุทธเจ้าข้า
วจีสมาจาร ๒ ประการ
[๑๑๒] เมื่อบุคคลเสพวจีสมาจารเช่นใด อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม เสื่อมลง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้พูดเท็จ คือ อยู่ในสภา อยู่ในบริษัท อยู่ ท่ามกลางหมู่ญาติ อยู่ท่ามกลางหมู่ทหาร หรืออยู่ท่ามกลางราชสำนัก ถูกเขา อ้างเป็นพยาน ซักถามว่า ‘พ่อคุณ เชิญเถิด ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่งนั้น’ บุคคล นั้นไม่รู้ ก็พูดว่า ‘รู้’ หรือรู้ก็พูดว่า ‘ไม่รู้’ ไม่เห็นก็พูดว่า ‘เห็น’ หรือเห็นก็พูดว่า ‘ไม่เห็น’ เขาพูดเท็จทั้งที่รู้ เพราะตนเป็นเหตุบ้าง เพราะบุคคลอื่นเป็นเหตุบ้าง เพราะเหตุคือเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง๑- เป็นผู้พูดส่อเสียด คือฟังจากข้างนี้แล้ว ไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว มาบอกข้างนี้ เพื่อ ทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนที่สามัคคีกัน ส่งเสริมคนที่แตกแยกกัน ชื่นชมยินดี เพลิดเพลินต่อผู้ที่แตกแยกกัน พูดแต่ถ้อยคำที่ก่อความแตกแยกกัน เป็นผู้พูด คำหยาบ คือกล่าวแต่คำที่หยาบคาย เผ็ดร้อน หยาบคายร้ายกาจแก่ผู้อื่น @เชิงอรรถ : @ ดูเทียบ องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๒๑๑/๓๔๖-๓๔๗, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๕๔/๑๘๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๔ หน้า : ๑๓๙}

เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับ มจร. เล่มที่ ๑๔ หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๙. https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=14&page=137&pages=3&edition=mcu ศึกษาพระสูตร (เนื้อความ) นี้แยกตามสารบัญ :- https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=14&A=4036 https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=14&A=4036#p137 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 :- https://84000.org/tipitaka/read/?index_14 https://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu14 https://84000.org/tipitaka/english/?index_14



จบการแสดงผล หน้าที่ ๑๓๗-๑๓๙.

บันทึก ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]